โดย..ศูนย์ข่าวหาดใหญ่

ถือเป็นชัยชนะอย่างงดงามในยกแรก เมื่อกรมโยธาธิการและผังเมืองยอมถอย ประกาศหยุดการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณหาดม่วงงาม ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา ระยะทาง 710 เมตร งบประมาณ 87 ล้านบาท เป็นการชั่วคราว เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 5 มิ.ย.
หลังจากได้เริ่มตอกเสาเข็มในโครงการนี้ไปเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากชาวบ้านส่วนหนึ่ง ตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยให้เหตุผลว่า การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นดังกล่าวจะสร้างความเสียหายให้มากกว่าประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างที่ตั้งชื่อไว้ แต่กรมโยธาธิการและผังเมืองก็ไม่นำพาต่อเสียงคัดค้าน ยังคงเดินหน้าโครงการต่อไป เสาเข็มต้นแล้วต้นเล่าถูกตอกลงหาดม่วงงามอย่างต่อเนื่อง
ชาวบ้านจึงต้องออกมารวมตัวกันเพื่อแสดงให้เห็นว่า พวกเขาไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว ทั้งชุมนุมประท้วงในพื้นที่ การยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีแล้วปักหลักนอนรอคำตอบอยู่หน้าศาลากลาง แต่เมื่อรอคอยอยู่ถึง 5 วัน 4 คืน เช้าวันที่ 5 มิ.ย. พวกเขาก็ยื่นคำขาดว่า หากไม่ได้รับคำตอบจะเดินทางไปหยุดโครงการนี้ด้วยตัวเอง!
บ่ายวันเดียวกันนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงฟังเสียง ประสานมายัง ผวจ.สงขลาเพื่อแจ้งให้โยธาธิการและผังเมือง จ.สงขลา ให้หยุดการก่อสร้างเป็นการชั่วคราว หลังรับทราบข่าวดีนี้ ชาวบ้านนับร้อยที่รอคอยคำตอบด้านหน้าศาลากลาง ต่างส่งเสียงแสดงความดีใจต่อชัยชนะในยกแรกของพวกเขา นับเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ชาวบ้านตัดสินใจลุกขึ้นมาปกป้องชายหาดจากโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นในลักษณะนี้ และน่าจะจุดประกายให้พื้นที่อื่นๆ ได้เล็งเห็นเป็นตัวอย่าง และลุกขึ้นตั้งคำถามกับหน่วยงานของรัฐ ที่ดำเนินโครงการในลักษณะเดียวกันนี้ว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร!

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ตัวแทนประชาชนชาวม่วงงาม จำนวน 5 คนได้ยื่นฟ้องคดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ต่อศาลปกครองสงขลา เพื่อขอให้ยุติการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมชายหาดม่วงงาม ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา โดยมีผู้สนับสนุนการฟ้องคดีครั้งนี้ จำนวน 541 คน โดยผู้ฟ้องคดีมีความเห็นว่า โครงการนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเชิงเนื้อหาและเชิงกระบวนการ
ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในเชิงเนื้อหา เนื่องจากโครงการดังกล่าวทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างแท้จริงไม่ได้ และเป็นโครงการที่ไม่จำเป็นต้องกระทำ อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแล้ว โครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์ของชุมชนยิ่งกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ และขัดต่อหลักความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วน
ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในเชิงกระบวนการ คือ (1) การดำเนินการโครงการนั้นมีความบกพร่องในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน และไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจดำเนินโครงการอย่างเพียงพอ และรอบด้าน
(2) โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล เข้าข่ายต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือจัดทำรายงานการศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามกฎหมาย เนื่องจากโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งหรือกำแพงกันคลื่นนั้น มีลักษณะเป็นการสร้างโครงสร้างแข็งยื่นลงไปในทะเลที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทะเล ชายหาด และส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในด้านน้ำของโครงการ
