คอลัมน์ : จุดคบไฟใต้ โดย...ไชยยงค์ มณีพิลึก
เข้าสู่ปลายเดือนมกราคม 2567 แล้ว สถานการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไม่นานมานี้มีเหตุซุ่มโจมตีทหารพรานและ ตชด.ที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ได้รับบาดเจ็บหลายนาย ขณะที่กองกำลังติดอาวุธฝ่ายบีอาร์เอ็นที่ลงมือหลบหนีกลับไปนั่งล้อมวงกินข้าวยำได้อย่างสบายๆ
ต่อด้วยชุด ตชด.เดินทางกลับจากการประชุมที่ บก.จว.นราธิวาส ถูกซุ่มโจมตีชุดในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ครั้งนี้ฝ่ายบีอาร์เอ็นมีการใช้อาวุธหนักด้วยคือ ปืนกลเอ็ม 60 ปลิดชีพนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรได้ 1 นาย และมีตำรวจชั้นประทวนบาดเจ็บ 2 นาย
เป็นที่สังเกตว่าหลังซุ่มโจมตีกองกำลังติดอาวุธบีอาร์เอ็นถอนตัวได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นไปตามหลักการสู้รบแบบกองโจร หรือหากจะเรียกว่าหมาลอบกัดก็ไม่น่าผิดความหมาย กล่าวคือ เมื่อ “เป้าหมายชัด โอกาสมี ทางหนีพร้อม” ก็จะลงมือปฏิบัติการทันที เพราะมั่นใจว่าหลบหนีได้อย่างลอยนวลแน่นอน
ตามด้วยการซุ่มยิง อส.ที่ อ.กระพ้อ จ.ปัตตานี ได้รับบาดเจ็บ นั่นเชื่อว่าเป็นฝีมือแนวร่วมบีอาร์เอ็นในพื้นที่ ซึ่งอาจเป็น “กลุ่มนักรบหน้าขาว” ที่แม้ถูกสั่งการให้ก่อกวนแบบไม่หวังผล แต่เห็นได้ชัดว่าเป้าหมายครบถ้วนทั้งทหาร ตำรวจ และ อส. เหลือเพียง ชรบ.ที่ยังรอดอยู่ได้
ก็ไม่ได้มี “นัย” อะไรที่จะชี้ว่าทำไม ตชด.จึงถูกซุ่มโจมตีในช่วงหลังปีใหม่ยังไม่ครบเดือนเลยถึง 2 ครั้ง แต่เชื่อว่าเป็นปฏิบัติการตามวงรอบของบีอาร์เอ็นที่ไม่มีการเลือกหน่วย เพียงแต่หน่วยไหนมีช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้ลงมือได้ก็จะถูกปฏิบัติการทันที
ความจริงการสู้รบด้วยอาวุธไม่ใช่จุดประสงค์หลักของการทำ “สงครามแบ่งแยกดินแดน” เพราะการแพ้-ชนะอยู่ที่ “มวลชน” ซึ่งหลายปีมานี้บีอาร์เอ็นเน้นหนักในเรื่อง “ปฏิวัติเยาวชน” และทำได้สำเร็จเสียด้วย จัดตั้งกลุ่มนักเคลื่อนไหวไว้ใต้ปีกทางการเมืองของบีอาร์เอ็นเองได้อย่างครบถ้วน
ที่สำคัญมีการเคลื่อนไหวทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง มีเวทีขับเคลื่อนงานการเมืองในพื้นที่อย่างเปิดเผย เช่น การจัดสัมมนาในรั้วสถาบันการศึกษา ตามร้านอาหารหรือในโรงแรม รวมถึงมี “เวทีชาวบ้าน” เพื่อนำเสนอสิ่งที่ปีกทางการเมืองบีอาร์เอ็นต้องการที่จะสื่อสารกับมวลชน ซึ่งเน้นที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ทั้งชาย-หญิง
การเข้าแทรกซึมในเวทีการเมืองจากระดับท้องถิ่น ไปจนถึงในคณะกรรมาธิการต่างๆ และในสภาผู้แทนราษฎร สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนงานการเมืองทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งถือเป็นการให้ข้อมูลแก่ “องค์กรชาติตะวันตก” และ “องค์การสหประชาชาติ” ด้านสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนไปในตัวด้วย
