ตรัง - มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง จับมือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเลสำหรับโรงเรียนชายฝั่ง ซึ่งมีผลการจัดการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์ดีมาก น่าพึงพอใจ และนำไปใช้ในกระบวนการสอนได้
วันนี้ (1 ก.พ.) ผศ.ดร.ประเสริฐ ทองหนูนุ้ย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.) วิทยาเขตตรัง เป็นประธานในการมอบเกียรติบัตรโครงการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเล สำหรับโรงเรียนชายฝั่งในจังหวัดตรัง ให้แก่คณะผู้ดำเนินโครงการ นำโดย รศ.ดร.ณัฐฑิตา โรจนประศาสน์ หัวหน้าโครงการ และคณะทำงาน
วิทยากรรับเชิญ นางกมลวรรณ สุวรรณ์ ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 ดร.วรกร สุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวิเชียรมาตุ 3 นายประยม แก้วจุลศรี นางจรรยา ใส้เพี้ย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ผู้อำนวยการ และครู 8 โรงเรียนชายฝั่งในจังหวัดตรัง ได้แก่ โรงเรียนบ้านเกาะลิบง โรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ โรงเรียนบ้านเกาะมุกด์ โรงเรียนบ้านมดตะนอย โรงเรียนบ้านน้ำราบ โรงเรียนบ้านหาดยาว และโรงเรียนบ้านพระม่วง ลงนามโดย นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
สำหรับโครงการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเล ภายใต้แผนงานอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเลนั้น เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)
ทั้งนี้ ก่อนที่จะเข้าสู่การมอบเกียรติบัตรนั้น รศ.ดร.ณัฐฑิตา โรจนประศาสน์ ได้นำเสนอสรุปผลการจัดการเรียนรู้ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก เป็นที่น่าพึงพอใจ และสามารถนำไปใช้ในกระบวนการสอนได้ เพื่อสร้างความตระหนักของครูผู้สอนถึงความจำเป็นที่ต้องจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเล โดยเชื่อมโยงประเด็นกับตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลาง รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรท้องถิ่น สามารถถอดบทเรียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้อย่างมีคุณภาพ บรรลุมาตรฐานและตัวชี้วัดหน่วยบูรณการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำเสนอผลงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นวิธีปฏิบัติที่ดี
หลังจากนั้น ครูที่เข้ารับการอบรมจาก 8 โรงเรียนชายฝั่งในจังหวัดตรัง ได้นำเสนอจากการสอนและนิเทศน์การสอนผ่านป้ายนิทรรศการ เพื่อสรุปรายงานการจัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นหน่วยบูรณาการอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเล ตั้งแต่กระบวนการที่ 1 จนนำสู่กระบวนการสอนในชั้นเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และร่วมโหวตผลงานที่เป็นตัวอย่างที่ดี หรือสะท้อนแนวคิดถึงผลการจัดการเรียนรู้เพื่อการต่อยอด ซึ่งผลการโหวต ได้แก่ นางอตินุช บุญนวล ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านควนตุ้งกู