“จากบทเรียนในประเทศและต่างประเทศพบว่า การดำเนินการโครงการดังกล่าวนั้นได้ทำให้พื้นที่ชายหาดด้านหน้ากำแพงกันคลื่นหายไป เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในด้านท้ายน้ำ เป็นเหตุให้ต้องก่อสร้างกำแพงกันคลื่นต่อไปเรื่อยๆ ถึงแม้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมได้ถอดถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องจัดทำ EIA แต่เนื่องจากในทางกฎหมายนั้น การดำเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักพึงระวังไว้ก่อน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยต้องทำการศึกษาผลกระทบอย่างรอบคอบรอบด้าน ดังนั้น การดำเนินโครงการดังกล่าวจะต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA”
(3) โครงการดังกล่าวมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องในการขออนุญาตหรืออนุมัติตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนการดำเนินโครงการ อันได้แก่ การขออนุญาตเจ้าท่า เพื่อดำเนินการก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ และ การขออนุญาตเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน

ผู้ฟ้องคดี ยังเห็นว่า การดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลหมู่ที่ 7 ตำบลม่วงงาม และโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7, 8 และ 9 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (ระยะที่ 2) หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะทำให้ชายฝั่งทะเลม่วงงามเกิดการเปลี่ยนแปลง พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะหายไป เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในด้านเหนือของโครงการ ซึ่งจะทำให้ประชาชนม่วงงามและพื้นที่ใกล้เคียงที่เคยอาศัยใช้ประโยชน์หาดทรายในการนันทนาการ การประมงริมชายฝั่ง ไม่สามารถที่จะดำเนินตามวิถีชีวิตอันเป็นปกติได้
“มิหนำซ้ำการดำเนินโครงการดังกล่าวนี้จะเป็นการซ้ำเติมเพิ่มปัญหาทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายหาดใกล้เคียง ซึ่งในประเด็นนี้เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 ในการออกมาปกป้องชายหาดม่วงงาม”
ผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 และประชาชนผู้สนับสนุนการฟ้องคดี 541 คน จึงนำคดีมาสู่ศาลปกครอง โดยขอศาลได้โปรดพิจารณาพิพากษา ว่า (1) โครงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และโครงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7, 8, 9 ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา (ระยะที่ 2) ของกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นโครงการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้ยกเลิกการดำเนินโครงการดังกล่าวทั้งหมด
(2) ขอให้เพิกถอนการอนุญาตที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เข้าดำเนินการโครงการบนพื้นที่ชายหาด ในบริเวณหมู่ที่ 7, 8 และ 9 ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา และ (3) ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกัน รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามโครงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7 ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ออกจากบริเวณชายหาดม่วงงามทั้งหมด และให้ปรับสภาพพื้นที่ให้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยงบประมาณของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง

หลังจากนั้นไม่นาน กรมโยธาธิการและผังเมือง โดยนางจินตนา อุดมพลานุรักษ ผอ.กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการนี้เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ว่า (1) เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2560 เทศบาลเมืองม่วงงามได้ทำหนังสือขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง เนื่องด้วยบริเวณชายหาดม่วงงาม หมู่ที่ 7-9 ตำบลม่วงงาม ได้รับผลกระทบจากเหตุคลื่นกัดเซาะชายฝั่งเป็นประจำทุกปี สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการเป็นจำนวนมาก
