ผู้จัดการรายวัน/ศูนย์ข่าวขอนแก่น – นักวิชาการด้านไบโอเทคกว้านพืชผัก ผลไม้สายพันธุ์ไทย เข้าแล็ปวิจัยจีเอ็มโอเพียบถึง 13 ชนิด ทั้งข้าวขาวดอกมะลิ พริก มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว แตงกวา สับปะรด ส้ม ทุเรียน เล็งสนใจพืชเศรษฐกิจ อ้อย มันสำปะหลัง มะม่วง องค์กรภาคประชาชนรุกหนักแจ้งความเอาผิด ผอ.สำนักวิจัยพืชสวน ฐานละเมิดพ.ร.บ.กักกันพืชฯ และมติครม. พร้อมยื่นรายชื่อตัวแทนขอเข้าร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง ประธานคณะกก.ความปลอดภัยทางชีวภาพฯ ย้ำวิจัยจีเอ็มโอต้องเปิดให้สาธารณชนมีส่วนร่วม ผอ.ศูนย์ฯกำแพงแสนยันยังไม่ทำลายแปลงทดลอง
รศ.ดร.บรรพต ณ ป้อมเพชร ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ กล่าวในงานสัมมนา “รู้เท่าทัน GMOs” จัดโดยชมรมผู้สื่อเกษตรฯ ที่ม.เกษตรศาสตร์ วานนี้ (16 ก.ย.) ว่า การพัฒนาเทคโนโลยีจีเอ็มโอมีข้อกังขาว่านักวิชาการก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของผู้บริโภค รวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ ซึ่งในขณะนี้ การดำเนินการบางส่วนก็ต้องยุติลงก่อน เนื่องจากในระดับการค้าระหว่างประเทศจะตั้งข้อกังขาไม่ได้ ต้องมีมาตรฐานรองรับ
“ข้อกังขาหนักที่สุดคือการมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการเข้ามาพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ไม่ใช่เพียงบางคน บางกลุ่ม ต้องมีเกณฑ์กติกาและกรอบให้ยึดถือปฏิบัติในแต่ละฝ่าย หากยังไม่มีก็อย่าเพิ่งมาคุย” รศ.ดร.บรรพต กล่าว
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงษ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ยืนยันว่างานวิจัยด้านจีเอ็มโอจะต้องเดินหน้าต่อไป เพื่อสร้างทางเลือกให้กับสังคม การทำลายมะละกอที่สถานีวิจัยพืชสวนขอนแก่นถือว่าเป็นไปตามกรอบของ พ.ร.บ.กักกันพืช
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ยังเปิดเผยถึงรายชื่อพืชผัก ผลไม้ของไทยที่อยู่ในกระบวนการวิจัยพัฒนาจีเอ็มโอว่ามีจำนวน 13 ชนิด และกรมวิชาการทำอยู่ 9 ชนิด
ด้าน รศ.ดร.สุพัฒน์ อรรถธรรม ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช วิทยาเขตกำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่ประเทศไทยจะไม่ยอมรับเทคโนโลยีจีเอ็มโอ เนื่องจากชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับจีเอ็มโอ เช่น ยา ถั่วเหลือง เป็นต้น
“ การทดลองมะละกอจีเอ็มโอของศูนย์ฯ หากรัฐบาลสั่งมาอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตาม แต่ต้องติงว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลชุดแรกที่เข้าไปแทรกแซงการวิจัยของมหาวิทยาลัย” รศ.ดร.สุพัฒน์ กล่าว
ผอ.หน่วยปฏิบัติการฯ ยังกล่าวว่า แปลงทดลองที่กำแพงแสนยังคงดำเนินการต่อไป และมั่นใจว่าจะไม่ปนเปื้อนเหมือนกรณีสถานีวิจัยพืชสวนขอนแก่น เนื่องจากตำแหน่งของแปลงทดลองอยู่ใจกลางวิทยาเขตและไม่พื้นที่ติดกับแปลงเกษตรอื่นๆ ถึง 500 เมตร จากมาตรฐานสากลที่ระบุ 200 เมตร และมีรั้วรอบขอบชิด
