xs
xsm
sm
md
lg

แปลก! พระอุโบสถอายุกว่า 300 ปี เล็กที่สุดในประเทศไทย ลูกนิมิตไม่เหมือนใคร ที่ “วัดคูหาภิมุข” อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พังงา - สุดแปลก! พบพระอุโบสถอายุกว่า 300 ปี ตั้งอยู่ใต้ต้นมะขามภายใน “วัดคูหาภิมุข” หรือวัดควนถ้ำ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เป็นพระอุโบสถที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย และลูกนิมิตไม่เหมือนใคร


วันนี้ (7 ธ.ค.) จะพาทุกคนไปท่องเที่ยวและชมความแปลกไม่เหมือนใคร ที่วัดคูหาภิมุข หรือวัดควนถ้ำ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งเป็นวัดโบราณที่มีอายุกว่า 300 ปี และสิ่งสำคัญภายในวัด คือ อุโบสถที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ใต้ต้นมะขาม คือ พระอุโบสถของวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2513 โดยนางฮวดบี ซึ่งมีอักขระจารึกอยู่ด้านหลัง ภายในมีพระพุทธรูปหินแกะสลักเป็นภาพนูนต่ำ ส่วนใบเสมาโดยรอบทำเป็นรูปพระพุทธรูปปางต่างๆ นอกจากนี้ บริเวณด้านหน้าวัดจะมีรูปปั้นฤๅษีโบราณตั้งอยู่ โดยอุโบสถนี้สามารถทำพิธีกรรมทางศาสนาได้


นอกจากนี้ ที่ด้านซ้ายมือเป็นอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งภายในได้จัดวางลูกนิมิต จำนวน 8 ลูก ที่เคยขุดเจอลูกนิมิตในช่วงที่บูรณะวัดใหม่ แต่ลูกนิมิตที่นี้ไม่กลมจะเป็นวงรี ส่วนฝาผนังมีการวาดรูปเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอำเภอตะกั่วป่าที่เคยรุ่งเรืองในสมัยการทำแร่ดีบุก ประสมกับภาพวาดการ์ตูนที่เขากับยุคสมัยปัจจุบันเพื่อดึงดูดความประทับใจจากในอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวัดสำคัญสำหรับชาวบ้าน อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา


เพราะอำเภอตะกั่วป่า ในอดีตนั้นคือเมือง “ตะโกลา” เป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองท่าริมชายฝั่งอันดามัน และชุมชนการค้าที่มีความคึกคักเป็นอย่างยิ่งในยุคการทำเหมืองแร่ แม้ตะกั่วป่าจะผ่านยุคแห่งความรุ่งเรืองมานานแล้ว แต่ยังคงไว้ด้วยมนต์เสน่ห์ของอดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมสไตล์ชิโนโปรตุกีส วัฒนธรรมการแต่งกาย อาหารการกิน และวิถีชีวิตของชุมชนอันเรียบง่าย ที่รวมกันเป็น Green Community ให้นักท่องเที่ยวสายกรีนได้ไปเรียนรู้การใช้ชีวิตคนท้องถิ่น


สำหรับการท่องเที่ยวมีหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่หมายถึง การเที่ยวเพื่อศึกษาหาความรู้ในพื้นที่หรือในบริเวณที่มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ มีการบอกเล่าเรื่องราวของสังคมผ่านองค์ความรู้ต่างๆ และสามารถถ่ายทอดให้เราได้เห็นคุณค่าของประวัติ ความเป็นมา การดำเนินชีวิต หรือสภาพแวดล้อมของผู้คนในแต่ละยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นแง่เศรษฐกิจ สังคม หรือขนบธรรมเนียมประเพณี










กำลังโหลดความคิดเห็น