กระบี่ - ชาวบ้านฮือ ล้มเวที EIA โครงการ อุตสาหกรรมชนิดหินปูน เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง บริษัทโรงโม่ตรังภูทอง หวั่นผลกระทบสิ่งแวดล้อม ชั่วลูกชั่วหลาน ขอคัดค้าน กับการขอสัมปทานบัตรเหมืองแร่หิน โรงโม่ ในพื้นที่ จนถึงที่สุด
วันนี้ ( 20 พ.ค.68) บริษัท เอ บี อี เอ็น เอ็นจิเนียริง คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้ขอใช้พื้นที่อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียนบ้านศรีพระยาราษฎร์บำรุง ม.12 ต.ปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA โครงการ อุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ของบริษัทโรงโม่ตรังภูทอง จำกัด คำขอประทานบัตรที่ 1/2557 โดยมีชาวบ้านที่คัดค้านและเห็นด้วย มาร่วมเวที ประมาณ 400 คน แบ่งเป็นผู้คัดค้านประมาณ 370 คน เห็นด้วยประมาณ 30 คน โดยทางเจ้าหน้าที่ได้จัดที่นั่งแยกกันคนละฝ่ายท่ามกลางการรักษาความสงบเรียบร้อยทั้งจากเจ้าหน้าที่่ฝ่ายปกครอง อ.ปลายพระยา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปลายพระยา ร่วม 20 นาย
เมื่อถึงเวลาเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ได้ทำการชี้แจงรายละเอียด ทำให้ชาวบ้านกลุ่มที่คัดค้านลุกฮือชูป้าย และ ส่งเสียงตะโกนโห่ร้องคัดค้านการเปิดเวทีฯ และขอให้ล้มเลิกการจัดเวทีเนื่องจากเกรงว่าทางบริษัทฯจะนำรายละเอียดไปสอดใส้ในรายงานฯจนในที่สุดทางเจ้าหน้าที่ต้องประกาศปิดเวทีหนี เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย
ขณะที่นายคำรณ ชู้ดชา ตัวแทนชาวกลุ่มปลายพระยารักษ์บ้านเกิด ได้อ่านคำแถลงการณ์คัดค้านการสัมปทานเหมืองแร่หินปูน โรงโม่หินบริษัทโรงโม่ ตรังภูทอง จำกัด มีใจความว่า สืบเนื่องมาจาก บ.โรงโม่ ตรังภูทอง จำกัด ได้ขอประทานบัตร เพื่อทำเหมืองแร่หินปูนอุตสหกรรม ชนิดหินปูนเพื่ออุตสหกรรมการก่อสร้าง ในพื้นที่ ม.2 ม.12 ตำบลปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ต่อสำนักงานอุตสหกรรมจังหวัดกระบี่ ตามคำขอประทานบัตรที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 แล้วนั้น และสำนักงานอุสาหกรรมจังหวัดกระบี่ ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนรอบพื้นที่โครงการจำนวน 4 หมู่บ้าน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 โดยประชาชนทั้ง 4 หมู่บ้านที่มาร่วมประชุมรับฟังความเห็น ต่างไม่เห็นด้วย และคัดค้านการสัมปทานแหมืองแร่ โรงโม่ ดังกล่าว
และ ในวันนี้ การที่ บริษัทโรงโม่ ตรังภูทอง จำกัด ได้มอบหมาย ให้ บริษัท เอ บี อี เอ็นจีเนียริ่ง คอนซิลแตนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทฯที่ปรึกษา ดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการดังกล่าว โดยเข้ามาดำเนินการจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 กับประชาชนรอบพื้นที่โครงการทั้ง 4 หมู่บ้าน นั้นในนาม กลุ่มปลายพระยารักษ์บ้านเกิด ซึ่งประกอบด้วยประชาชนในพื้นที่ รอบโครงการ และในอำเภอปลายพระยา เห็นว่า พื้นที่ขอสัมปทานบัตร ดังกล่าว เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่ชาวบ้านเรียกว่า เขาถ้ำ ดุกหนองมัด มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีถ้ำที่สวยงาม และเป็นแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ ที่ประชาชนในพื้นที่ได้อุปโภคบริโภค โดยประชาชน เห็นว่า การสัมปทานเหมืองแร่ และทำโรงโม่นั้น คือการทำลายธรรมชาติ ทำลายวิถีชีวิตความสงบสุขในการดำรงค์ชีพ แบบพอเพียงและยั่งยื่น
และทำลายการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่ทำสวนทุเรียน สวนยาง สวนปาล์ม ซึ่งเป็นพืชเศษฐกิจสำคัญของชุมชน ต้องได้รับความเสียหาย จากมลภาวะ ที่เกิดขึ้น เสมือน รัฐ เปิดทางให้นายทุนเข้ามาปล้น กอบโกยเอาทรัพยกร ของแผ่นดินที่ประชาชนพึ่งพา เกื่อกูลไป และ ไม่คุ้มค่าต่อ ค่าอาญาบัตร ที่นายทุนให้แก่รัฐหรือชุมชน อันน้อยนิด เมื่อเทียบกับทรัพยากรจำนวนมหาศาลที่ถูกทำลาย กอบโกยไปเพื่อความมั่งคั่งของนายทุน
โดยชุมชน ต้องสูญเสียทรัพยกรที่ธรรมชาติสร้างมา และบรรพบุรุษเราช่วยกันอณุรักษ์รักษา เพื่อลูกหลาน ไปอย่างถาวร มิหวนกลับแบบสิ้นเชิง เรา มีความสุข กับ อากาศ หมอก ไอน้ำ สายลม ที่สดชื่น ที่ภูเขา ป่าไม้ ได้ปลดปล่อยมาให้เรา ทุกค่ำเช้า มาชั่วกาล เรา มีสุขภาพ ดี เพราะ อากาศดี กินอยู่ดี สภาพแวดล้อมดี เรา มีสายน้ำ สายน้ำที่ภูเขาป่าไม่ช่วยเก็บกัก และซึมซับ มาเลี้ยงดูเรา และพืชผล เรา ได้ยิน เสียงนก เสียงสัพสัตว์ เร่ร้องเป็นเสียงเพลงธรรมชาติ ที่บรรเลงเคียงข้างบ้านเรา มายาวนาน เรามี พืช ผลการเกษตร ที่มั่งคั่ง ทั้ง ทุเรียน ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ในการอุปถัมป์ดำรงชีพกับคุณภาพชีวิตที่ ดี มีความสุขเราไม่เอา สิ่งเหล่านี้ไปแลก กับสัมปทานเหมืองแร่ โรงโม่ ที่จะเปลี่ยน ให้อากาศบ้านเรา มีแต่ ผงฝุ่น ละอองสารพิษ จากการระเบิดหิน ที่จะทำลายทุกอย่างแบบสิ้นเชิงมิอาจเยียวยา และหวนกลับคืนทางกลุ่มปลายพระยารักษ์บ้านเกิด
จึงเห็นตรงกัน และมีข้อเสนอ ต่อกลไกรัฐ และ บริษัทที่มาขอสัมปทานเหมืองแร่หิน โรงโม่ ดังนี้ 1. เราไม่เห็นด้วยและข้อคัดค้าน การจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็น เพื่อดำเนินการทำ EIA 2. เราไม่เห็นด้วย และขอคัดค้าน กับการขอสัมปทานบัตรเหมืองแร่หิน โรงโม่ ในพื้นที่ จนถึงที่สุด
3. ให้สำนักงานอุสหกรรมจังหวัด หรือ บริษิท โรงโม่ ตรังภูทองจำกัด ถอดการขอสัมปทานบัตร จากพื้นที่โดยเด็ดขาด 4. ให้ สำนักงานอุตสหกรรมจังหวัด นำเสนอยกเลิกแผนแม่บท พื้นที่สัมปทานแหมืองแร่ ของจังหวัดกระบี่ ออกจากแผ่นแม่บทเหมืองแร่ ชาติ ทั้งนี้ กลุ่มปลายพระยารักษ์บ้านเกิด จะคัดค้าน ทุกกระบวนการที่ทางบริษัทฯ ที่ปรึกษา บริษัท โรงโม่ ตรังภูทอง หรือ หน่วยงานราชการต่างๆ ที่ดำเนินการเพื่อให้ได้มาการสัมปทานแหมืองแร่ หิน ในพื้นที่ อย่างถึงที่สุด และเคลื่อนไหวสร้างความรับรู้ตระหนักถึงภัย ผลกระทบจากโครงการดังกล่าวกับพี่น้องประชาชน ตลอดจนการเชื่อมประสานกับเครือข่ายประชาชน เครือข่ายนักวิชาการ เครือข่ายสื่อมวลชน ในการขับเคลื่อนต่อต้าน คัดค้าน การสัมปทานเหมืองแร่ ระเบิดหิน อย่างถึงที่สุด
ขณะที่ชาวบ้านได้ตั้งข้อสังเกตว่าทางโรงเรียนได้ประกาศหยุดการเรียนการสอน 1 วันเพื่อเปิดทางให้บริษัท เอ บี อี เอ็น เอ็นจิเนียริง คอนซัลแตนท์ จำกัด ใช้พื้นที่รับฟังความคิดเห็น ชอบหรือไม่ โดยอ้างดำเนินการตามแผนความปลอดภัยในสถานศึกษา ทั้งที่โรงเรียนไม่อนุญาตให้บริษัทฯนี้ใช้พื้นที่ได้ไม่จำเป็นต้องปิดโรงเรียน เป็นการเอื้อนายทุนหรือไม่