กว้านผัก ผลไม้ไทยเข้าแล็ปจีเอ็มโอ
จากการให้ข้อมูลของนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการ และการตรวจสอบข้อมูลจาก “รายงานพิเศษ เรื่องสถานภาพและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศไทย” จัดทำโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นั้น
ข้อมูลจากรายงานฯ ระบุว่า การวิจัยและพัฒนาพืชจีเอ็มโอในไทยส่วนใหญ่ดำเนินอยู่ที่หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการเครือข่ายของศูนย์ไบโอเทค ในระยะเกือบ 10 ปี ใช้งบราว 60 ล้านบาท จนถึงขณะนี้วิจัยและพัฒนาพืชหลายชนิด เช่น พริก, มะเขือเทศ, มะละกอ เพื่อให้มีความต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส และยังมี ถั่วฝักยาว, ฝ้าย เพื่อให้ต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช, ข้าวขาวดอกมะลิ เพื่อให้ต้านทานโรคจู๋และเพิ่มความทนดินเค็ม
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยพืชจีเอ็มโอที่ดำเนินการสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น มะละกอต้านทานโรคจุดวงแหวนที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดย ม.มหิดล, กล้วยไม้ ที่เปลี่ยนการแสดงออกของสีดอก โดยม.เกษตรศาสตร์, สับปะรดทนทานสารเคมีกำจัดวัชพืช โดยสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล นครศรีธรรมราช และแม่โจ้ เรื่องข้าวโพด
ส่วนกรมวิชาการเกษตร มีงานวิจัยพัฒนา รวม 9 ชนิด (รายละเอียดในตาราง) ซึ่งตามแผนการดำเนินงานต่อไป มีเป้าหมายเพื่อเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ ในส่วนของมะละกอ, สับปะรด, กล้วยไม้ เป็นต้น หลังผ่านการวิจัยพัฒนาครบถ้วนสมบูรณ์
จากการระดมความคิดของนักวิจัยที่บันทึกไว้ในรายงานดังกล่าว พบว่า นักวิจัยมีความสนใจต่อพืชพันธุ์ที่จะนำมาพัฒนาวิจัยใหม่และวิจัยเพิ่มเติมในพืชเดิมที่มีอยู่ เช่น ข้าวขาวดอกมะลิ, มันสำปะหลัง, อ้อย, มะม่วง, มะละกอ, กล้วยไม้, ต้นสัก, ยูคาลิปตัส, พริกขี้หนู, มะเขือเทศ, สับปะรด และพืชที่เป็น edible vaccine เช่น กล้วยที่มีวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบ
ห้างดังไม่เอาจีเอ็มโอ
นายวัลลภ พงศ์ศาพิชญ์ ตัวแทนชมรมผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ กล่าวในเวทีสัมมนาฯ ว่า ผลการวิจัยจาก Pure research Center ระบุว่าผู้บริโภคที่ไม่ยอมรับอาหารที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอมีสูงถึง 55 % ในอเมริกา 63 % ในแคนาดา 81 % ในเยอรมัน และ 89 % ในฝรั่งเศส รวมทั้งผู้หญิงจะมีแนวโน้มที่จะไม่เลือกซื้อสินค้าจีเอ็มโอ ขณะที่เมื่อ มิ.ย. ปีที่แล้ว ทางสมาพันธุ์ผู้ค้าปลีกของประเทศอังกฤษซึ่งมีสมาชิกกว่า 90 % ของผู้ประกอบการได้ส่งสัญญาณต่อรัฐบาลของตัวเองว่าสินค้าจีเอ็มโอไม่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภค ห้างคาร์ฟูของฝรั่งเศส และห้างสรรพสินค้า 3 ห้างใหญ่ในอเมริกา ยืนยันไม่รับสินค้าจีเอ็มโอ
แจ้งความเอาผิดผอ.สำนักวิจัยฯ
