“อู๋ ตงเหมย” กงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดสงขลา ร่วมเสวนากับ ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวุฒิสภา 30 ปีของความก้าวหน้าในความ สัมพันธ์ ไทย-จีน ในภาคใต้
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ที่ห้องรับรองบ้านพัก กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำ จ.สงขลา นางอู๋ ตงเหมย กงสุลใหญ่สาธารณประชาชนจีนประจำจังหวัดสงขลา ได้เชิญนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สว.สงขลา ร่วมเสวนาถึงความก้าวหน้าของมิตรภาพไทย-จีน ในโอกาสคครบรอบ 30 ปี ของการต่อตั้งสำนักงานกงสุลประจำจังหวัดสงขลา
นางอู๋ ตงเหมย กล่าวว่า สถานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1994 รวมเวลาเกือบ 30 ปีแล้ว การก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาได้สร้างสะพานแห่งใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมีอระหว่างจีนและภาคใต้ของไทย และแสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนที่ใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างจีนและไทย
“ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ 30 ปีอาจเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ 30 ปีที่ผ่านมาเป็น 30 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของประเทศจีน และเป็น 30 ปีแห่งความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ของมิตรภาพจีน-ไทย ขอใช้โอกาสพิเศษในวาระครบรอบ 30 ปีของการสถาปนานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาเพื่อย้อนประวัติอันน่าตื่นเต้นและเป็นแรงบันดาลใจของพวกเราร่วมกัน”
“30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วของจีน 30 ปีที่แล้ว GDP ของจีนมีมูลค่า 600,000 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ และให้หลัง คือปี 2023 GDP ของจีนมีมูลค่ามากกว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 18% ของเศรษฐกิจโลก ในปี 1994 เศรษฐจีนอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก มาในปี 2010 จีนได้กลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และเป็นประเทศอุดสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีอุตสาหกรรมครบทุกประเภทตามการแบ่งประเภทอุตสาหกรรมของสหประชาชาติ โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตที่ทรงพลังที่สุด และมีการพัฒนาขีดความสามารถด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
เศรษฐกิจของจีนมีขนาดมหึมา การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีคุณภาพสูงของเศรษฐกิจจีนย่อมเป็นแรงผลักดันสาคัญสาหรับการเติมโดของเศรษฐกิจโลกอย่างแน่นอน ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้ขยายการเปิดกว้างสู่โลกภายนอกและยกระดับการเปิดกว้างอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นสัญลักษณ์ที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของจีน
ปัจจุบัน จีนเป็นคู่ค้าหลักของประเทศและภูมิภาคต่างๆ มากกว่า 140 ประเทศท้าโลก และเป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่อันดับสองของโลก นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางหรือ Belt and Road Initiative เมื่อปี 2013 จีนได้ดึงดูดประเทศต่างๆ มากกว่า 150 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 30 องค์กรเข้าร่วม ซึ่งโครงการ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะระดับนานาชาติที่ได้รับความนิยมและเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งจะส่งแรงขับเคลื่อนใหม่ๆ ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่องจีนยินดีแบ่งปันการพัฒนาของตนเองเพื่อมอบโอกาสใหม่ๆ ให้แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
"เค้ก" ของความร่วมมือแบบ win-win ชาติที่หอมหวาน จีนยินดีทำงานร่วมกับมิตรประเทศรวมทั้งประเทศไทยเพื่อสร้าง "เค้ก" ที่ใหญ่ขึ้นและดีขึ้น และแบ่งปันประโยชน์จากการพัฒนาของจีน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนมีส่วนร่วมในการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเฉลี่ยปีละกว่า 30% ในปี 2023 ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างยากลำบากและเผชิญความไม่แม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นของอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก เศรษฐกิจจีนมีส่วนสนับสนนการเต็มโดของเศรษฐกิจโลกถึง 32% และกลายเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกอีกครั้ง
