xs
xsm
sm
md
lg

ข้อท้าทายของปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย : ภารกิจและบทบาทของกระทรวงยุติธรรม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โดย.. พ ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

การค้ามนุษย์เป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่มีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างมหันต์ ในปัจจุบันได้กระทำในลักษณะองค์กรอาชญากรรมและเป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคลอย่างไม่จำกัด เช่น นำบุคคลไปค้าประเวณีในและส่งไปค้านอกราชอาณาจักร บังคับใช้และค้าแรงงานหรือบริการ บังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า การมุ่งหาประประโยชน์จากมนุษย์แม้แต่เด็กและสตรีที่เป็นอาชญากรอันตรายร้ายแรงต่อประเทศและประชาคมโลก การค้ามนุษย์มีการประเมินว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดอันดับสองของรายได้ที่ผิดกฎหมายทั่วโลก เป็นที่สองรองเพียงการค้ายาเสพติด ดังนั้นจึงมีความท้าทายในการแก้ปัญหา คือ

ประการแรก ต่อสู้การค้ามนุษย์จึงเป็นปัญหาที่มีความความท้าทาย ประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อเนื่องถึงปี พ.ศ.2562 เพื่อจะให้เป็นเครื่องมือในการต่อสู่กับขบวนการค้ามนุษย์ แต่สถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2566 ที่เป็นปัจจุบันนั้น พบว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เผยแพร่ว่ารัฐบาลไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างครบถ้วนในการขจัดการค้ามนุษย์ และได้จัดระดับประเทศไทยจึงยังคงอยู่ในระดับ 2 หรือ Tier 2 จากทั้งหมดจำนวน 188 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ โดยแบ่งเป็น 4 อันดับ หรือ Tier ซึ่งประเทศที่อยู่ใน Tier 1 มี 30 ประเทศ Tier 2 มี 105 ประเทศ Tier 2 WL มี 26 ประเทศ และ Tier 3 มี 24 ประเทศ

ขบวนการค้ามนุษย์ประเทศไทยเป็นทั้ง ต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของการค้ามนุษย์ที่การต่อสู้กับขบวนการค้ามนุษย์ไทยได้ยกระดับเป็นวาระแห่งชาติและวาระของประชาคมโลก

สิ่งที่รัฐบาล กระทรวงยุติธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด และผู้เกี่ยวข้องต้องเร่งในการสืบสวน ฟ้องร้องการดำเนินคดี และเร่งรัดคดี ให้เห็นผลว่าการตัดสินลงโทษคดีค้ามนุษย์ให้มากขึ้น ต้องมีกระบวนการรับแจ้งเบาะแสและสอบสวนเจ้าหน้าที่รัฐถูกกล่าวหาว่าเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง มีการระบุตัวผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในจำนวนนวนมากขึ้น การใช้กลไกการส่งต่อระดับชาติ (National Referral Machanism : NRM) คือการรับแจ้งเหตุ การคัดกรอง การคัดแยก และการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามกลไกการส่งต่อระดับชาติเพื่อรวมขจัดและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์

รวมทั้งการช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูเหยื่อที่ถูกค้ามนุษย์ ที่มีการเยียวยาทางร่างกายจิตใจและจิตวิญญาณ เพื่อให้กลับคืนมาจึงเป็นเรื่องท้าทายและเป็นปัญหา ต้องยึดหลักการผู้เสียหายเป็นศูนย์กลางและการคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจ โดยรวมถึงในระหว่างการสัมภาษณ์ผู้เสียหายของทีมสหวิชาชีพและการตรวจแรงงาน

ประการที่สอง เป้าหมายในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ของไทย ต้องยกระดับให้ประเทศไทยประเทศที่อยู่ใน Tier 1 จึงเป็นเป้าหมายที่ท้าทายในการแก้ปัญหาอีกประเด็น เพราะประเทศโดยรอบที่มีชายแดนติดกับไทย ได้แก่ พม่า และกัมพูชา อยู่ในอันดับ Tier 3 ประเทศมาเลเซีย อยู่ในลำดับ Tier 2 WL มีประเทศลาวเท่านั้นที่อยู่ในลำดับ Tier 2 เช่นเดียวกับประเทศไทย การยกระดับมาตรฐานการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ให้ประเทศไทยประเทศที่อยู่ใน Tier 1 จึงเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งที่เป็นโอกาสและสิ่งท้ายของกระทรวงยุติธรรมและภาคีเครือข่ายต่อต้านการค้ามนุษย์

ประการที่สาม รัฐบาลปัจจุบันมุ่งมั่นจะฟื้นฟูหลักนิติธรรม หรือ Rule of Law ที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ เป็นความท้าทายในการแก้ปัญหาอีกประเด็นหนึ่ง ปัจจุบันผลคะแนนดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรมของ World Justice Project Rule of Law Index (WJP) สำหรับประเทศไทยในปี 2566 ประเทศไทยคะแนนเต็ม 1 คะแนน ได้คะแนนเพียง 0.49 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 82 ของประเทศทั้งหมด 142 ประเทศ ที่ประเทศไทยต้องแก้ไขคือ ต้องแก้ไขการคอร์รัปชัน กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และความโปร่งใสของรัฐบาล ที่ได้คะแนนน้อยมากน้อยกว่า 0.49 เสียอีก โดยเฉพาะการทุจริตและการมีส่วนเกี่ยวข้องของเจ้าหน้าที่รัฐยังคงขัดขวางความพยายามในการปราบปรามการค้ามนุษย์

ประการที่สี่ การค้ามนุษย์เป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ที่เป็นปัญหาความท้าท้ายที่ไม่สามารถแก้ปัญหาเพียงประเทศใดประเทศหนึ่งได้แม้จะมีการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพ และมีกฎหมายที่ดี ดังนั้น ความร่วมมือกับประเทศสมาชิกจึงมีความสำคัญ สิ่งท้าทายคือยกระดับความร่วมมือในการปฏิบัติการขจัดการค้ามนุษย์และอาชญากรรมข้ามชาติ ต้องมีแนวนโยบายในการติดตามเงินในคดีค้ามนุษย์เนื่องจากเงินคือเป้าหมายหลักของอาชญากรรมที่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรค้ามนุษย์ 

การติดตามเงิน การใช้กฎหมายฟอกเงิน ภาษีอากร และการยึดทรัพย์สินจากการค้ามนุษย์จึงมีความสำคัญที่ประเทศไทยและประเทศภาคีนานาชาติต้องใช้เป็นเครื่องมือขจัดการค้ามนุษย์


กำลังโหลดความคิดเห็น