ด้านความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐรับผิดชอบต่อการแพร่ระบาดของมะละกอจีเอ็มโอ ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง วันนี้ (17 ก.ย.) ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกฯ, เครือข่ายผู้บริโภคขอนแก่น พร้อมด้วยองค์กรพันธมิตร จะไปรวมตัวกันที่ สภ.อ.เมือง ขอนแก่น เพื่อเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับนางวิไล ประสาทศรี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน ต.ท่าพระในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยมะละกอจีเอ็มโอพร้อมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
การแจ้งความครั้งนี้ อ้างข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท ทำให้มะละกอที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอเล็ดลอดจากแปลงวิจัยสู่พื้นที่เปิด คือไร่นาเกษตรกร มีความผิดตาม พ.ร.บ.กักกันพืช 2507 และละเมิดมติ ครม.วันที่ 4 เม.ย.2544 ทั้งนี้เพราะเกรงว่าจะมีเพียงเจ้าหน้าที่ระดับล่าง เช่น คนดูแลแปลงหรือคนสวนเท่านั้นที่จะเป็นแพะรับบาป
นอกจากนั้น กลุ่มเครือข่ายฯ ยังเรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตรกำหนดค่าความเสียหายจากการทำลายแปลงมะละกอให้ชัดเจน
ส่วนความเคลื่อนไหวที่อุบลฯ พื้นที่เป้าหมายกลุ่มแรกที่กลุ่มเครือข่ายฯ สุ่มเก็บตัวอย่างเข้ามาตรวจพิสูจน์จะทราบผลพร้อมกับพื้นที่อื่นๆ อีก 6 จังหวัดไม่เกินวันที่ 10 ต.ค. โดยตัวอย่างที่สุ่มเก็บจากจ.อุบลฯ นอกจากมะละกอแล้วยังมีข้าวโพดที่ถูกตั้งข้อสงสัยด้วย
นายอนุศักดิ์ คำยา เกษตรจ.อุบลฯ กล่าวว่า มะละกอที่นำไปแจกจ่ายให้ชาวอ.วารินชำราบ จำนวน 2,600 ราย ได้รับเมล็ดพันธุ์และต้นกล้ามาจากศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่จ.บุรีรัมย์
ที่จังหวัดนครสวรรค์ เกษตรจังหวัดตรวจพบมะละกอแขกดำพันธุ์ นายพิเชษฎ์ เกตุเกล้า เกษตรจังหวัด
นำเจ้าหน้าที่เกษตรและเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ออกสุ่มตรวจหามะละกอจีเอ็มโอ โดยได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าที่ ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีการปลูกมะละกอจำนวนมากนับร้อยไร่ไม่ทราบว่าเป็นมะละกอจีเอ็มโอหรือไม่ จึงไปตรวจสอบที่สวนมะละกอของนายอำนวย เส้งตุ๊ก อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 9 หมู่ 5 ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี
จากการสอบถามในเบื้องต้น นายอำนวย บอกว่าซื้อพันธ์มะละกอมาจากบริษัทเพื่อนเกษตรกร จ.เชียงใหม่
ในราคาต้นละ 40 บาท นำมาปลูกในพื้นที่กว่า 100 ไร่ ปลูกมาแล้ว 2-3 ปี เป็นมะละกอพันธ์เรดเลดี้ และส่งผลผลิตออกขายทั่วไปตามตลาด
ส่งตัวแทนเข้าร่วมคณะกก.ตรวจสอบ
วานนี้ (16 ก.ย.) นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการองค์กรความหลายหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย (ไบโอไทย) พร้อมกับตัวแทนสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เข้ายื่นหนังสือต่อ นายสมศักด์ เทพสุทิน รมว.กระทรวงเกษตรฯ เพื่อขอมีส่วนร่วมในคณะกก.ที่รัฐมนตรีจะตั้งขึ้นมาติดตามตรวจสอบปัญหาการแพร่ระบาดมะละกอจีเอ็มโอ