แน่นอน ข้อมูลที่ต้องการส่งไปนั้นมีทั้ง “จริงบ้าง” และ “เท็จบ้าง” หรือ “จริงเพียงครึ่งเดียว” แบบเอาดีใส่ตัว โยนชั่วให้เป็นของเจ้าหน้าที่รัฐบ้าง ซึ่งที่เป็นข่าวไปแล้วก็เช่น กลุ่มนักเคลื่อนไหวถูก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าแจ้งความเอาผิดคดีความมั่นคงกรณีจัดงานมลายูเดย์ เป็นต้น
แต่กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ถูก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจ้งความดำเนินคดีก็โต้ตอบว่า การที่พวกตนถูกเล่นงานเป็นผลจากรณรงค์ให้ผู้คนแต่งกายตามอัตลักษณ์ชาวมลายู สิ่งนี้ถือว่าไม่เป็นธรรม
เพราะแม้แต่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เขายังเข้าใจผิดว่าเป็นไปในทำนองเดียวกันกับที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวอ้าง
ที่ผ่านมา ทุกครั้งที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวถูกตำรวจเรียกไปสอบถาม สอบสวนหรือแจ้งข้อกล่าวหา พวกเขามักจะสื่อสารกับสังคมรอบข้างว่า ได้ไปชี้แจ้งกับ กอ.รมน.ภาค 4 แล้ว หลายครั้งก็อ้างไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และสุดท้ายจะเรียกร้องให้ถอนแจ้งความ
ในการทำ “ไอโอ” ของปีกทางการเมืองบีอาร์เอ็นก็จะออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้ มักชี้ว่ารัฐต้องไม่ใช้ศาลเตี้ย การอุ้มหายหรือซ้อมทรมาน แต่ที่น่าสังเกตคือทำไมพวกเขากลับปฏิเสธกฎหมายไทย หรือแสดงท่าทีไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมไทยมาตลอด
เห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการฯ ชุดของนายจาตุรนต์ ฉายแสง ที่นำคณะมาประชุมที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี เพื่อฟังความคิดเห็นจากกลุ่มคนในพื้นที่ รวมถึงร่วมหารือกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ศอ.บต. กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
เพราะจะได้ทราบข้อเท็จจริงว่าทำไมการจัดงานมลายูเดย์จึงผิดกฎหมายด้านความมั่นคง รวมถึงการถูกกลุ่มนักเคลื่อนไหวใต้ปีกทางการเมืองบีอาร์เอ็นนำไปขยายผลส่งสารให้องค์กรชาติตะวันตก องค์การสหประชาชาติ เพราะความจริงเท่านั้นที่จะทำให้สถานการณ์คลี่คลาย เกิดความสมานฉันท์ และมีปลายทางสู่การสร้างสันติสุข
มีบทสรุปจากคณะกรรมาธิการฯ ชุดดังกล่าวที่น่าสนใจคือ ที่ผ่านมาประชาชนมองว่ามาตรการดับไฟใต้ไม่มีความคืบหน้า ชาวพุทธอพยพออกจากพื้นที่จำนวนมาก คนในพื้นที่อยู่กันด้วยความหวาดระแวง และการช่วยเหลือการเยียวยาผู้ตกเป็นเหยื่อทำได้ไม่ทั่วถึง
ที่กล่าวมาล้วนเป็นเรื่องเก่าๆ เท็จบ้าง จริงบ้าง เพราะไม่มีปัญหาใดถูกแก้ไขได้สมบูรณ์ อยู่ที่มุมมองของใคร และใครเป็นคนพูด โดยกับเฉพาะคำว่า “ประชาชน” ที่กล่าวอ้างถึงนั้นคือใคร คือนักเคลื่อนไหวใต้ปีกทางการเมืองบีอาร์เอ็น เอ็นจีโอ นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการโลกสวย หรือคนส่วนใหญ่ในชายแดนใต้กันแน่
