ศูนย์ข่าวภูเก็ต - คนภูเก็ตเกือบ 2 พันคน สวมใส่ชุดเพอรานากัน แสดงพลัง ร่วมเดินขบวพาเหรด เทศกาล "ภูเก็ตเพอรานากัน เฟสติวัล 2024" พร้อมโชว์ไฮไลต์ขบวนรำมหาชนเพอรานากัน ในรูปแบบ Flash Mob Culture สร้างประวัติอย่างยิ่งใหญ่ ยกระดับการจัดงาน ท้าชิงรางวัล Grand Pinnacle Awards - City Festival
ระหว่างวันที่ 22-23 มิ.ย. จังหวัดภูเก็ต โดย สมาคมเพอรานากัน ร่วมกับ อบจ.ภูเก็ต และสมาคม TIEFA จัดงาน Phuket Peranakan Festival 2024 จัดขึ้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต
โดยเมื่อช่วงเย็นวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้จัดให้มีขบวนพาเหรด จำนวน 20 ขบวน นำโดยนายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นางอัญชลี วานิช เทพบุตร อดีต ผู้ก่อตั้งสมาคมเพอรานากันประเทศไทย และ นายกสมาคมศิลปร่วมสมัยภูเก็จ นายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต นายบุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดงานมหกรรมและเทศกาลนานาชาติ และมีผู้เข้าร่วมขบวนกว่า 1,600 คน เข้าร่วมขบวนแห่ Phuket Peranakan
โดยไฮไลต์ของขบวนแห่ Phuket Peranakan ปีนี้คือ ขบวนรำมหาชนเพอรานากัน ในรูปแบบ Flash Mob Culture ณ สุดยอดสถานที่ไฮไลต์ของเมืองเก่าภูเก็ต ถ.พังงา กลางสี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ด และขบวนแห่หลากหลายวัฒนธรรมจากอีก 10 เมืองเพอรานากัน ในคาบสมุทรมลายู นำเสนอภายใต้แนวคิดความอุดมสมบูรณ์ (ABUNDANT) ของวิถีความเป็นอยู่ของชาวเพอรานากัน ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายของมรดกทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในเรื่อง City of Well-Being
เพื่อเป็นการสร้างยุทธศาสตร์แห่งความยั่งยืนทางด้านศิลปวัฒนธรรมของภูเก็ตเพอรานากัน โดยใช้ “เสี่ยหนา” ปิ่นโตกับข้าวประเพณีของชาวภูเก็ต และ “อ่องหลาย” สับปะรด ผลไม้ไหว้เจ้ามงคล และยังเป็นหนึ่งในผลไม้ชุมชนเชิงเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยมีการนำเสนอผ่านขบวนแห่ที่สร้างกิจกรรมแบบ 2 ways hands on ให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมงานกว่า 15,000 คน คาดมีรายได้สะพัด 300 ล้านบาท
และในวันที่ 21 และ 23 มิถุนายน 2567 จัด Workshop เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วมรากของกลุ่มชาติติพันธุ์เพอรานากันให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้ชมความสวยงาของวัฒนธรรมจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ร่วมกับชุมชนชาวเพอรานากันภูเก็ต และอีก 6 จังหวัดอันดามันและภาคใต้ และนำการแสดง Peranakan Street Perfomance Art จากนานาชาติแสดงให้ชม ณ แยกชาร์เตอร์ด และใจกลางหลาดใหญ่ เมืองเก่าภูเก็ต และมีการแสดงละคร “A road to our home Peranakan Theater Art” ที่บ้านซินหลอ ถนนดีบุก จังหวัดภูเก็ต เรียนรู้วิถีชีวิตชาวเพอรานากันภูเก็ตอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การจัดงานในครั้งนี้ได้ยกระดับให้ยิ่งใหญ่ขึ้น เพื่อนำเสนอตัวส่งชิงรางวัล Grand Pinnacle Awards - City Festival ในแขนง World Best Parade ของสมาพันธ์ผู้จัดงานเทศกาลและมหกรรมโลก (World IFEA) โดยมีการเตรียมแผนการจัดงานเทศกาลนี้ให้สอดคล้องตามแผนมาตรฐานระดับสากลทั้งระบบ logistics เมือง การปิดถนน สิ่งแวดล้อมและแผนชุมชมสัมพันธ์ พร้อมกับเนื้อหามรดกทางศิลปวัฒนธรรมและวัฏจักรของระบบทางเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (New Eco System) ซึ่งจะมีการประกาศผลอย่างป็นทางการไม่เกินปลายเดือน ส.ค.67
โดยการจัดงานดังกล่าวได้ยกระดับการจัดงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม เพื่อนำเสนอตัวส่งชิงรางวัล Grand Pinnacle Awards - City Festival ในแขนง World Best Parade ของสมาพันธ์ผู้จัดงานเทศกาลและมหกรรมโลก (World IFEA)
โดยมีการเตรียมแผนการจัดงานเทศกาลนี้ให้สอดคล้องตามแผนมาตรฐานระดับสากลทั้งระบบ logistics เมือง การปิดถนน สิ่งแวดล้อมและแผนชุมชมสัมพันธ์ พร้อมกับเนื้อหามรดกทางศิลปวัฒนธรรมและวัฏจักรของระบบทางเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (New Eco System) ซึ่งจะมีการประกาศผลอย่างป็นทางการไม่เกินปลายเดือน ส.ค.67