(2) จากรายงานฐานข้อมูลการกัดเซาะชายฝั่งรายจังหวัด 23 จังหวัด กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2558 พบว่า พื้นที่หมู่ 7 ตำบลม่วงงาม จัดเป็นพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งระดับพื้นที่เร่งด่วน และจากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ระหว่างปี 2545-2561 โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่า บริเวณชายฝั่งโครงการ หมู่ที่ 7-9 ตำบลม่วงงาม มีอัตราการกัดเซาะอยู่ในช่วง 0.56-1.49 เมตรต่อปี หรือกัดเซาะเข้ามาในแผ่นดินแล้วประมาณ 9-24 เมตร
“ในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราการกัดเซาะไม่รุนแรง อยู่ในช่วงกัดเซาะน้อยถึงกัดเซาะปานกลาง แต่เนื่องจากมีแนวถนนเลียบชายหาด ซึ่งใช้เป็นเส้นทางสัญจรของชุมชน ปัจจุบันแนวชายหาดถูกกัดเซาะขยับเข้าประชิดแนวถนนเลียบชายหาด บางช่วงกัดเซาะถึงแนวถนนแล้ว ซึ่งอาจไม่ปลอดภัยต่อการสัญจร หากไม่เร่งดำเนินการป้องกันและแก้ไขจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน”
(3) ก่อนการดำเนินโครงการในระยะศึกษาออกแบบ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการ โดยผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการ ดังนี้ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (ระยะที่ 1) มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ ร้อยละ 78 และเห็นด้วยแต่มีข้อวิตกกังวลร้อยละ 11.8 และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ ร้อยละ 92.7
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7-9 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (ระยะที่ 2) มีการการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ ร้อยละ 75.5 และเห็นด้วยแต่มีข้อวิตกกังวลร้อยละ 14.4 และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ ร้อยละ 84

จากนั้น กลุ่มประชาชนชาวม่วงงามที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าวยังได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณายกเลิกโครงการนี้แล้วถึง 2 ครั้ง ล่าสุดคือเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. โดยหลังจากยื่นหนังสือผ่านทาง ผวจ.สงขลาแล้ว พวกเขาก็ประกาศปักหลักนอนค้างอยู่ที่ด้านหน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา จนกว่าจะได้รับคำตอบ โดยนายอภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ประสานงาน Beach for life ระบุว่า หลังจากที่ตัวแทนชาวบ้านได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสงขลา ศาลฯ ได้สั่งให้กรมโยธาธิการและผังเมืองส่งข้อมูลมาให้ภายใน 15 วัน แต่ไม่ได้สั่งให้หยุดการก่อสร้าง ซึ่งในระหว่างนี้พบว่า ผู้รับเหมาได้เร่งการก่อสร้าง
ด้านนายวิโรจน์ สนตอน แกนนำชาวม่วงงาม กล่าวว่า ประเด็นหลักคือคนในชุมชนไม่รู้เรื่องเยอะ อยากให้การตัดสินใจเรื่องนี้ ให้พวกเราได้เลือกได้กำหนดเอง หากเห็นด้วยเยอะกว่าว่าต้องการให้ทำ เราก็ยอมรับการตัดสินใจ ระหว่างนี้ อยากให้รอคำสั่งศาลปกครอง และอยากให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตอนนี้ทุกคนกังวลว่า หากตอกเสาเข็มเพิ่มจะสร้างความเสียหายให้หาดม่วงงามมากขึ้น
สถานการณ์ต่อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร ศาลปกครองจะมีคำพิพากษาอย่างไรนั้น ก็ยังไม่มีใครทราบหรือก้าวล่วงได้ ส่วนการก่อสร้างแม้จะยุติเป็นการชั่วคราว แต่ก็เป็นไปได้ว่า อาจจะกลับมาดำเนินการต่อในวันข้างหน้า แต่อย่างน้อยๆ วันนี้ได้เห็นแล้วว่า ชาวบ้านจำนวนไม่น้อย ไม่ยอมอยู่เฉย มองหาดทรายของพวกเขา ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือหาดทรายของคนไทยทั้งประเทศกำลังเลือนหายไป
พวกเขาได้ลุกขึ้นทักท้วง แสดงความเห็นต่างไปจากหน่วยงานของรัฐ และชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่รัฐกำลังทำ ไม่ได้มีประโยชน์อย่างที่กล่าวอ้าง แต่กลับสร้างความเสียหายแบบไม่รู้จบสิ้น ประหนึ่งเป็น “โรคระบาดของกำแพงกันคลื่น” ที่เมื่อเริ่มแล้ว ก็จะลุกลามไปเรื่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก!