ที่สำคัญคณะกรรมมาธิการฯ เอ็นจีโอ ภาคประชาสังคม นักวิชาการโลกสวย ซึ่งไม่ได้อยู่ปีกการเมืองบีอาร์เอ็นก็จริง แต่กลับยังคงดำดิ่งอยู่กับเรื่องราวไฟใต้เดิมๆ และหยิบเอาแต่กระพี้ปัญหามาใช้ เช่น ให้ถอนทหาร ยกเลิกจุดตรวจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎหมายสามพี่น้อง ให้อิสระแก่การแสดงออก ขอพื้นที่ปลอดภัยขับเคลื่อนการเมือง เป็นต้น
แต่ไม่เคยมีใครกล่าวว่า กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะขุดรากถอนโคนขบวนการบีอาร์เอ็นอย่างไร ทำอย่างไรให้รัฐบาลมาเลเซียหยุดสนับสนุนบีอาร์เอ็น ทำอย่างไรให้ไฟใต้มอดดับถาวร เพราะความจริงแล้วใจกลางปัญหาไฟใต้คือ “บีอาร์เอ็น” ส่วนเรื่องการเรียกร้องให้ยกเลิกหรือหยุดนั่นโน่นนี่ล้วนมาจากฝ่ายบีอาร์เอ็นกำหนดทั้งสิ้น
อีกปัญหาที่ไม่มีการพูดถึงแม้แต่เวทีเดียวคือ อุบัติการณ์ใหม่ของไฟใต้ เช่น องค์กรต่างชาติอย่างเจนีวาคอลล์ ไอซีอาร์ซี สหรัฐอเมริกา หรือสหภาพยุโรป ที่เข้ามาแทรกแซง มีจุดประสงค์ใด หรือเห็นรัฐบาลไทยโง่เง่าจนบริหารจัดการไม่เป็น ซึ่งเรื่องเหล่านี้แม้แต่ยุทธศาสตร์ดับไฟใต้ของ สมช. ก็ไม่เคยกล่าวถึง
เรื่องราวเหล่านี้หากให้สรุปคงได้ว่า เวลานี้แม้ “รัฐบาลนิดหนึ่ง” เองก็กำลัง “งมโข่ง” ควานหาแต่เรื่องราวเก่าๆ ปัญหาเดิมๆ มาตั้งเป็นโจทย์เพื่อใช้วางเป็นมาตรการดับไฟใต้ใช่หรือไม่?!
เข้าสู่ปลายเดือนมกราคม 2567 แล้ว สถานการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไม่นานมานี้มีเหตุซุ่มโจมตีทหารพรานและ ตชด.ที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ได้รับบาดเจ็บหลายนาย ขณะที่กองกำลังติดอาวุธฝ่ายบีอาร์เอ็นที่ลงมือหลบหนีกลับไปนั่งล้อมวงกินข้าวยำได้อย่างสบายๆ
ต่อด้วยชุด ตชด.เดินทางกลับจากการประชุมที่ บก.จว.นราธิวาส ถูกซุ่มโจมตีชุดในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ครั้งนี้ฝ่ายบีอาร์เอ็นมีการใช้อาวุธหนักด้วยคือ ปืนกลเอ็ม 60 ปลิดชีพนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรได้ 1 นาย และมีตำรวจชั้นประทวนบาดเจ็บ 2 นาย
เป็นที่สังเกตว่าหลังซุ่มโจมตีกองกำลังติดอาวุธบีอาร์เอ็นถอนตัวได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นไปตามหลักการสู้รบแบบกองโจร หรือหากจะเรียกว่าหมาลอบกัดก็ไม่น่าผิดความหมาย กล่าวคือ เมื่อ “เป้าหมายชัด โอกาสมี ทางหนีพร้อม” ก็จะลงมือปฏิบัติการทันที เพราะมั่นใจว่าหลบหนีได้อย่างลอยนวลแน่นอน
ตามด้วยการซุ่มยิง อส.ที่ อ.กระพ้อ จ.ปัตตานี ได้รับบาดเจ็บ นั่นเชื่อว่าเป็นฝีมือแนวร่วมบีอาร์เอ็นในพื้นที่ ซึ่งอาจเป็น “กลุ่มนักรบหน้าขาว” ที่แม้ถูกสั่งการให้ก่อกวนแบบไม่หวังผล แต่เห็นได้ชัดว่าเป้าหมายครบถ้วนทั้งทหาร ตำรวจ และ อส. เหลือเพียง ชรบ.ที่ยังรอดอยู่ได้