นายวิฑูรย์ กล่าวเห็นด้วยในท่าทีของนายสมศักดิ์ ที่ต้องการให้องค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วมกระบวนการตรวจสอบการแพร่ระบาดของมะละกอจีเอ็มโอ จึงขอให้รัฐมนตรีตั้งตัวแทนจากภาคประชาสังคมและนักวิชาการ เข้าเป็นกรรมการร่วมตรวจสอบ 4 คน คือ นายเดชา ศิริภัทร ตัวแทนจากองค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย, นายอุบล อยู่หว้า ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ,นางรสนา โตสิตระกูล ตัวแทนสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และผศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ อาจารย์ประจำคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์
นายวิฑูรย์ กล่าวต่อว่า ขอให้คณะกก.จะมีหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการและขอบเขตการแพร่กระจาย โดยมีอำนาจเรียกเอกสาร ผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล และส่งตัวอย่างไปตรวจสอบยังห้องปฏิบัติการนอกจากของกรมวิชาการเกษตร ด้วยงบที่เพียงพอสำหรับตรวจสอบ ทั้งยังเปิดโอกาสให้เกษตรและประชาชนสามารถส่งตัวอย่างเข้ามาตรวจสอบได้ โดยรายงานผลเบื้องต้นต่อรัฐมนตรีภายใน 30 วัน
นายวิฑูรย์ ยังกล่าวต่อว่า ได้รับข้อมูลจากแม่ค้าขายส้มตำในตลาดบางบัวทองว่าในเร็วๆนี้มีรถกระบะบรรทุกมะละกอของบริษัทผู้ส่งออกมะละกอของไทย ขนมะละกอที่ถูกตีกลับมาแจกจ่ายให้กับแม่ค้าขายส้มตำในตลาด โดยมีการระบุว่าสาเหตุที่ต้องนำมะละกอมาแจกเพราะมะละกอจำนวนดังกล่าวถูกตีกลับเนื่องจากประเทศผู้นำเข้าไม่ยอมรับสินค้า
ดร.จิรากรณ์ คชเสนี ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้ยื่นจดหมายเรียกร้องให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหามะละกอจีเอ็มโอหลุดรอดสู่ธรรมชาติ รวมทั้งดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ก่อให้เกิดการปนเปื้อน เพราะจะส่งผลให้มะละกอปกติเป็นมะละกอจีเอ็มโอไปหมด เรียกว่ามลพิษทางพันธุกรรม ทำให้ประเทศไทยที่มีฐานทรัพยากรที่หลากหลายติดอันดับโลกของไทยถูกทำลาย หากไม่แก้ปัญหาการปนเปื้อนอย่างเร่งด่วนจะควบคุมไม่ได้ และไม่สามารถเรียกสภาพสิ่งแวดล้อมแบบเดิมกลับคืนมาได้
ดร.จิรากรณ์ กล่าวต่อว่า มะละกอจีเอ็มโอพันธุ์ต้านไวรัสใบด่างวงแหวนเกิดขึ้นโดยการยิงยีนไวรัสเข้าไปในยีนมะละกอ ทำให้ยีนไวรัสทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งไม่มีทางรู้ได้เลยว่าไวรัสชนิดใหม่จะทำปฏิกิริยาใด กับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งมนุษย์ ทำให้คนไทยและสิ่งแวดล้อมไทยตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างไม่เคยมีมาก่อน
------------------------------------------
พืชผัก-ผลไม้ที่อยู่ในการวิจัยพัฒนาจีเอ็มโอ
หน่วยงานจำนวนชนิดพืช
