xs
xsm
sm
md
lg

พะยูนแหวกว่ายกลางสายน้ำ เปิดงาน “มาแต่ตรัง” ชวนเดินย้อนรอยสายคลอง “คลองห้วยยาง”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ตรัง - สีสัน แสง สี เสียง พะยูนแหวกว่ายกลางสายน้ำ เปิดงาน “มาแต่ตรัง” ชวนเดินย้อนรอยสายคลอง “คลองห้วยยาง” สร้างสรรค์จินตนาการไปกับ “เถตรัง” ชมวิกหนังคืนชีพที่ “เพชรรามาวาไรตี้”

ที่มูลนิธิกุศลสถานตรังถนนพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง นายทรงกลด สว่างวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานเปิดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่าอันดามัน “มาแต่ตรัง“ ภายใต้โครงการยกระดับและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวคุณภาพสูงฝั่งอันดามัน (Premium Tourism Andaman) มุ่งสร้างโอกาสและกระตุ้นเศรษฐกิจย่านเมืองเก่าตรัง ไฮไลต์พิธีเปิดการแสดงมโนราห์ประยุกต์ร่วมสมัย โดย ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงโนรา ประจำปี 2564 แสดงร่วมกับศิลปินท้องถิ่นตรังคณะกุญแจซอล สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตเมืองเก่าตรัง โดยใช้การส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือและเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่เมืองเก่าตรัง โดยใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรม (Soft Power) ตลอดจนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากในเขตเมืองเก่าตรัง โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งกิจกรรมภายในงานได้รับความสนใจจากแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชน และในระดับภูมิภาคลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ชมกิจกรรมเด่นของงานที่จัดขึ้นทั้ง 5 วัน เริ่มด้วยการโชว์เทคนิคพิเศษ Mapping พร้อมแสง สี เสียง พะยูนแหวกว่ายกลางสายน้ำ และการแสดงมโนราห์ จากนั้นได้นำสื่อมวลชนและแขกผู้มีเกียรติทัวร์เส้นทางไฮไลต์ของงานโดยเริ่มตั้งแต่โซน 1 ไปจนถึงโซน 4


งานมาแต่ตรังในครั้งนี้ ได้รวมกลุ่มนักสร้างสรรค์มาร่วมจัดกิจกรรมหลากหลายตลอดทั้ง 5 วัน เช่น กลุ่มหัว - Boarn (หัวบอน) นักคิดสร้างสรรค์ในตรังรับหน้าที่จัดกิจกรรม “ลองเล่น ลองทํา ลองเถ เมืองประชา-ชน คนช่างเถ” อยู่ที่ตึกตรังชาตะ โดยเน้นให้ผู้เข้าชมงานมีส่วนร่วมและสนุกไปกับการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 รวมไปถึงจัดพื้นที่ฝั่งตรงข้ามเป็นลานตลาดนัดครีเอทีฟเรียกว่า “เถเพลย์ครีเอทีฟมาร์เก็ต” รวมผู้ค้าในจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นสงขลา นครศรีธรรมราช ยะลา และปัตตานี มาร่วมแสดงผลงานศิลปะขายอาหารท้องถิ่นให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมอย่างสนุกสนาน

กิจกรรมอื่นๆ มีการจัดแสดงแสงสี (Mapping) และเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ คริสตจักรตรัง มูลนิธิกุศลสถาน และริมคลองห้วยยาง โดยกิจกรรมไฮไลต์ที่ประชาชนสนใจจำนวนมาก ได้แก่ โซนจัดงาน “เพชรรามาวาไรตี้” ที่นิทรรศการภาพถ่ายโรงหนัง (Exhibition) และกิจกรรมย้อนรอยโรงหนังตรัง หรือวิกหนังตรัง ที่เคยรุ่งเรืองในอดีต ของกลุ่มนักสร้างสรรค์ Backyard Cinematic ที่จัดแสดงอยู่ที่โรงหนังเพชรรามา หรือวิกเพชร โรงหนังสแตนด์อะโลน ที่ยังมีโครงสร้างครบถ้วน ที่สุดท้ายในจังหวัดตรัง ซึ่งจะมีการเล่าถึงความหยิบยกทั้งการฉายหนังเก่า หนังนอกกระแสที่หาชมได้ยาก และนิทรรศการภาพถ่ายจากโรงหนังสแตนด์อะโลนที่ปิดตัวลงในตรัง 9 แห่ง “ซากโรงหนังหลังเลนส์” โดยจิระพงษ์ วงศ์วิวัฒน์ ช่างภาพชาวตรังผู้ออกเดินทางไกลกว่าหมื่นกิโลเมตร เพื่อบันทึกภาพซากโรงหนังเก่า 200+ โรงทั่วประเทศพร้อมการเสวนาแขกพิเศษร่วมเสวนาคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ชาวตรัง นักแปลบทภาพยนตร์ ที่ปรึกษาหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ประธานกลุ่มสห+ภาพ ชุมชนคนถ่ายภาพ ร่วมเสวนาความหลังเรื่องวิกหนังเมืองตรัง กิจกรรมศิลปะภาพวาดเชิงสาธิต “เขียนป้ายเล่าเรืองเมืองวิกหนัง” กิจกรรมหัดพากย์หนัง กิจกรรมเสวนาคนทำหนังที่จะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังในหลากหลายมุมมองเฟื่องฟูของยุคสมัยที่โรงหนังสแตนด์อะโลนยังเป็นที่นิยมมาก โดยมีการประดับตกแต่งโรงหนังที่ถูกทิ้งร้าง ให้เสมือนฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ท่ามกลางประชาชนเข้าเยี่ยมชมและถ่ายภาพเซลฟี่รำลึกความทรงจำเป็นจำนวนมาก


