xs
xsm
sm
md
lg

กางสแลนทำหลังคากันความร้อน ป้องกันปะการังฟอกขาว เกาะง่ามน้อย ชุมพร พบ 80% ของพื้นที่ 20 ไร่ อยู่ในอาการฟอกขาว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ชุมพร - ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลชุมพร ร่วมกับกลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล มหาวิทยาลัยรามคำแหง เดินหน้ากางสแลนทำหลังคากันความร้อนป้องกันปะการังฟอกขาว พบมี 80% ในพื้นที่ 20 ไร่ ระดับความลึก 8-9 เมตร


นายมรกต โจวรรณถะ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 1 จังหวัดชุมพร เปิดเผยการสำรวจและการใช้สแลนป้องกันปะการังฟอกขาว โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่และกลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


โดยที่ผ่านมา ได้ดำเนินการสำรวจติดตามปะการังฟอกขาวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร สำรวจล่าสุดเมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา บริเวณพื้นที่ดำเนินการเกาะง่ามน้อย พบว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงสุดอยู่ที่ 32 องศาเซลเซียส ในระดับความลึก 8-9 เมตร ในพื้นที่แนวปะการัง 20 ไร่ พบว่าปะการังมีการแสดงอาการการฟอกขาว 80% ของพื้นที่


โดยมีลักษณะสีซีดจางและฟอกขาวบางส่วนประมาณ 60% ของพื้นที่ มีเพียง 20% ที่ฟอกขาวทั้งโคโลนีของบริเวณพื้นที่เกาะง่ามน้อย โดยในการดำเนินการประเมินในกลุ่มของปะการังที่พบที่มีการแสดงอาการ ได้แก่ ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ปะการังดอกเห็ด (Fungia spp.) ปะการังโขด (Porites spp.) และปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora spp.)


จากนั้นได้ดำเนินการปฏิบัติงานการทดลองใช้อุปกรณ์สแลนลดแสง “Shading” บริเวณหมู่เกาะชุมพร (เกาะง่ามน้อย) โดยการดำเนินการดังกล่าวได้ดำเนินการมาแล้วเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 โดยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 1 จังหวัดชุมพร ยังคงต้องมีการดำเนินการติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป




กำลังโหลดความคิดเห็น