และวันนี้ พวกเขาได้รับชัยชนะที่งดงามในยกแรกของการต่อสู้แล้ว
ถือเป็นชัยชนะอย่างงดงามในยกแรก เมื่อกรมโยธาธิการและผังเมืองยอมถอย ประกาศหยุดการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณหาดม่วงงาม ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา ระยะทาง 710 เมตร งบประมาณ 87 ล้านบาท เป็นการชั่วคราว เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 5 มิ.ย.
หลังจากได้เริ่มตอกเสาเข็มในโครงการนี้ไปเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากชาวบ้านส่วนหนึ่ง ตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยให้เหตุผลว่า การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นดังกล่าวจะสร้างความเสียหายให้มากกว่าประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างที่ตั้งชื่อไว้ แต่กรมโยธาธิการและผังเมืองก็ไม่นำพาต่อเสียงคัดค้าน ยังคงเดินหน้าโครงการต่อไป เสาเข็มต้นแล้วต้นเล่าถูกตอกลงหาดม่วงงามอย่างต่อเนื่อง
ชาวบ้านจึงต้องออกมารวมตัวกันเพื่อแสดงให้เห็นว่า พวกเขาไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว ทั้งชุมนุมประท้วงในพื้นที่ การยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีแล้วปักหลักนอนรอคำตอบอยู่หน้าศาลากลาง แต่เมื่อรอคอยอยู่ถึง 5 วัน 4 คืน เช้าวันที่ 5 มิ.ย. พวกเขาก็ยื่นคำขาดว่า หากไม่ได้รับคำตอบจะเดินทางไปหยุดโครงการนี้ด้วยตัวเอง!
บ่ายวันเดียวกันนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงฟังเสียง ประสานมายัง ผวจ.สงขลาเพื่อแจ้งให้โยธาธิการและผังเมือง จ.สงขลา ให้หยุดการก่อสร้างเป็นการชั่วคราว หลังรับทราบข่าวดีนี้ ชาวบ้านนับร้อยที่รอคอยคำตอบด้านหน้าศาลากลาง ต่างส่งเสียงแสดงความดีใจต่อชัยชนะในยกแรกของพวกเขา นับเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ชาวบ้านตัดสินใจลุกขึ้นมาปกป้องชายหาดจากโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นในลักษณะนี้ และน่าจะจุดประกายให้พื้นที่อื่นๆ ได้เล็งเห็นเป็นตัวอย่าง และลุกขึ้นตั้งคำถามกับหน่วยงานของรัฐ ที่ดำเนินโครงการในลักษณะเดียวกันนี้ว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร!
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ตัวแทนประชาชนชาวม่วงงาม จำนวน 5 คนได้ยื่นฟ้องคดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ต่อศาลปกครองสงขลา เพื่อขอให้ยุติการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมชายหาดม่วงงาม ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา โดยมีผู้สนับสนุนการฟ้องคดีครั้งนี้ จำนวน 541 คน โดยผู้ฟ้องคดีมีความเห็นว่า โครงการนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเชิงเนื้อหาและเชิงกระบวนการ
ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในเชิงเนื้อหา เนื่องจากโครงการดังกล่าวทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างแท้จริงไม่ได้ และเป็นโครงการที่ไม่จำเป็นต้องกระทำ อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแล้ว โครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์ของชุมชนยิ่งกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ และขัดต่อหลักความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วน
ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในเชิงกระบวนการ คือ (1) การดำเนินการโครงการนั้นมีความบกพร่องในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน และไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจดำเนินโครงการอย่างเพียงพอ และรอบด้าน
(2) โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล เข้าข่ายต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือจัดทำรายงานการศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามกฎหมาย เนื่องจากโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งหรือกำแพงกันคลื่นนั้น มีลักษณะเป็นการสร้างโครงสร้างแข็งยื่นลงไปในทะเลที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทะเล ชายหาด และส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในด้านน้ำของโครงการ