กรมวิชาการเกษตร9ข้าวขาวดอกมะลิ, มะละกอ,ฝ้าย,ทุเรียน,กล้วยไม้, ส้มเขียวหวาน,สับปะรด,แตงกวา,ถั่วเหลือง
ม.เกษตรฯกำแพงแสน7ข้าวขาวดอกมะลิ,พริก,มะเขือเทศ,มะละกอ,ถั่วฝักยาว,ฝ้าย,แตงกวา
ม.มหิดล1มะละกอ
ม.เกษตรฯ1กล้วยไม้
สถาบันเทคโนฯราชมงคล 1สับปะรดพันธุ์ภูเก็ต
นครศรีธรรมราช
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รศ.ดร.บรรพต ณ ป้อมเพชร ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ กล่าวในงานสัมมนา “รู้เท่าทัน GMOs” จัดโดยชมรมผู้สื่อเกษตรฯ ที่ม.เกษตรศาสตร์ วานนี้ (16 ก.ย.) ว่า การพัฒนาเทคโนโลยีจีเอ็มโอมีข้อกังขาว่านักวิชาการก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของผู้บริโภค รวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ ซึ่งในขณะนี้ การดำเนินการบางส่วนก็ต้องยุติลงก่อน เนื่องจากในระดับการค้าระหว่างประเทศจะตั้งข้อกังขาไม่ได้ ต้องมีมาตรฐานรองรับ
“ข้อกังขาหนักที่สุดคือการมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการเข้ามาพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ไม่ใช่เพียงบางคน บางกลุ่ม ต้องมีเกณฑ์กติกาและกรอบให้ยึดถือปฏิบัติในแต่ละฝ่าย หากยังไม่มีก็อย่าเพิ่งมาคุย” รศ.ดร.บรรพต กล่าว
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงษ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ยืนยันว่างานวิจัยด้านจีเอ็มโอจะต้องเดินหน้าต่อไป เพื่อสร้างทางเลือกให้กับสังคม การทำลายมะละกอที่สถานีวิจัยพืชสวนขอนแก่นถือว่าเป็นไปตามกรอบของ พ.ร.บ.กักกันพืช
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ยังเปิดเผยถึงรายชื่อพืชผัก ผลไม้ของไทยที่อยู่ในกระบวนการวิจัยพัฒนาจีเอ็มโอว่ามีจำนวน 13 ชนิด และกรมวิชาการทำอยู่ 9 ชนิด
ด้าน รศ.ดร.สุพัฒน์ อรรถธรรม ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช วิทยาเขตกำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่ประเทศไทยจะไม่ยอมรับเทคโนโลยีจีเอ็มโอ เนื่องจากชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับจีเอ็มโอ เช่น ยา ถั่วเหลือง เป็นต้น
“ การทดลองมะละกอจีเอ็มโอของศูนย์ฯ หากรัฐบาลสั่งมาอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตาม แต่ต้องติงว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลชุดแรกที่เข้าไปแทรกแซงการวิจัยของมหาวิทยาลัย” รศ.ดร.สุพัฒน์ กล่าว
ผอ.หน่วยปฏิบัติการฯ ยังกล่าวว่า แปลงทดลองที่กำแพงแสนยังคงดำเนินการต่อไป และมั่นใจว่าจะไม่ปนเปื้อนเหมือนกรณีสถานีวิจัยพืชสวนขอนแก่น เนื่องจากตำแหน่งของแปลงทดลองอยู่ใจกลางวิทยาเขตและไม่พื้นที่ติดกับแปลงเกษตรอื่นๆ ถึง 500 เมตร จากมาตรฐานสากลที่ระบุ 200 เมตร และมีรั้วรอบขอบชิด
กว้านผัก ผลไม้ไทยเข้าแล็ปจีเอ็มโอ
จากการให้ข้อมูลของนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการ และการตรวจสอบข้อมูลจาก “รายงานพิเศษ เรื่องสถานภาพและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศไทย” จัดทำโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นั้น
