ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เปิดรายงานงบประมาณประจำปีแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแเนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2547-2563 รวมทั้งสิ้น 313,792.4 ล้านบาท
วันนี้ (8 ก.ค.) 16 ปีปัญหาไฟใต้ได้มีการใช้งบประมาณในการแก้ไขปัญหาไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 313,792.4 ล้านบาท สรุปได้ดังนี้ ปี 2547 - 13,450 ล้านบาท, ปี 2548 - 13,674 ล้านบาท, ปี 2549 - 14,207 ล้านบาท, ปี 2550 - 17,526 ล้านบาท, ปี 2551 - 22,988 ล้านบาท, ปี 2552 - 27,547 ล้านบาท, ปี 2553 - 16,507 ล้านบาท, ปี 2554 - 19,102 ล้านบาท, ปี 2555 - 16,277 ล้านบาท, ปี 2556 - 21,124 ล้านบาท, ปี 2557 - 25,921 ล้านบาท, ปี 2558 - 25,744.3 ล้านบาท, ปี 2559 - 30,886.6 ล้านบาท, ปี 2560 - 12,692 ล้านบาท, ปี 2561 - 13,255.7 ล้านบาท, ปี 2562 - 12,025.3 ล้านบาท (เฉพาะงบแผนงานบูรณาการฯ) และ ปี 2563 - 10,865.5 ล้านบาท (เฉพาะงบแผนงานบูรณาการฯ)
สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการ โดยแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีทั้งหมด 10,641,910,300 บาท กระทรวงกลาโหม รวม 1,560,466,200 บาท คือ กองทัพบก 769,277,100 บาท, กองทัพเรือ 716,923,700 บาท, กองทัพอากาศ 8,950,200 บาท, กองบัญชาการกองทัพไทย 65,315,200 บาท, สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ 85,100,200 บาท, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 2,099,492,400 บาท และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1,331,942,900 บาท
งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 5,299,591,200 บาท โดยแบ่งให้แก่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 206,115,500 บาท กระทรวงกลาโหม รวม 319,665,200 บาท แบ่งเป็นสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 2,788,200 บาท กองทัพบก 213,860,000 บาท กองทัพเรือ 47,671,300 บาท กองทัพอากาศ 19,752,300 บาท กองบัญชาการกองทัพไทย 35,593,400 บาท
งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แบ่งให้กองทัพเรือ 734,803,100 บาท งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ แบ่งให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 15,158,000 บาท งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว แบ่งให้กองทัพอากาศ 29,645,800 บาท
ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ทั้งสิ้น 3 แผนงาน งบประมาณ 2,092.9025 ล้านบาท (งบประมาณตาม พ.ร.บ.เดิมจำนวน 2,080.0699 ล้านบาท และขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในแผนบุคลากรภาครัฐ จำนวน 12.8326 ล้านบาท) ประกอบด้วย 1.แผนบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 86.4793 ล้านบาท 2.แผนพื้นฐานด้านความมั่นคง งบประมาณ 302.4811 ล้านบาท และ 3.แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณ 1,703.9421 ล้านบาท
มีรายการทั้งสิ้น จำนวน 31 รายการ ประกอบด้วย แนวทางด้านความมั่นคง จำนวน 1 รายการ งบประมาณ 39.8204 ล้านบาท, แนวทางด้านการพัฒนา จำนวน 19 รายการ งบประมาณ 1,160.8865 ล้านบาท, แนวทางด้านการสร้างความเข้าใจ จำนวน 11 รายการ งบประมาณ 503.2532 ล้านบาท
โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 งบประมาณของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 2,092.9025 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายในภาพรวม จำนวน 1,929.9492 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 92.21 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 66.6636 ล้านบาท งบประมาณที่ไม่ได้เบิกจ่าย (เงินตก) จำนวน 96.2898 ล้านบาท