“จากบทเรียนในประเทศและต่างประเทศพบว่า การดำเนินการโครงการดังกล่าวนั้นได้ทำให้พื้นที่ชายหาดด้านหน้ากำแพงกันคลื่นหายไป เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในด้านท้ายน้ำ เป็นเหตุให้ต้องก่อสร้างกำแพงกันคลื่นต่อไปเรื่อยๆ ถึงแม้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมได้ถอดถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องจัดทำ EIA แต่เนื่องจากในทางกฎหมายนั้น การดำเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักพึงระวังไว้ก่อน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยต้องทำการศึกษาผลกระทบอย่างรอบคอบรอบด้าน ดังนั้น การดำเนินโครงการดังกล่าวจะต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA”
(3) โครงการดังกล่าวมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องในการขออนุญาตหรืออนุมัติตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนการดำเนินโครงการ อันได้แก่ การขออนุญาตเจ้าท่า เพื่อดำเนินการก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ และ การขออนุญาตเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน
ผู้ฟ้องคดี ยังเห็นว่า การดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลหมู่ที่ 7 ตำบลม่วงงาม และโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7, 8 และ 9 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (ระยะที่ 2) หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะทำให้ชายฝั่งทะเลม่วงงามเกิดการเปลี่ยนแปลง พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะหายไป เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในด้านเหนือของโครงการ ซึ่งจะทำให้ประชาชนม่วงงามและพื้นที่ใกล้เคียงที่เคยอาศัยใช้ประโยชน์หาดทรายในการนันทนาการ การประมงริมชายฝั่ง ไม่สามารถที่จะดำเนินตามวิถีชีวิตอันเป็นปกติได้
“มิหนำซ้ำการดำเนินโครงการดังกล่าวนี้จะเป็นการซ้ำเติมเพิ่มปัญหาทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายหาดใกล้เคียง ซึ่งในประเด็นนี้เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 ในการออกมาปกป้องชายหาดม่วงงาม”
ผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 และประชาชนผู้สนับสนุนการฟ้องคดี 541 คน จึงนำคดีมาสู่ศาลปกครอง โดยขอศาลได้โปรดพิจารณาพิพากษา ว่า (1) โครงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และโครงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7, 8, 9 ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา (ระยะที่ 2) ของกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นโครงการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้ยกเลิกการดำเนินโครงการดังกล่าวทั้งหมด
(2) ขอให้เพิกถอนการอนุญาตที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เข้าดำเนินการโครงการบนพื้นที่ชายหาด ในบริเวณหมู่ที่ 7, 8 และ 9 ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา และ (3) ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกัน รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามโครงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7 ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ออกจากบริเวณชายหาดม่วงงามทั้งหมด และให้ปรับสภาพพื้นที่ให้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยงบประมาณของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง
หลังจากนั้นไม่นาน กรมโยธาธิการและผังเมือง โดยนางจินตนา อุดมพลานุรักษ ผอ.กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการนี้เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ว่า (1) เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2560 เทศบาลเมืองม่วงงามได้ทำหนังสือขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง เนื่องด้วยบริเวณชายหาดม่วงงาม หมู่ที่ 7-9 ตำบลม่วงงาม ได้รับผลกระทบจากเหตุคลื่นกัดเซาะชายฝั่งเป็นประจำทุกปี สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการเป็นจำนวนมาก