ข้อมูลจากรายงานฯ ระบุว่า การวิจัยและพัฒนาพืชจีเอ็มโอในไทยส่วนใหญ่ดำเนินอยู่ที่หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการเครือข่ายของศูนย์ไบโอเทค ในระยะเกือบ 10 ปี ใช้งบราว 60 ล้านบาท จนถึงขณะนี้วิจัยและพัฒนาพืชหลายชนิด เช่น พริก, มะเขือเทศ, มะละกอ เพื่อให้มีความต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส และยังมี ถั่วฝักยาว, ฝ้าย เพื่อให้ต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช, ข้าวขาวดอกมะลิ เพื่อให้ต้านทานโรคจู๋และเพิ่มความทนดินเค็ม
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยพืชจีเอ็มโอที่ดำเนินการสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น มะละกอต้านทานโรคจุดวงแหวนที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดย ม.มหิดล, กล้วยไม้ ที่เปลี่ยนการแสดงออกของสีดอก โดยม.เกษตรศาสตร์, สับปะรดทนทานสารเคมีกำจัดวัชพืช โดยสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล นครศรีธรรมราช และแม่โจ้ เรื่องข้าวโพด
ส่วนกรมวิชาการเกษตร มีงานวิจัยพัฒนา รวม 9 ชนิด (รายละเอียดในตาราง) ซึ่งตามแผนการดำเนินงานต่อไป มีเป้าหมายเพื่อเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ ในส่วนของมะละกอ, สับปะรด, กล้วยไม้ เป็นต้น หลังผ่านการวิจัยพัฒนาครบถ้วนสมบูรณ์
จากการระดมความคิดของนักวิจัยที่บันทึกไว้ในรายงานดังกล่าว พบว่า นักวิจัยมีความสนใจต่อพืชพันธุ์ที่จะนำมาพัฒนาวิจัยใหม่และวิจัยเพิ่มเติมในพืชเดิมที่มีอยู่ เช่น ข้าวขาวดอกมะลิ, มันสำปะหลัง, อ้อย, มะม่วง, มะละกอ, กล้วยไม้, ต้นสัก, ยูคาลิปตัส, พริกขี้หนู, มะเขือเทศ, สับปะรด และพืชที่เป็น edible vaccine เช่น กล้วยที่มีวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบ
ห้างดังไม่เอาจีเอ็มโอ
นายวัลลภ พงศ์ศาพิชญ์ ตัวแทนชมรมผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ กล่าวในเวทีสัมมนาฯ ว่า ผลการวิจัยจาก Pure research Center ระบุว่าผู้บริโภคที่ไม่ยอมรับอาหารที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอมีสูงถึง 55 % ในอเมริกา 63 % ในแคนาดา 81 % ในเยอรมัน และ 89 % ในฝรั่งเศส รวมทั้งผู้หญิงจะมีแนวโน้มที่จะไม่เลือกซื้อสินค้าจีเอ็มโอ ขณะที่เมื่อ มิ.ย. ปีที่แล้ว ทางสมาพันธุ์ผู้ค้าปลีกของประเทศอังกฤษซึ่งมีสมาชิกกว่า 90 % ของผู้ประกอบการได้ส่งสัญญาณต่อรัฐบาลของตัวเองว่าสินค้าจีเอ็มโอไม่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภค ห้างคาร์ฟูของฝรั่งเศส และห้างสรรพสินค้า 3 ห้างใหญ่ในอเมริกา ยืนยันไม่รับสินค้าจีเอ็มโอ
แจ้งความเอาผิดผอ.สำนักวิจัยฯ
