xs
xsm
sm
md
lg

อว.หนุนราชภัฎภูเก็ต ทำวิจัยและสร้างนวัตกรรมใหม่ ส่งเสริมชุมชนและดันสปาสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หนุนราชภัฎภูเก็ตทำวิจัยพัฒนาท้องถิ่น พร้อมดันธุรกิจสปาพัฒนาภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ


วันนี้ (2 พ.ค.68) นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย เเพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โดยมี นายสุวิทย์ พันธ์เสงี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต คณะผู้บริหาร บุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ร่วมต้อนรับ


โดยนายศุภชัยพร้อมคณะได้เยี่ยมนิทรรศการของมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ที่เกิดจากงานวิจัยของคณะต่างๆ ทั้งหมด 20 บู๊ท เช่น ศูนย์นวัตกรรมสปาและการท่องเที่ยวส่งเสริมสุขภาพ พาเหวนกับเณพบ้านพอน ส้มควายมีดี เพาะถั่วงอกอัตโนมัติ ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อคนรักสุขภาพ ชิมตะ...โอเอ๋ว เอกลักษณ์แห่งความอร่อยของภูเก็ต สีทองถิ่น สร้างเงิน สร้างเศรษฐกิจ เป็นต้น


นายศุภชัย เปิดเผยว่า วันนี้มาติดตามงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งที่ภูเก็ตมีอยู่ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ตและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นส่วนหน้าที่ทำหน้าที่ในการผลิตบัญทิตย์ แต่ในขณะเดียวกันกระทรวง อว.มีวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) อยู่ด้วย เมื่อทั้งสองส่วนรวมกัน ทางมหาวิทยาลัยจะได้รับทุนสนับสนุนในการทำวิจัย การสร้างนวัตกรรม ที่ทำให้เกิดประโยชน์กับท้องถิ่น ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในทุกภาคส่วน ทั้งด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรม สปา เวลเนล ซึ่งโครงการต่างๆ ที่ทางมหาวิทยลัยได้ทำวิจัยและเข้าไปส่งเสริมให้กับท้องถิ่นนั้น เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องของการทำให้ภูเก็ตเป็นศูนย์สุขภาพอันดามัน ที่จะดูแลสุขภาพของประชาชนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่ภูเก็ตพร้อมกับดูแลสุขภาพ ซึ่งการที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยองค์ความรู้ของมหาวิทยลัยที่อยู่ในพื้นที่ภูเก็ต ซึ่งมีหน่วยต่างๆ ในการสนับสนุนในเรื่องทุนการวิจัย


“มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ได้ทำงานร่วมกับท้องถิ่น ร่วมกับชาวบ้าน อยู่ในกลุ่มของการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น แต่มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ตทำมากกว่าระดับท้องถิ่น ด้วยความร่วมมือกับทางบันยันทรีที่ทำในเรื่องของสปาแอนด์เวลเนส ที่มีหลักสูตร 100 ชั่วโมงเกี่ยวกับสปา การจับมือกับชุมชนในต.ฉลอง ทำเรื่องเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่น เส้นทางท่องเที่ยวในฉลอง รวมไปถึงท้องถิ่นอื่นๆ วันนี้จึงได้มาติดตามว่าทางมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ตได้ทำอะไรแล้วบ้างและมีอะไรที่จะต้องสนับสนุนเพิ่มเติม” นายศุภชัย กล่าว








กำลังโหลดความคิดเห็น