พัทลุง - เกษตรกรรวมตัวบุกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพัทลุงทวงสิทธิ หลังเจ้าหน้าที่และตัวแทนกินเงินเดือนแย่งพื้นที่อากาศหายใจ แต่ไม่เคยทำอะไรให้เกษตร
วันนี้ (15 ธ.ค.) ที่หน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพัทลุง กลุ่มเกษตรกรกว่า 100 คน ได้เดินทางมายื่นโครงการขอใช้สิทธิตามกองทุนฟื้นฟู เพื่อบริหารปัญหาและจัดการปัญหาโดยตัวเอง ซึ่งก่อนหน้านี้ กลุ่มเกษตรในจังหวัดพัทลุงหลายกลุ่มเคยเดินทางมายื่นหนังสือ และยื่นโครงการเพื่อจัดการปัญหาหนี้สินเกษตรกร แต่ทางหัวหน้ากองทุนฟื้นฟูเลี่ยงไม่เคยมารับแผนการฟื้นฟูของเกษตรในจังหวัดพัทลุง ทำให้ไม่เกษตรไม่สามารถเข้าถึง และจัดการปัญหาหนี้สินด้วยตัวเองได้ โดยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ด้าน นายประภาษ แสงศรี ตัวแทนกลุ่มพัฒนาสามัคคี กล่าวว่า กองทุนฟื้นฟู เริ่มตั้งมาตั้งแต่ปี 2542 มีงบประในการให้เกษตรเข้าถึงเหล่งทุน แต่จากวันนั้นจนถึงวันนี้เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงและจัดการปัญหาหนี้สินตัวเอง เจ้าหน้าที่และตัวแทนเกษตรกรที่บริหารกองทุนฟื้นฟูกินเงินเดือน แย่งอากาศหายใจ แต่ไม่เคยทำอะไรให้เกษตร จึงได้ออกมารวมตัวเรียกร้องเพื่อที่จะให้เกษตรกรได้จัดการปัญหาตัวเองตามสิทธิที่สมควรได้รับ
สำหรับ พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 วัตถุประสงค์กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 มาตรา 5 ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาเกษตรกร ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร เพื่อพัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร
มีภารกิจ 1.ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรและพัฒนากลุ่มเกษตรกรเกษตรกร และ 2.การแก้ไขปัญหาหนี้และการจัดการหนี้ของเกษตรกร
ตามมาตรา 31 องค์กรเกษตรกรมีสิทธิขอรับการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้ทำแผนงานหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรยื่นต่อสำสักงานหรือสำนักงานสาขาที่เป็นที่ตั้งขององค์กรเกษตรกร
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรยังไม่อาจดำเนินการให้ครอบคลุมหนี้ของเกษตรกรบางกรณี จึงทำให้เกษตรกรบางส่วนยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้ เนื่องจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไม่อาจรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้
ประกอบกับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกร รวมถึงการกำหนดที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และสาขาของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่กำหนด ในกฎหมายขาดความยืดหยุ่น และทำให้เกิดอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ ของพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 เพื่อให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สามารถรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรที่มีบุคคลค้ำประกันได้
และกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจ กำหนดที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ได้ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล และกำหนดที่ตั้งของสาขา ณ ที่ใดก็ได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้