ด้านความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐรับผิดชอบต่อการแพร่ระบาดของมะละกอจีเอ็มโอ ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง วันนี้ (17 ก.ย.) ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกฯ, เครือข่ายผู้บริโภคขอนแก่น พร้อมด้วยองค์กรพันธมิตร จะไปรวมตัวกันที่ สภ.อ.เมือง ขอนแก่น เพื่อเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับนางวิไล ประสาทศรี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน ต.ท่าพระในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยมะละกอจีเอ็มโอพร้อมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
การแจ้งความครั้งนี้ อ้างข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท ทำให้มะละกอที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอเล็ดลอดจากแปลงวิจัยสู่พื้นที่เปิด คือไร่นาเกษตรกร มีความผิดตาม พ.ร.บ.กักกันพืช 2507 และละเมิดมติ ครม.วันที่ 4 เม.ย.2544 ทั้งนี้เพราะเกรงว่าจะมีเพียงเจ้าหน้าที่ระดับล่าง เช่น คนดูแลแปลงหรือคนสวนเท่านั้นที่จะเป็นแพะรับบาป
นอกจากนั้น กลุ่มเครือข่ายฯ ยังเรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตรกำหนดค่าความเสียหายจากการทำลายแปลงมะละกอให้ชัดเจน
ส่วนความเคลื่อนไหวที่อุบลฯ พื้นที่เป้าหมายกลุ่มแรกที่กลุ่มเครือข่ายฯ สุ่มเก็บตัวอย่างเข้ามาตรวจพิสูจน์จะทราบผลพร้อมกับพื้นที่อื่นๆ อีก 6 จังหวัดไม่เกินวันที่ 10 ต.ค. โดยตัวอย่างที่สุ่มเก็บจากจ.อุบลฯ นอกจากมะละกอแล้วยังมีข้าวโพดที่ถูกตั้งข้อสงสัยด้วย
นายอนุศักดิ์ คำยา เกษตรจ.อุบลฯ กล่าวว่า มะละกอที่นำไปแจกจ่ายให้ชาวอ.วารินชำราบ จำนวน 2,600 ราย ได้รับเมล็ดพันธุ์และต้นกล้ามาจากศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่จ.บุรีรัมย์
ที่จังหวัดนครสวรรค์ เกษตรจังหวัดตรวจพบมะละกอแขกดำพันธุ์ นายพิเชษฎ์ เกตุเกล้า เกษตรจังหวัด
นำเจ้าหน้าที่เกษตรและเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ออกสุ่มตรวจหามะละกอจีเอ็มโอ โดยได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าที่ ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีการปลูกมะละกอจำนวนมากนับร้อยไร่ไม่ทราบว่าเป็นมะละกอจีเอ็มโอหรือไม่ จึงไปตรวจสอบที่สวนมะละกอของนายอำนวย เส้งตุ๊ก อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 9 หมู่ 5 ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี
จากการสอบถามในเบื้องต้น นายอำนวย บอกว่าซื้อพันธ์มะละกอมาจากบริษัทเพื่อนเกษตรกร จ.เชียงใหม่
ในราคาต้นละ 40 บาท นำมาปลูกในพื้นที่กว่า 100 ไร่ ปลูกมาแล้ว 2-3 ปี เป็นมะละกอพันธ์เรดเลดี้ และส่งผลผลิตออกขายทั่วไปตามตลาด
ส่งตัวแทนเข้าร่วมคณะกก.ตรวจสอบ
วานนี้ (16 ก.ย.) นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการองค์กรความหลายหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย (ไบโอไทย) พร้อมกับตัวแทนสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เข้ายื่นหนังสือต่อ นายสมศักด์ เทพสุทิน รมว.กระทรวงเกษตรฯ เพื่อขอมีส่วนร่วมในคณะกก.ที่รัฐมนตรีจะตั้งขึ้นมาติดตามตรวจสอบปัญหาการแพร่ระบาดมะละกอจีเอ็มโอ