ก็ไม่ได้มี “นัย” อะไรที่จะชี้ว่าทำไม ตชด.จึงถูกซุ่มโจมตีในช่วงหลังปีใหม่ยังไม่ครบเดือนเลยถึง 2 ครั้ง แต่เชื่อว่าเป็นปฏิบัติการตามวงรอบของบีอาร์เอ็นที่ไม่มีการเลือกหน่วย เพียงแต่หน่วยไหนมีช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้ลงมือได้ก็จะถูกปฏิบัติการทันที
ความจริงการสู้รบด้วยอาวุธไม่ใช่จุดประสงค์หลักของการทำ “สงครามแบ่งแยกดินแดน” เพราะการแพ้-ชนะอยู่ที่ “มวลชน” ซึ่งหลายปีมานี้บีอาร์เอ็นเน้นหนักในเรื่อง “ปฏิวัติเยาวชน” และทำได้สำเร็จเสียด้วย จัดตั้งกลุ่มนักเคลื่อนไหวไว้ใต้ปีกทางการเมืองของบีอาร์เอ็นเองได้อย่างครบถ้วน
ที่สำคัญมีการเคลื่อนไหวทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง มีเวทีขับเคลื่อนงานการเมืองในพื้นที่อย่างเปิดเผย เช่น การจัดสัมมนาในรั้วสถาบันการศึกษา ตามร้านอาหารหรือในโรงแรม รวมถึงมี “เวทีชาวบ้าน” เพื่อนำเสนอสิ่งที่ปีกทางการเมืองบีอาร์เอ็นต้องการที่จะสื่อสารกับมวลชน ซึ่งเน้นที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ทั้งชาย-หญิง
การเข้าแทรกซึมในเวทีการเมืองจากระดับท้องถิ่น ไปจนถึงในคณะกรรมาธิการต่างๆ และในสภาผู้แทนราษฎร สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนงานการเมืองทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งถือเป็นการให้ข้อมูลแก่ “องค์กรชาติตะวันตก” และ “องค์การสหประชาชาติ” ด้านสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนไปในตัวด้วย
แน่นอน ข้อมูลที่ต้องการส่งไปนั้นมีทั้ง “จริงบ้าง” และ “เท็จบ้าง” หรือ “จริงเพียงครึ่งเดียว” แบบเอาดีใส่ตัว โยนชั่วให้เป็นของเจ้าหน้าที่รัฐบ้าง ซึ่งที่เป็นข่าวไปแล้วก็เช่น กลุ่มนักเคลื่อนไหวถูก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าแจ้งความเอาผิดคดีความมั่นคงกรณีจัดงานมลายูเดย์ เป็นต้น
แต่กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ถูก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจ้งความดำเนินคดีก็โต้ตอบว่า การที่พวกตนถูกเล่นงานเป็นผลจากรณรงค์ให้ผู้คนแต่งกายตามอัตลักษณ์ชาวมลายู สิ่งนี้ถือว่าไม่เป็นธรรม
เพราะแม้แต่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เขายังเข้าใจผิดว่าเป็นไปในทำนองเดียวกันกับที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวอ้าง
ที่ผ่านมา ทุกครั้งที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวถูกตำรวจเรียกไปสอบถาม สอบสวนหรือแจ้งข้อกล่าวหา พวกเขามักจะสื่อสารกับสังคมรอบข้างว่า ได้ไปชี้แจ้งกับ กอ.รมน.ภาค 4 แล้ว หลายครั้งก็อ้างไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และสุดท้ายจะเรียกร้องให้ถอนแจ้งความ
ในการทำ “ไอโอ” ของปีกทางการเมืองบีอาร์เอ็นก็จะออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้ มักชี้ว่ารัฐต้องไม่ใช้ศาลเตี้ย การอุ้มหายหรือซ้อมทรมาน แต่ที่น่าสังเกตคือทำไมพวกเขากลับปฏิเสธกฎหมายไทย หรือแสดงท่าทีไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมไทยมาตลอด
เห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการฯ ชุดของนายจาตุรนต์ ฉายแสง ที่นำคณะมาประชุมที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี เพื่อฟังความคิดเห็นจากกลุ่มคนในพื้นที่ รวมถึงร่วมหารือกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ศอ.บต. กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
เพราะจะได้ทราบข้อเท็จจริงว่าทำไมการจัดงานมลายูเดย์จึงผิดกฎหมายด้านความมั่นคง รวมถึงการถูกกลุ่มนักเคลื่อนไหวใต้ปีกทางการเมืองบีอาร์เอ็นนำไปขยายผลส่งสารให้องค์กรชาติตะวันตก องค์การสหประชาชาติ เพราะความจริงเท่านั้นที่จะทำให้สถานการณ์คลี่คลาย เกิดความสมานฉันท์ และมีปลายทางสู่การสร้างสันติสุข
มีบทสรุปจากคณะกรรมาธิการฯ ชุดดังกล่าวที่น่าสนใจคือ ที่ผ่านมาประชาชนมองว่ามาตรการดับไฟใต้ไม่มีความคืบหน้า ชาวพุทธอพยพออกจากพื้นที่จำนวนมาก คนในพื้นที่อยู่กันด้วยความหวาดระแวง และการช่วยเหลือการเยียวยาผู้ตกเป็นเหยื่อทำได้ไม่ทั่วถึง
ที่กล่าวมาล้วนเป็นเรื่องเก่าๆ เท็จบ้าง จริงบ้าง เพราะไม่มีปัญหาใดถูกแก้ไขได้สมบูรณ์ อยู่ที่มุมมองของใคร และใครเป็นคนพูด โดยกับเฉพาะคำว่า “ประชาชน” ที่กล่าวอ้างถึงนั้นคือใคร คือนักเคลื่อนไหวใต้ปีกทางการเมืองบีอาร์เอ็น เอ็นจีโอ นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการโลกสวย หรือคนส่วนใหญ่ในชายแดนใต้กันแน่
ที่สำคัญคณะกรรมมาธิการฯ เอ็นจีโอ ภาคประชาสังคม นักวิชาการโลกสวย ซึ่งไม่ได้อยู่ปีกการเมืองบีอาร์เอ็นก็จริง แต่กลับยังคงดำดิ่งอยู่กับเรื่องราวไฟใต้เดิมๆ และหยิบเอาแต่กระพี้ปัญหามาใช้ เช่น ให้ถอนทหาร ยกเลิกจุดตรวจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎหมายสามพี่น้อง ให้อิสระแก่การแสดงออก ขอพื้นที่ปลอดภัยขับเคลื่อนการเมือง เป็นต้น
แต่ไม่เคยมีใครกล่าวว่า กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะขุดรากถอนโคนขบวนการบีอาร์เอ็นอย่างไร ทำอย่างไรให้รัฐบาลมาเลเซียหยุดสนับสนุนบีอาร์เอ็น ทำอย่างไรให้ไฟใต้มอดดับถาวร เพราะความจริงแล้วใจกลางปัญหาไฟใต้คือ “บีอาร์เอ็น” ส่วนเรื่องการเรียกร้องให้ยกเลิกหรือหยุดนั่นโน่นนี่ล้วนมาจากฝ่ายบีอาร์เอ็นกำหนดทั้งสิ้น
อีกปัญหาที่ไม่มีการพูดถึงแม้แต่เวทีเดียวคือ อุบัติการณ์ใหม่ของไฟใต้ เช่น องค์กรต่างชาติอย่างเจนีวาคอลล์ ไอซีอาร์ซี สหรัฐอเมริกา หรือสหภาพยุโรป ที่เข้ามาแทรกแซง มีจุดประสงค์ใด หรือเห็นรัฐบาลไทยโง่เง่าจนบริหารจัดการไม่เป็น ซึ่งเรื่องเหล่านี้แม้แต่ยุทธศาสตร์ดับไฟใต้ของ สมช. ก็ไม่เคยกล่าวถึง
เรื่องราวเหล่านี้หากให้สรุปคงได้ว่า เวลานี้แม้ “รัฐบาลนิดหนึ่ง” เองก็กำลัง “งมโข่ง” ควานหาแต่เรื่องราวเก่าๆ ปัญหาเดิมๆ มาตั้งเป็นโจทย์เพื่อใช้วางเป็นมาตรการดับไฟใต้ใช่หรือไม่?!