xs
xsm
sm
md
lg

ผอ.องค์การอาหาร สหประชาชาติ ลงพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยของ จ.พัทลุงเป็นมรดกทางการเกษตรโลกแห่งแรกของประเทศไทย ปี 2565

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ดร.จู ตงหยู่ (QU Dongyu) ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และคณะ ลงพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง หลัง FAO ประกาศให้เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย หรือพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยของ จ.พัทลุง เป็นมรดกทางการเกษตรโลกแห่งแรกของประเทศไทย ในปี 2565 การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ไปยังพื้นที่แรมซาไซต์ หรือป่าพรุควนขี้เสียน ติดตาม รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก โดยได้พบปะกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย ชมการเลี้ยงควายปลักวิถีดั้งเดิม การดูแลสุขภาพควาย และการช่วยเหลือในช่วงอุทกภัยและภัยแล้ง

ดร.จู ตงหยู่ (QU Dongyu) กล่าวว่า หลังจากประกาศให้เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยของ จ.พัทลุง เป็นมรดกทางการเกษตรโลกแห่งแรกของประเทศไทย ในปี 2565 การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ครบรอบ 2 ปี วันนี้การใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ยังคงอุดมสมบรูณ์ไปด้วยพืชพรรณพันธุ์ไม้ พันธุ์ปลา และนกนานาพันธุ์ ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นระบบนิเวศเกษตรที่ผสานระหว่างการเลี้ยงควายน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างลงตัว ซึ่งถือเป็นระบบมรดกภูมิปัญญาทางการเกษตรโลก (GIAHS) แห่งแรกของประเทศไทย


การได้รับการรับรองดังกล่าวจาก FAO และประชาคมโลกในปี 2565 เป็นข้อพิสูจน์ถึงความกลมกลืนอันน่าทึ่งระหว่างมนุษย์และธรรมชาติที่ดำรงอยู่ที่นี่มาหลายชั่วอายุคน เมื่อได้ยืนอยู่ท่ามกลางพื้นที่ชุ่มน้ำที่งดงามนี้ รู้สึกถึงความมหัศจรรย์ของธรรมชาติและเรื่องราวที่สถานที่แห่งนี้บอกเล่า เป็นเรื่องราวของชุมชนที่สร้างสมดุลระหว่างการได้รับสารอาหารและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องราวของควายน้ำที่ทุกย่างก้าวของพวกมันช่วยสร้างสมดุลให้ระบบนิเวศและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่

เมื่อมองควายน้ำที่หากินอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ ทำให้เราเห็นว่าพวกมันไม่ได้เป็นเพียงสัตว์เลี้ยง แต่ยังเป็นผู้ปกป้องและสัญลักษณ์อันยั่งยืนของความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างชาวทะเลน้อยและธรรมชาติ ระบบมรดกภูมิปัญญาทางการเกษตรเช่นนี้เป็นมรดกที่ยังมีชีวิต เกษรกรเลี้ยงสัตว์ในทะเลน้อยได้ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม


รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมาหลายศตวรรษ ความสามารถในการปรับตัวนี้ทำให้ทะเลน้อยเป็นตัวอย่างที่มีชีวิตของความยืดหยุ่น ตั้งแต่ปี 2545 โครงการ GIAHS ของ FAO ได้ดำเนินการเพื่อระบุและปกป้องระบบการเกษตรที่มีเอกลักษณ์เหล่านี้ และสนับสนุนให้เป็นทางออกในระดับท้องถิ่นสำหรับความท้าทายระดับโลก GIAHS เช่นทะเลน้อย เป็นข้อยืนยันว่าการเกษตรไม่ได้เป็นเพียงการผลิตอาหาร แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาและพัฒนาชุมชนและพื้นที่ของพวกเขา

การเยี่ยมชมในวันนี้มีความหมายเป็นพิเศษเมื่อเรากำลังจะเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปีของ FAO ในปีหน้า ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญที่ย้ำถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการปกป้องและเฉลิมฉลองระบบเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป




กำลังโหลดความคิดเห็น