30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทยอย่างครอบคลุม จีน-ไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่เชื่อมต่อกันด้วยภูเขาและแม่น้ำ เป็นญาติที่ดีด้วยสายเลือด และเป็นหุ้นส่วนที่ดีที่มีอนาคตร่วมกัน ตั้งแต่ "แถลงการณ์ร่วม" ปี 2001 ที่รัฐบาลจีนและไทยบรรลุฉันทามติในการส่งเสริมความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกัน จนถึงปี2012 ที่ทั้งสองประเทศได้เริ่มต้นความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน และปี 2022 ที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เยือนประเทศไทยและร่วมกับผู้นำรัฐบาลไทยในการสร้างเป้าหมายยุคใหม่ของ "ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทย"
จนถึงปี 2023 ที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินเยือนประเทศจีน และได้แลกเปลี่ยนเชิงลึกกับผู้นำจีนเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างสองประเทศ และบรรลุฉันทามติอย่างกว้างขวาง ทำให้ทั้งสองประเทศมีความไว้วางใจทางการเมืองต่อกันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผู้นำระดับสูงของทั้งสองประเทศมีการเยือนระหว่างกันเหมือนเครือญาติ ผู้นำจีนหลายคนเคยมาเยือนประเทศไทย ราชวงศ์ไทย ผู้นำรัฐบาล รัฐสภา และผู้นำกองทัพของไทยก็ได้เยือนจีนหลายครั้งเช่นเดียวกัน ความสัมพันธ์จีน-ไทยรักษาโมเมนตัมการพัฒนาที่มั่นคงและแข็งแรงมาโดยดลอด และกลายเป็นต้นแบบของการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองและพัฒนาร่วมกัน
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ขนาดการค้าระหว่างจีนและไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จีนกลายเป็นคู่คำรายใหญ่ที่สุดของไทย เป็นแหล่งเงินทุนต่างประเทศที่สำคัญที่สุด เป็นประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สำคัญที่สุด และเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของไทย ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา ปริมาณการค้าจีน-ไทยทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน
ประเทศไทยเป็นฐานสำคัญของโครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ที่มีคุณภาพสูง ภายใต้กรอบของ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังจีนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2023 การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังจีนมีมูลค่าร่วม 11,262 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 42% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้น 6.19% เมื่อเทียบเป็นรายปีการส่งออกทุเรียนไทยไปยังจีนคิดเป็น 70% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนปีนี้ไทยส่งออกทุเรียนสดไปยังจีนถึง 225,000 ตัน
ธุรกิจจีนมีการลงทุนในไทยอย่างแข็งขัน ในปี 2023 การลงทุนโดยตรงของจีนในประเทศไทยมีมูลค่า 4,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 109% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีส่วนช่วยในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการจ้างงานของไทยอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและไทยมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีน ในปี 2023 มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาเยือนประเทศไทย 3.52 ล้านคน สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้ไทยกว่า 196,700 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมปีนี้ จีนและไทยได้เข้าสู่ "ยุคปลอดวีซ่า" จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งจีนมาไทยและไท่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้ มีนักท่องเที่ยวจีนมาประเทศไทย 2.352 ล้านคน ซึ่งกว่าชาติอื่นๆในช่วงเวลาดังกล่าว วันที่ 1 มีนาคม มีนักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 3 เท่า เพิ่มขึ้น 60% เมื่อเทียบกับปี 2019 ในช่วงก่อนโควิด
นักศึกษาจีนยังคงศึกษาต่างชาติกลุ่มหลักในรั้วมหาวิทยาลัยไทย ในภาคการศึกษาของปีการศึกษา 2023 มีนักศึกษาจีนในสถาบันอุดมศึกษาของ21,906 คน คิดเป็น 60% ของนักศึกษาต่างชาติทั้งหมดในประเทศไทย
30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงความมีชีวิตชีวาของความร่วมมือระหว่างจีนกับภาคใต้ของไทย ภาคใต้ของไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ จีนมีตลาดขนาดใหญ่และมีฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง ทั้งสองฝ่ายมีส่วนส่งเสริมระหว่างกันอย่างมากในด้านเศรษฐกิจ การสงอองออกเนื่อง ในปี 2023 ไทยส่งออกยางพาราทั้งสิ้น 4.267 ล้านตัน
ในจำนวนนี้ 2.057 ล้านต้นส่งออกไปจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยางที่ผลิตในภาคใต้ ในปี 2023 ประเทศไทยสงออกทุเรียนไปยังจีนจำนวน 945,000 ต้น เฉพาะจังหวัดชุมพรเพียงจังหวัดเดียวก็ส่งออกทุเรียนไปยังจีนถึง 400,000 ตัน
ผลไม้อื่นๆ จากภาคใต้ เช่น มะพร้าว สับปะรด กล้วยมะม่วง ฯลฯ ก็เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีนเช่นกัน การลงทุนและการสร้างโรงงานของบริษัทจีนในพื้นที่ภาคใต้ของไทยได้ช่วยแก้ปัญหาการดำรงชีพของคนท้องถิ่นจำนวนมาก เช่น การจ้างงาน การกำจัดขยะและแหล่งจ่ายไฟฟ้า เป็นต้น อีกทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคใต้ของไทย
การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและภาคใต้ของไทยดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ชาวใต้มีความสนใจในภาษาและวัฒนธรรมจีนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนจีนในภายได้ได้ผลิตทูตสันถวไมตรีระหว่างจีน-ไทยจำนวนมาก
ภาคใต้อุดมไปด้วยทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ภูเก็ สมุย และหลีเป๊ะ เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวจีน ในสื่อสังคมออนไลน์ของจีน มีนักท่องเที่ยวจีนจำนวนนับไม่ถ้วนได้แบ่งปันความทรงจำดีๆ ขณะไปท่องเที่ยวในสถานที่เหล่านี้
30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงมิตรภาพจีน-ไทยที่เรียกว่า “ไทยจีนใช่อื่นใกล พี่น้องกัน" ซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง คนจีนและไทยมีมิตรภาพอันยาวนานและมีความใกล้ชิดเหมือนครอบครัวเดียวกันนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ประชาชนทั้งสองประเทศได้ร่วมทุกร่วมสุขกัน ช่วยเหลือเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ร่วมกันเอาชนะภัยพิบัติทางธรรมชาติ ร่วมกันตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ทางการเงิน และร่วมกันส่งเสริมการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ
เราจะไม่มีวันลืมว่าเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ครั้งแรกในปี 2019 รัฐบาลและประชาชนทุกสาขาอาชีพในไทย รวมถึงประชาชนในภาคใต้ ต่างมีความห่วงใยกับความปลอดภัยของประชาชนในเมืองอู่ฮั่น และได้จัดกิจกรรม "อู่ฮั่นสู้ๆ" โดยร่วมกันบริจาคเงินและสิ่งของให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีนที่ติดอยู่ในประเทศไทยและรักษาผู้ป่วยชาวจีนที่คิดเชื้อในประเทศไทยโดยทันที
ในทำนองเดียวกัน หลังจากเกิดการแพร่ระบาดในประเทศไทย ฝ่ายจีนก็ได้จัดหาอุปกรณ์ป้องกัน แบ่งปันประสบการณ์ในการรับมือ และจัดหาวัคขืนให้กับประเทศไทยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนเกิดเรื่องที่น่าประทับใจครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งสองฝ่ายได้ใช้การปฏิบัติจริงอธิบายถึงมิตรภาพอันลึกซึ้งสมกับคำกล่าวที่ว่า "จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน"
“ตั้งแต่ข้าพเจ้าเข้ารับตำแหน่งที่สงขลา ข้าพเจ้ามักจะไปเยี่ยมสถานที่ต่างๆ ในเขตรับผิดชอบ ได้พบปะพุดคุยกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น นักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเล และนักศึกษา ได้รู้จักเพื่อนมากมาย ในทุกพื้นที่เข้าจะได้สัมผัสถึงความกระตือรือร้นอย่างมากของผู้นำท้องถิ่นและประชาชนภาคใต้ต่อความปรารถนาในการสร้างความร่วมมือกับจีน”
นับตั้งแต่ก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่ประจ่าสงขลา เพื่อนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ได้ให้การสนับสนุนเรามากมายอย่างประเป็นค่ามิใต้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุลใหญ่จะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันหลายครั้งแต่มิตรภาพระหว่างเราไม่เคยเปลี่ยน และยังคงสัมผัสได้ถึงมิตรภาพอันลึกซึ้งที่ทุกท่านมอบให้เราเสมอมา
“ข้าพเจ้าขอใช้โอกาสนี้ เป็นของเจ้าหน้าที่ทุกคนของสถานกงสุลใหญ่ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจต่อประชาชนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ของประเทศไทยที่ห่วงใยและสนับสนุนการดำเนินงานของสถานกงสุลใหญ่มาโดยตลอดเมื่อย้อนมองความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของความร่วมร่วมมือจีน-ไทย”
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เรามีความมั่นใจเต็มเปี่ยมต่ออนาคตข้างหน้า จีนกำลังพัฒนา ความสัมพันธ์จีน-ไทยกำลังเผชิญกับโอกาสครั้งสาคัญในประวัติศาสตร์ ความร่วมมือระหว่างจีนกับภาคใต้ของไทยมีอนาคตที่สดใสนี้ถือเป็นวาระครบรอบ 75 ปีของการสถาปนาสาธารณรัฐปรจีน และเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปีหน้าจะเป็นวาระครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย บนจุดเริ่มต้นครั้งใหม่ทางประวัติศาสตร์นี้ สถานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลายินดีทำงานร่วมกับเพื่อนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ของไทย เพื่อดำเนินการตามฉันทามติที่สำคัญของผู้นำทั้งสองประเทศ และมุ่งมั่นที่จะเร่งสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีนไทยที่มีความมั่นคง รุ่งเรือง และยั่งยืนมากขึ้น
โปรดจับมือกันต่อไป ร่วมกันต่อสู้เพื่อส่งเสริมมิตรภาพอันดีระหว่างจีน-ไทย ส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างจีนและภาคใต้ของไทย