xs
xsm
sm
md
lg

เริ่มศึกษาแล้ว! สะพานแขวนแห่งแรกของไทย เชื่อมพังงา-ภูเก็ต เพิ่มโครงข่ายคมนาคม แก้ปัญหารถติด รองรับการเติบโต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กรมทางหลวง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการสำรวจออกแบบเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหมายเลข 402 รวมสะพานสารสิน ตัดถนนแนวใหม่ พร้อมสะพานแขวนเชื่อมพังงา-ภูเก็ต ศึกษาเสร็จปลายปีหน้า เพิ่มโครงข่ายคมนาคม แก้รถติด รองรับการเติบโต


วันนี้ ( 3 ก.ค.68) กรมทางหลวง โดยสำนักสำรวจและออกแบบ รวมกับ กลุ่มบริษัทท่าปรึกษา จัดประชุมปฐมนิเทศ (สัมมนา ครั้งที่ 1) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง บนทางหลวงหมายเลข 402 รวมสะพานสารสิน โดยมี นายไพโรจน์ ศรีละมูล นายอำเภอเมืองภูเก็ต เป็นประธานการประชุม และมีหัวหน้าส่วนราช องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สถานศึกษา สถานพยาบาล องค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจในโครงการ ประมาณ 100 คนเข้าร่วมการประชุม ณ ห้องบอลรูม 2 โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้


โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง บนทางหลวงหมายเลข 402 รวมสะพานสารสิน เป็นการดำเนินการสำรวจและออกแบบกรอบรายละเอียด (มDesign) รวมทั้งจัดเตรียมเอกสารข้อมูลต่าง ๆ ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง MR9 (สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต) และทางหลวง หมายเลข 402 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมปรับปรุงสะพานที่มีอยู่เดิมทั้งหมด และสะพานแห่งใหม่ แนวเส้นทางโครงการเป็นส่วนหนึ่งของแนวเส้นทางในงานศึกษาปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษ MR9 (สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต) 

กรมทางหลวง ได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ได้แก่ บริษัท นอร์ซีฟ เอ็นจิเนียริง จำกัด บริษัท ทีอีซี คอนชัลแตนท์ จำกัด บริษัท ฟิวเจอร์ เอ็นจิเนียริง คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ธาราไลน์ จำกัด ร่วมกันดำเนินงานการศึกษาพื้นที่โครงการ มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณ กม.40+500.000 ตามแนว MR9 (ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต) ในเขตปกครองหมู่ที่ 7 บ้านท่านุ่น ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่วทุ่ง จ.พังงา จากนั้นข้ามทะเลเข้าสู่พื้นที่ภูเก็ต บริเวณหมู่ที่ 5 บ้านท่าฉัตรไชย ต.ไม้ขาว อ.ถลาง และไปสิ้นสุดโครงการที่ กม.49+000 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

ดร.สุกิจ ยินดีสุข วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง ในฐานะผู้จัดการโครงการ
ดร.สุกิจ ยินดีสุข วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง ในฐานะผู้จัดการโครงการ เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายเร่งด่วนในการบูรณาการ การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนและแบ่งแยกชุมชน เพื่อให้การลงทุนมีความคุ้มค่า สามารถแก้ไขปัญหาการคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นถึงความจำเป็น ลำดับความเร่งด่วนในการแก้ปัญหาและรองรับการพัฒนาที่เกิดขึ้นในอนาคต มีความสอดดดลองตามแนวทางการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบบราง 

เมื่อพิจารณาจากรูปแบการพัฒนาและการลงทุน จะเป็นการดำเนินการของเอกชนเป็นส่วนใหญ่ โดยกรมทางหลวงมีภารกิจในการเตรียมความ พร้อมในด้านการออกแบบรายละเอียดของทางหลวงหมายเลข 402 รวมสะพานที่มีอยู่เดิมทั้งหมด และสะพานแห่งใหม่ ที่จะเชื่อมพังงา-ภูเก็ต เป็นสะพานแขวนแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งมีความยาวจากพังงา-ภูเก็ต ประมาณ 1,000 เมตร ไม่มีเสาต่อมออยู่ในทะเลเพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ มีความสวยงามโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ที่เป็น Landmark Bridge) นอกจากจะเป็นประโยชน์ด้านคมนาคมขนส่งแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย


โดยผลการศึกษาออกแบบฯ ดังกล่าวจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงปลายปี 2569 ก็จะทำให้ทราบถึงแนวสะพานแขวนและแนวถนนที่จะเชื่อมระหว่างพังงา-ภูเก็ต และถนนที่จะเชื่อมกับถนนเส้นทางพิเศษหรือมอเตอร์เวย์ สายเมืองใหม่-กะทู้ และโครงการทางพิเศษเส้นทางกะทู้-ป่าตอง (อุโมงค์ป่าตอง) เพื่อที่จะยกระดับการพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้สะดวก สบาย และรวดเร็ว และรองรับการเติบโตของภูเก็ต 


ผู้จัดการโครงการ ฯ ยังได้กล่าวขี้แจงด้วยว่า สำหรับโครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง บนทางหลวงหมายเลข 402 รวมสะพานสารสิน มีแนวานโครงการบางส่วนผ่านผ่านพื้นที่ป่าชายเสน และป้าสงวนแห่งชาติ และมีสะพานเชื่อมต่อจังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ตที่พาดผ่านทะเลอันดามัน จึงเข้าข่ายประเภทโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน และรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ตลอดจนข้อห่วงกังวลของประชาชนในพื้นที่ศึกษา เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิตและความต้องการของชุมชน ก่อให้เกิดการยอมรับการพัฒนาโครงการ เพื่อให้โครงการที่เกิดขึ้นในอนาคตสามารถแก้ไขปัญหาด้านคมนาคมขนส่งที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่มากที่สุด และมีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด


อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เห็นด้วยที่จะให้มีถนนเส้นใหม่เกิดขึ้นในภูเก็ตเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด แต่ก็มีข้อกังวลและห่วงใยในเรื่อง โดยห่วงใยและกังวลในส่วนของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน โรงเรียน สถานที่ตำรวจ ส่วนราชการ ที่ถนนเส้นใหม่ต่อจากสะพานแขวนไปเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์ ต้องตัดผ่านสถานที่ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ชุมชนต่างๆ ได้รับผลกระทบ รวมไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับปะการังตามแนวชายฝั่งทั้งฝั่งพังงาและภูเก็ต จากตะกอนที่จะเกิดขึ้นในช่วงการก่อสร้าง ความปลอดภัย อยากให้ด่านตรวจด้านความมั่นคง ทั้งยาเสพติดและการเข้ามาก่อความวุ่นวาย ผลกระทบต่อการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเล รวมไปถึงทางการประปาส่วนภูมิภาคได้ฝากในเรื่องของการวางท่อส่งน้ำประปามากจากพังงาที่จะลอดทางใต้สะพานสารสิน รวมไปถึงความชัดเจนของเส้นทาง ซึ่งความคิดเห็นต่างๆ ทางบริษัทที่ปรึกษาจะนำไปเป็นข้อมูลในการออกแบบรายละเอียดโครงการต่อไป





กำลังโหลดความคิดเห็น