(2) จากรายงานฐานข้อมูลการกัดเซาะชายฝั่งรายจังหวัด 23 จังหวัด กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2558 พบว่า พื้นที่หมู่ 7 ตำบลม่วงงาม จัดเป็นพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งระดับพื้นที่เร่งด่วน และจากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ระหว่างปี 2545-2561 โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่า บริเวณชายฝั่งโครงการ หมู่ที่ 7-9 ตำบลม่วงงาม มีอัตราการกัดเซาะอยู่ในช่วง 0.56-1.49 เมตรต่อปี หรือกัดเซาะเข้ามาในแผ่นดินแล้วประมาณ 9-24 เมตร
“ในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราการกัดเซาะไม่รุนแรง อยู่ในช่วงกัดเซาะน้อยถึงกัดเซาะปานกลาง แต่เนื่องจากมีแนวถนนเลียบชายหาด ซึ่งใช้เป็นเส้นทางสัญจรของชุมชน ปัจจุบันแนวชายหาดถูกกัดเซาะขยับเข้าประชิดแนวถนนเลียบชายหาด บางช่วงกัดเซาะถึงแนวถนนแล้ว ซึ่งอาจไม่ปลอดภัยต่อการสัญจร หากไม่เร่งดำเนินการป้องกันและแก้ไขจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน”
(3) ก่อนการดำเนินโครงการในระยะศึกษาออกแบบ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการ โดยผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการ ดังนี้ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (ระยะที่ 1) มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ ร้อยละ 78 และเห็นด้วยแต่มีข้อวิตกกังวลร้อยละ 11.8 และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ ร้อยละ 92.7
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งหมู่ที่ 7-9 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (ระยะที่ 2) มีการการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ ร้อยละ 75.5 และเห็นด้วยแต่มีข้อวิตกกังวลร้อยละ 14.4 และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ ร้อยละ 84
จากนั้น กลุ่มประชาชนชาวม่วงงามที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าวยังได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณายกเลิกโครงการนี้แล้วถึง 2 ครั้ง ล่าสุดคือเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. โดยหลังจากยื่นหนังสือผ่านทาง ผวจ.สงขลาแล้ว พวกเขาก็ประกาศปักหลักนอนค้างอยู่ที่ด้านหน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา จนกว่าจะได้รับคำตอบ โดยนายอภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ประสานงาน Beach for life ระบุว่า หลังจากที่ตัวแทนชาวบ้านได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสงขลา ศาลฯ ได้สั่งให้กรมโยธาธิการและผังเมืองส่งข้อมูลมาให้ภายใน 15 วัน แต่ไม่ได้สั่งให้หยุดการก่อสร้าง ซึ่งในระหว่างนี้พบว่า ผู้รับเหมาได้เร่งการก่อสร้าง
ด้านนายวิโรจน์ สนตอน แกนนำชาวม่วงงาม กล่าวว่า ประเด็นหลักคือคนในชุมชนไม่รู้เรื่องเยอะ อยากให้การตัดสินใจเรื่องนี้ ให้พวกเราได้เลือกได้กำหนดเอง หากเห็นด้วยเยอะกว่าว่าต้องการให้ทำ เราก็ยอมรับการตัดสินใจ ระหว่างนี้ อยากให้รอคำสั่งศาลปกครอง และอยากให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตอนนี้ทุกคนกังวลว่า หากตอกเสาเข็มเพิ่มจะสร้างความเสียหายให้หาดม่วงงามมากขึ้น
สถานการณ์ต่อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร ศาลปกครองจะมีคำพิพากษาอย่างไรนั้น ก็ยังไม่มีใครทราบหรือก้าวล่วงได้ ส่วนการก่อสร้างแม้จะยุติเป็นการชั่วคราว แต่ก็เป็นไปได้ว่า อาจจะกลับมาดำเนินการต่อในวันข้างหน้า แต่อย่างน้อยๆ วันนี้ได้เห็นแล้วว่า ชาวบ้านจำนวนไม่น้อย ไม่ยอมอยู่เฉย มองหาดทรายของพวกเขา ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือหาดทรายของคนไทยทั้งประเทศกำลังเลือนหายไป
พวกเขาได้ลุกขึ้นทักท้วง แสดงความเห็นต่างไปจากหน่วยงานของรัฐ และชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่รัฐกำลังทำ ไม่ได้มีประโยชน์อย่างที่กล่าวอ้าง แต่กลับสร้างความเสียหายแบบไม่รู้จบสิ้น ประหนึ่งเป็น “โรคระบาดของกำแพงกันคลื่น” ที่เมื่อเริ่มแล้ว ก็จะลุกลามไปเรื่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก!
และวันนี้ พวกเขาได้รับชัยชนะที่งดงามในยกแรกของการต่อสู้แล้ว