xs
xsm
sm
md
lg

ใต้มหาสมุทรมีความสวยงามเสมอ “ทช. พาสำรวจแนวปะการังสวยๆ ที่หมู่เกาะยาว”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ใต้มหาสมุทรมีความสวยงามเสมอ “ทช. พาสำรวจแนวปะการังสวยๆ ที่หมู่เกาะยาว” จ.พังงา เฝ้าระวังแนวปะการังฟอกขาว พบยังมีความสมบูรณ์


ศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน สำรวจติดตามระบบนิเวศแนวปะการังหมู่เกาะยาว จ.พังงา ผลการสำรวจไม่พบการเกิดปะการังฟอกขาว อุณหภูมิน้ำทะเลวัดได้ 29 องศาเซลเซียส แนวปะการังมีสภาพสมบูรณ์ปานกลาง-สมบูรณ์ดี ปะการังที่พบโดยทั่วไป เช่น ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ปะการังดาวเล็ก (Cyphastrea spp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) ปะการังดาวช่องเหลี่ยม (Leptastrea spp.) ปะการังกาแล็คซี่ (Galaxea fascicularis) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) 


ส่วนการลงเกาะของตัวอ่อนปะการังที่พบส่วนใหญ่ เช่น ปะการังเคลือบหิน (Podabacia spp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora spp.) ขณะที่โรคปะการังที่พบส่วนใหญ่ ยังคงพบโรคจุดขาว และโรคเนื้องอกสีชมพูในปะการังโขด (Porites spp.) มีการทับถมของตะกอนค่อนข้างสูง รวมถึงการปกคลุมเห็ดทะเล (corallimorph) อีกทั้งยังมีรอยกัดกินและการเจาะไชของสัตว์น้ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคได้


ปลาที่พบส่วนใหญ่ เช่น ปลาสลิดหินเล็กหางเหลือง (Neopomacentrus sororius) ปลาสลิดหินเล็กเกล็ดวาว (Neopomacentrus anabatoides) ปลานกขุนทองเกล็ดด่าง (Halichoeres nigrescens) ปลาอมไข่ลายทแยง (Taeniamia fucata) ปลากระดี่ทะเลครีบทอง (Pempheris schwenkii) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่พบ เช่น กุ้งผี (Kemponia tenuipes) ฟองน้ำครก (Xestospongia testudinaria) หอยปากแบน (Pinctada margaritifera) และทากทะเลชนิดต่างๆ ขยะในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่เป็นขยะตกค้างจากการทำประมง เช่น เศษอวน เชือก เหล็ก และสายเส้นเอ็นตกปลา


กำลังโหลดความคิดเห็น