นายวิฑูรย์ กล่าวเห็นด้วยในท่าทีของนายสมศักดิ์ ที่ต้องการให้องค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วมกระบวนการตรวจสอบการแพร่ระบาดของมะละกอจีเอ็มโอ จึงขอให้รัฐมนตรีตั้งตัวแทนจากภาคประชาสังคมและนักวิชาการ เข้าเป็นกรรมการร่วมตรวจสอบ 4 คน คือ นายเดชา ศิริภัทร ตัวแทนจากองค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย, นายอุบล อยู่หว้า ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ,นางรสนา โตสิตระกูล ตัวแทนสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และผศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ อาจารย์ประจำคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์
นายวิฑูรย์ กล่าวต่อว่า ขอให้คณะกก.จะมีหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการและขอบเขตการแพร่กระจาย โดยมีอำนาจเรียกเอกสาร ผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล และส่งตัวอย่างไปตรวจสอบยังห้องปฏิบัติการนอกจากของกรมวิชาการเกษตร ด้วยงบที่เพียงพอสำหรับตรวจสอบ ทั้งยังเปิดโอกาสให้เกษตรและประชาชนสามารถส่งตัวอย่างเข้ามาตรวจสอบได้ โดยรายงานผลเบื้องต้นต่อรัฐมนตรีภายใน 30 วัน
นายวิฑูรย์ ยังกล่าวต่อว่า ได้รับข้อมูลจากแม่ค้าขายส้มตำในตลาดบางบัวทองว่าในเร็วๆนี้มีรถกระบะบรรทุกมะละกอของบริษัทผู้ส่งออกมะละกอของไทย ขนมะละกอที่ถูกตีกลับมาแจกจ่ายให้กับแม่ค้าขายส้มตำในตลาด โดยมีการระบุว่าสาเหตุที่ต้องนำมะละกอมาแจกเพราะมะละกอจำนวนดังกล่าวถูกตีกลับเนื่องจากประเทศผู้นำเข้าไม่ยอมรับสินค้า
ดร.จิรากรณ์ คชเสนี ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้ยื่นจดหมายเรียกร้องให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหามะละกอจีเอ็มโอหลุดรอดสู่ธรรมชาติ รวมทั้งดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ก่อให้เกิดการปนเปื้อน เพราะจะส่งผลให้มะละกอปกติเป็นมะละกอจีเอ็มโอไปหมด เรียกว่ามลพิษทางพันธุกรรม ทำให้ประเทศไทยที่มีฐานทรัพยากรที่หลากหลายติดอันดับโลกของไทยถูกทำลาย หากไม่แก้ปัญหาการปนเปื้อนอย่างเร่งด่วนจะควบคุมไม่ได้ และไม่สามารถเรียกสภาพสิ่งแวดล้อมแบบเดิมกลับคืนมาได้
ดร.จิรากรณ์ กล่าวต่อว่า มะละกอจีเอ็มโอพันธุ์ต้านไวรัสใบด่างวงแหวนเกิดขึ้นโดยการยิงยีนไวรัสเข้าไปในยีนมะละกอ ทำให้ยีนไวรัสทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งไม่มีทางรู้ได้เลยว่าไวรัสชนิดใหม่จะทำปฏิกิริยาใด กับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งมนุษย์ ทำให้คนไทยและสิ่งแวดล้อมไทยตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างไม่เคยมีมาก่อน
------------------------------------------
พืชผัก-ผลไม้ที่อยู่ในการวิจัยพัฒนาจีเอ็มโอ
หน่วยงานจำนวนชนิดพืช
กรมวิชาการเกษตร9ข้าวขาวดอกมะลิ, มะละกอ,ฝ้าย,ทุเรียน,กล้วยไม้, ส้มเขียวหวาน,สับปะรด,แตงกวา,ถั่วเหลือง
ม.เกษตรฯกำแพงแสน7ข้าวขาวดอกมะลิ,พริก,มะเขือเทศ,มะละกอ,ถั่วฝักยาว,ฝ้าย,แตงกวา
ม.มหิดล1มะละกอ
ม.เกษตรฯ1กล้วยไม้
สถาบันเทคโนฯราชมงคล 1สับปะรดพันธุ์ภูเก็ต
นครศรีธรรมราช
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