ส่วนอีกกลุ่มที่จัดแสดงงานได้อย่างสร้างสรรค์คือกลุ่ม Urban Seeker จัดกิจกรรมศิลปะจัดวาง Installation Art โดยได้เสนอแนวคิดจากการนำผักบุ้ง ตัวแทนพืชผักริมคลองในอดีต ซึ่งชุมชนริมคลองในสมัยก่อนนิยมเลี้ยงหมูชาวบ้านได้นำผักบุ้งและหมูมาผสมกันเกิดเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งเรียก “หัวหมูผักบุ้ง” ซึ่งมีเฉพาะที่ตรังเท่านั้น มาจัดแสดงเป็นงานศิลปะที่น่าชมบริเวณริมคลองยังเปิดเป็นพื้นที่พักผ่อน ณ สวนหย่อมริมคลองห้วยยาง (Pocket park) สำหรับนั่งชิลชมงานได้อย่างเพลิดเพลิน

สำหรับงาน “มาแต่ตรัง…” ในครั้งนี้เกิดได้ขึ้นจากความร่วมมือของหลากภาคส่วน ชุมชนและผู้คนเมืองตรัง เทศบาลนครตรังเจ้าของพื้นที่ต่างมีความตื่นตัวเป็นอย่างมาก และคาดว่าจะทำให้เกิดเครือข่ายกลุ่มนักสร้างสรรค์และและกลไกการทำงานร่วมกัน เกิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของตรัง มีพื้นที่นั่งเล่นสร้างสรรค์กลางเมืองเก่าทับเที่ยง ได้บันทึกเรื่องราว รากเหง้าทางวัฒนธรรมของสินทรัพย์ในพื้นที่เมืองตรัง ช่วยสนับสนุนธุรกิจในย่านเมืองเก่าให้มีรายได้เพิ่มขึ้นระหว่างเทศกาล เกิดการต่อยอดธุรกิจใหม่ และมีการรับรู้กิจกรรมการ ท่องเที่ยวเมืองเก่าตรังในวงกว้างอีกต่อไปในอนาคต ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปชมบรรยากาศเทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ “มาแต่ตรัง” Creative tourism festival และติดตามกิจกรรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในจังหวัดตรังได้ที่เพจ facebook.com/TrangRenown


นายทรงกรด สว่างวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่เมืองเก่าตรัง โดยใช้กิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและกระตุ้นเศรษฐกิจในเขตเมืองเก่าตรัง เป็นหมุดหมายสำคัญในการขับเคลื่อนย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในเครือข่ายย่านสร้างสรรค์ประเทศไทย (TCDN) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและสร้างประสบการณ์ใหม่คนตรังและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เศรษฐกิจสร้างสรรค์และสอดคล้องกับเทรนด์การท่องเที่ยวของประเทศผ่านกรอบแนวคิด

ด้าน น.ส.เพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ผอ.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง หน่วยงานหลักในการจัดงาน เปิดเผยว่า “มาแต่ตรัง” มีจุดเริ่มต้นจากสำนวนโบราณของคนตรัง ที่มักพูดกันว่า “มาแต่ตรัง ไม่หนังก็โนราห์” ซึ่งเป็นสำนวนที่สื่อให้เห็นว่าเมืองตรังเป็นแหล่งศิลปะการแสดงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมโนราห์ หรือหนังตะลุง นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่าเมืองตรังเป็นเมืองแห่งศิลปิน ตัวคนตรังเป็นคนมีปฏิภาณไหวพริบ มีความเป็นศิลปิน การจัดงานนี้จะเป็นการเปิด เวทีให้ศิลปิน นักสร้างสรรค์ รวมถึงผู้ประกอบการต่างๆ ได้มานำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมถึงสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในจังหวัดตรังด้วย








กำลังโหลดความคิดเห็น