ตัวแทน "คลองไทย" พบ ส.ว.สงขลา ดันจัดตั้งคณะทำงาน ในขณะที่ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรปลูกมะพร้าวน้ำหอมคาบสมุทรสทิงพระ ผลผลิตตกต่ำซ้ำเติมถูกขโมยแจ้งให้รัฐบาลทราบ แนะรวมกลุ่มส่งตลาดเมืองจีน
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2567 ที่สำนักงานศูนย์ประสานงานสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา ถ.ไทยอาคาร อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายณรงค์ ขุ้มทอง ผอ.ศูนย์ประสานงานคลองไทย 5 จังหวัดภาคใต้ พร้อมด้วย นายทศพล ยอดศรี นายณรงค์ นวลพรหม กรรมการประสานงาน ได้เข้าพบนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ตัวแทนวุฒิสมาชิก กลุ่มสื่อมวลชน จังหวัดสงขลา เพื่อให้เป็นผู้ประสานงานกับวุฒิสภาในการขับเคลื่อนและผลักดันการขุดคลองไทยให้เป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ คณะกรรมการประสานงานการขุดคลองไทย ได้มีการขับเคลื่อนผ่านวุฒิสมาชิกรัฐสภาชุดที่แล้วจนมีความก้าวหน้าไปแล้วระดับหนึ่ง จึงขอให้วุฒิสภาชุดปัจจุบันพิจารณาทำการขับเคลื่อน ให้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อการศึกษาการขุดคลองไทยอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เห็นถึงข้อดี ข้อเสีย และโอกาสในการขุดคลองไทย เพื่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
ต่อมา นายเจริญกิจ มีศิริ อนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรจังหวัดสงขลา ได้เดินทางมายื่นหนังสือแก่นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ในฐานะตัวของสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 5 คนของ จ.สงขลา เพื่อขอให้สมาชิกวุฒิสภาเป็นปากเสียง นำความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมในคาบสมุทรสทิงพระ อ.พื้นที่อื่นๆ ของ จ.สงขลา ที่ได้รับความเดือดร้อน
เนื่องจากผลผลิตตกต่ำขายได้เพียงลูกละ 3 บาท สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรอย่างยิ่ง เพราะเจอทั้งปัญหาการขโมยพืชผลการการเกษตรจากกลุ่มผู้ติดยาเสพติด และยังมาพบกับราคาที่ตกต่ำเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงขอให้ ส.ว.นำปัญหาดังกล่าวของเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไปบอกกับรัฐบาลด้วย
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ตัวแทนสมาชิกวุฒิสมาชิก จ.สงขลา กล่าวว่า จะนำเอาเรื่องที่ตัวแทนของประชาชนทั้งสองกลุ่มไปดำเนินการแจ้งให้สมาชิกวุฒิสภา จ.สงขลาได้รับทราบ และดำเนินการให้เป็นตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มตัวแทนประชาชนต่อไป
โดยเฉพาะเรื่องของมะพร้าวน้ำหอม ใน จ.สงขลา นั้น นายไชยยงค์ กล่าวว่า ได้หารือกับกงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีน จ.สงขลา มาแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ ทราบว่าทางมณฑลไหหลำของประเทศจีน ตลาดบริโภคยังมีความต้องการมะพร้าวน้ำหอมของ จ.สงขลา เป็นจำนวนมาก
“ปัญหานี้เกษตรกรในจังหวัดสงขลา น่าจะมีการรวมกลุ่มกันเพื่อหาแนวทางติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาลู่ทางในการส่งออกไปมณฑลไหหลำ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ทางการค้า ที่มีความต้องการสินค้าทางการเกษตรกรของภาคใต้