ทั้งนี้ ศอ.บต.มีรายการที่ได้โอนเปลี่ยนงบประมาณโดยใช้อำนาจของหน้าส่วนราชการ จำนวน 115.4781 ล้านบาท โดยโอนเป็นงบอุดหนุน จำนวน 97.6411 ล้านบาท และโอนเป็นงบลงทุน จำนวน 17.8370 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้
แนวทางด้านการพัฒนา มีวงเงินที่โอนเปลี่ยนแปลงจากงบรายจ่ายอื่น เป็นงบอุดหนุน จำนวน 60.9993 ล้านบาท และเป็นงบลงทุน จำนวน 17.8370 ล้านบาท แนวทางด้านการสร้างความเข้าใจ มีวงเงินที่โอนเปลี่ยนแปลงจากงบรายจ่ายอื่นเป็นงบอุดหนุน จำนวน 36.6417 ล้านบาท
เจ้าหน้าที่รายเดิม กล่าวอีกว่า แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการเสริมอาชีพสร้างอาชีและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน งบอุดหนุน 69,310.675 โอนเปลี่ยนจากโครงการส่งเสริมเศรษฐ์กิจ 5,500,000 บาท จากฐานรากเป็นกิจกรรม 1.เสริมสร้างภาพลักษณ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1,500,000 บาท และ 2.เป็นกิจกรรมส่งเสริมอาชีพไร้รอยต่อ 4,000,000 บาท
โครงการส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านกีฬาและนันทนาการ 3,790,430 บาท เป็นกิจกรรม 1.พัฒนาวัดจินดาพลารามและฟื้นฟูชุมชนรอบวัด 2,789,500 บาท 2.กิจกรรมยกย่องพระเถระผู้ควรกระทำอัญชลี 800,930 บาท 3.กิจกรรมสืบสานอนุรักษ์ศิลปะการแสดงมโนราห์ 100,000 บาท 4.กิจกรรมการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านยาเสพติด 100,000 บาท
โครงการพัฒนาชุมชนโดยรอบอุทยาแห่งชาติบูโด- สุไหงปาดี 2,500,000 บาท เป็นกิจกรรม เสริมอาชีพ กิจกรรมละ 0.1 ล้านบาท โครงการพัฒนาสังคมผู้ด้อยโอกาสและสาธารณะสุขเชิงรุก 3,059,595 บาท เป็นกิจกรรมพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนสู่การประกอบอาชีพเกษตรที่มีรายได้น้อย 1,459,700 บาท โครงการพัฒนาศูนย์เด็กกำพร้าต้นแบบนำร่องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 1599895 บาท
จากโครงการส่งศักยภาพการท่องเที่ยวสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ 5,520,100 บาท เป็นกิจกรรมฟื้นฟูพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ชุมชนท่องเที่ยวหมู่บ้านจีนฮากกา 1,356,400 บาท กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนตำบลอัยเยอร์เวงอำเภอเบตง 4,163,700 บาท
โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา 2,212,050 บาท เป็นกิจกรรมขยายผลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 60 แห่ง กิจกรรมยกระดับทักษะอาชีพเยาวชนโรงเรียนพระดาบสจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2,212,050 บาท โครงการขยายผลพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชนแข็มเข้ง มั่นคั่ง ยั่งยืน 16,000,000 บาท เป็นกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ 16,000,000 บาท
โครงการส่งเสริมการผลิตและธุรกิจฮาลาล 4,950,000 บาท เป็นกิจกรรมจัดแสดงสินค้า 4,950,000 บาท กิจกรรมส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน การปลูกไผ่เศษรฐกิจ แห่งอนาคตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 23,968,000 บาท โครงการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจรากฐานการค้า และการลงทุน 14,004,443 บาท โครงการบริหารจัดการขับเคลื่อนเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคั่ง มั่งคง ยั่งยืน 7,076,991 บาท โครงการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวสามเหลี่ยมเศรษฐกิจมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 2,886,566 บาท โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต มานิ โอรังอัสลี จังหวัดชายแดนภาคใต้ 1,810,500 บาท
โครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดี 37,641746 บาท งบอุดหนุน โครงการสนับสนุนขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5,390,900 บาท เป็นกิจกรรมสร้างพื้นที่สันติสุขขนาดเล็ก (จัดสรรงบประมาณบางส่วนเติมเต็มการพัฒนา 9แห่ง) 1,997,208 บาท กิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางพระพุทธศาสนา (บูรณะซ่อมแซมศาลาอเนกประสงค์วัดนพวงศ์ศาราม) 98,000 บาท กิจกรรมประเพณีชักพระครั้งที่ 70 และมหกรรมสินค้าชุมชนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อำเภอโคกโพธิ์ 500,000 บาท กิจกรรมสร้างพื้นที่สันติสุข ขนาดเล็ก ขยายผลพื้นที่นำร่องพัฒนาพื้นที่ความต้องการการของชุมชน 2,071,840 บาท กิจกรรมพื้นที่สันติสุขขนาดเล็กของกลุ่มอาชีพเยาวชนบ้านกูแบบาเดาะตำบลตะบิ้งอำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี 311,790 บาท
โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างความเข็มแข็งกับเครือข่ายภาคประชาสังคม องค์กรเอกชน และภาคประชาชน 10,272,000 บาท เป็นกิจกรรมสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อพัฒนามิติด้านเด็กและสตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 10,272,000 บาท ยอดส่วนนี้ให้แก่องค์กรเดียวทั้งที่มีอีกหลายร้อยองค์กรในพื้นที่ จึงเกิดปัญหาซึ่งจริงๆ ควรมีการตรวจสอบงบนี้ และงบอุดหนุนทั้งหมดอย่างจริงจังจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง
โครงการสนับสนุนผู้ร่วมสร้างสันติสุขในระดับอำเภอ 1,948,050 บาท เป็นกิจกรรมฝึกอบรมเพื่อสร้างอาชีพให้แก่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบ1,948,050 บาท โครงการค่ายกีฬาเสริมสร้างความเข้าใจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 1,513,552 บาท เป็นกิจกรรมเสริมทักษะเปตอง 513,552 บาท กิจกรรมจัดแข่งขันกีฬาปัญจักสีลัต 1,000,000 บาท โครงการบริหารจัดการขับเคลื่อนปฏิบัติการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 9,472,284 บาท เป็นกิจกรรมเวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน 1970 หมู่บ้าน 9,472,284 บาท ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือเยียวยาสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 9,044,960 บาท เป็นกิจกรรมบูรณาการพัฒนาระบบบริหารการเยียวยา 9,044,960 บาท ซึ่งงบอุดหนุนทั้งหมด ควรให้ประชาชนเป็นผู้กำหนด แต่ที่ผ่านมา ทาง ศอ.บต.ได้ดำเนินการโดยที่ชาวบ้านไม่ได้ยอมรับหรือเห็นด้วย หลายโครงการทำโดยเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่พรรคพวกคล้ายๆมวลชนของตนเอง
เจ้าหน้าที่ระดับสูงอีกราย กล่าวว่า งบประมาณส่วนไหนควรแก้ไข และควรเพิ่มไปเรื่องอะไรหรือจุดไหน แนวทางจัดทำใหม่ควรปรับปรุง อะไร นั้นขอตอบว่า กมธ.วิสามัญ มีทั้งสิ้น 72 คน มีหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนฯ รับหลักการแล้ว กมธ.วิสามัญจะพิจารณาวาระที่ 2 ซึ่งร่าง พ.ร.บ.นี้มีทั้งหมด จำนวน 40 มาตรา ตั้งแต่ชื่อ พ.ร.บ. และมาตราสุดท้าย (40) เป็นงบรายจ่ายสำหรับแผนงานบริหารหนี้ภาครัฐ
กมธ.เป็นตัวแทนมาจากรัฐบาลที่มี ผอ.สำนักงบประมาณอยู่ด้วย พรรคการเมืองฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน คือทำหน้าที่แทน ส.ส. ทั้ง 500 คน และให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของเงินงบประมาณ กมธ.ทุกท่านเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ซึ่งยังไม่เริ่มประชุม คงจะต้องรอให้มีการประชุม และมีตัวแทน กมธ. หรือโฆษก กมธ.ได้ชี้แจงจะเหมาะกว่า
ความเห็นส่วนตัวอยากให้การพิจารณายึดกฎหมาย เปิดเผยให้ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนรวม เบื้องต้น สำนักงบประมาณและรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลก่อนจะถึงวันพิจารณาประมาณ 3-5 วันเป็นอย่างน้อย และต้องมีข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณในปี 63 ของหน่วนงานรัฐว่าใช้ไปเท่าไร ยังเหลือจริงเท่าไร เพราะตาม พ.ร.บ. วิธีงบประมาณต้องเบิกจ่ายภายในปีงบประมาณ คือสิ้น 30 กันยายน 2563 ซึ่งเหลือเวลาอีกประมาณไม่ถึง 3 เดือน หากใช้ไม่ทันงบประมาณจะต้องคืนให้เป็นเงินแผ่นดิน