xs
xsm
sm
md
lg

วอนรัฐแก้ปัญหาเครื่องมือประมงขวางร่องน้ำท่าเรือส่งออกยางพาราใน จ.สงขลา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - วิกฤตโควิด-19 ราคาน้ำมันดีเซลพุ่ง "4 ผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่ยางพาราภาคใต้ตอนล่าง" ประสานกระทรวงพาณิชย์ สภาผู้ออกสินค้าทางเรือ ใช้ท่าเรือเซาท์เธิร์สโลจิสติกส์ จ.สงขลา เป็นทางเลือกรองรับเรือเทียบท่าขนถ่ายสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศแทนท่าเรือสงขลาและท่าเรือปีนัง แต่ติดปัญหาเครื่องมือประมงกีดขวางร่องน้ำ วอนรัฐช่วยเหลือ

วันนี้ (21 พ.ย.) นายวรนนท์ อังชยกุล ตัวแทนผู้ประกอบการส่งออก เปิดเผยว่า จากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้การส่งออกและนำเข้าประสบปัญหาจากการที่ท่าเรือต้องปิด ขาดแคลนแรงงาน ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ทำให้สินค้าค้างในเรือบรรทุกสินค้า ต้นทุนการส่งออกสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าเช่าตู้คอเทนเนอร์เพิ่มสูงขึ้น จากเดิมตู้ละ 200,000 บาท เพิ่มเป็น 700,000 บาท

“ที่สำคัญต้องเสียเวลาจะลำเลียงเข้าประเทศไทย ทำให้การส่งออกสินค้าต้องล่าช้าไปด้วย ผู้ประกอบการจึงได้หารือกับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิฏฐ์ รัฐมนตว่าการกระทรวงพาณิชย์ สภาผู้ส่งสินค้าออกทางทะเลแห่งประเทศไทยและผู้ประกอบการ เพื่อหาทางช่วยเหลือ ได้ข้อสรุปว่าในการแก้ปัญหา ให้ใช้กล่องเหล็กบรรจุสินค้ายางพาราแทนตู้คอเทนเนอร์ เมื่อถ่ายสินค้าแล้วพับส่งกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งราคาถูกกว่าตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 40-50 %" นายวรนนท์ กล่าว


นายวรนนท์ กล่าวว่า พื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมีท่าเรือน้ำลึกสงขลา แต่ไม่สะดวก ผู้ประกอบการส่งออกยางพารารายใหญ่ 4 รายภาคใต้ ประกอบด้วยบริษัทศรีตรัง เต็กบีห้าง เซาท์แลนด์ และบริดจสโตน จึงมีมติใช้ท่าเรือเชาท์เธิร์นโลจสติกส์ (2009) จำกัด จ.สงขลา ซึ่งมีศักยภาพที่รองรับเรือขนถ่ายสินค้าประเภทยางพาราส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศได้ดีแห่งหนึ่ง และรองรับการส่งออกยางพาราได้เดือนละ 2 ครั้ง ร่องน้ำลึกเรือเข้า-ออกสะดวก ซึ่งผลดีที่จะเกิดขึ้นในท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม กระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมได้มากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่ม ยางพาราไหลออกจากตลาดเร็วขึ้น จะช่วยดึงราคายางดิบของเกษตรกรเพิ่มเหมาะสมในยุคราคาน้ำมันแพง แทนท่าเรือปีนัง ประเทศมาเลเซีย ลดต้นทุนการขนส่งแล้วลดเวลาการขนส่งแล้ว มีความสะดวกหลายเท่า

ด้านนายอภิชา ธรรมชาติ ผู้จัดการทั่วไปท่าเรือเซาท์เธิร์น โลจิสติกส์ (2009) จำกัด เปิดเผยว่า ท่าเรือเซาท์เธิร์นฯ มีศักยภาพในการรองรับการขนถ่ายสินค้าลงเรือเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศ แต่มีปัญหาคือมีเครื่องมือประมงโพงพางในร่องน้ำกีดขวาง ทำให้เรือเดินมหาสมุทรและเรือเฟอรี่ที่เชื่อมเศรษฐกิจ 2 ภาคเข้าออกลำบาก ดังนั้นเพื่อให้ทั้ง 2 อาชีพอยู่ร่วมกันได้ จึงขอให้ภาครัฐเป็นตัวกลางลงมาหาข้อยุติปัญหาแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น จะทำให้ปัญหาจบด้วยดี ผลดีจะเกิดกับเศรษฐกิจของ จ.สงขลาและภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา






กำลังโหลดความคิดเห็น