xs
xsm
sm
md
lg

จุฬาฯ เปิดตัว “ปัตตานีโมเดล” นวัตกรรมเสริมความมั่นใจให้ชีวิตวิถีใหม่ในยุคโควิด-19

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ปัตตานี ภ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังพันธมิตรเปิดตัว “ปัตตานีโมเดล” นวัตกรรมเสริมความมั่นใจให้ชีวิตวิถีใหม่ในยุคโควิด-19

วันนี้ (1 มิ.ย.) ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วย นพ.ชัยรัตน์ ลำโป นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยคณะทำงานได้ร่วมแถลงข่าว จุฬาผนึกกำลังพันมิตร เปิดตัว “ปัตตานีโมเดล” นวัตกรรมเสริมความมั่นใจให้ชีวิตวิถีใหม่ในยุคโควิด-19 ซึ่งการแถลงข่าวครั้งนี้ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะทำงานทีมวิจัย ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัตตานีโมเดล” เป็นโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจังหวัดปัตตานี ร่วมกันพัฒนาขึ้น เราได้เรียนรู้จากงานระบาดวิทยาชุมชนของปัตตานีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยใช้นวัตกรรมชุดตรวจแบบว่องไว Baiya Rapid Covid-19 IgM IgG Test Kit ผลงานของคณะเภสัชศาสตร์ และบริษัทสตาร์ทอัปจุฬาฯ ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันให้ชาวปัตตานีเป้าหมายจำนวนหมื่นรายก่อนเปิดเมือง เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำระบบ Big Data ระดับชุมชน นำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจทั้งประเทศ เพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อโควิด-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน และเป็นข้อมูลในระยะยาวให้รัฐใช้วางแนวทางการบริหารจัดการ เช่น กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนก่อน กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มต่อมา กลุ่มใดมีภูมิแล้ว กลุ่มใดควรตรวจก่อน เป็นต้น ซึ่งนี่ถือเป็นการนำนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อให้สู้กับโควิด-19 มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่คนไทยตามวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ที่จุฬาฯ พร้อมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลก ที่สร้างสรรค์องค์ความรู้ และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน


นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัดตานี กล่าวว่า ปัตตานีวางระบบคัดกรองคันหาผู้ป่วย และกักกันที่เข้มขัน นับว่าครอบคลุมที่สุดจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะพื้นที่ของเรามีความเสี่ยงสูง มีการเดินทางเข้าออกจากต่างประเทศ ทั้งอินโดนีเซีย และมาเลเชีย ทำให้ที่ผ่านมาเรามีจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยัน 91 ราย เสียชีวิต 1 ราย เราจึงออกนโยบายค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนแบบเข้มข้น เอกซเรย์เต็มพื้นที่เสี่ยง และมีความพยายามแสวงหาวิธีการทางแล็บที่ยืนยันผลที่เป็นไปได้ในการคัดกรองคนจำนวนมาก ภายใต้ความคุ้มค่าประหยัด และปลอดภัย จึงได้ประสานงานกับจุฬาฯ ขอใช้นวัตกรรมชุดตรวจว่องไวนี้นำมาใช้ตรวจร่วมกับ RT-PCR คัดกรองผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาภูมิคุ้มกันในชุมชนเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และมีหลักฐานทางชีวภาพ จากปัดตานีโมเดลจะทำให้เราได้รูปแบบการดูแลชุมชนให้อยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้อย่างมั่นใจ และจะขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดต่อไป

ด้าน ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า ปัตตานีโมเดล เป็นการพัฒนานวัตกรรมการจัดการความไม่แน่นอน (Uncertainty Management) อันเกิดจากโรคระบาดโควิด-19 แห่งแรกในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาที่เราได้จากปัตตานีโมเดลทำให้เราทราบว่า เราสามารถใช้ Rapid Test เสริมความมั่นใจในช่วงที่สังคมยังมีความไม่แน่นอน ควบคู่ไปกับ RT-PCR ได้ โดยเฉพาะกับการคัดกรองผู้ที่เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ Rapid Test ยังช่วยลดระยะเวลากักตัวใน Local Quarantine จากเดิม 14 วัน ให้สามารถกลับไปกักตัวที่บ้านได้เร็วขึ้น ซึ่งช่วยลดภาระงานให้แก่เจ้าหน้าที่ และบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ใน Local Quarantine ทั้งหมดนี้ที่เราทำก็เพื่อเสริมความมั่นใจให้กระบวนการการทำงานของ Stale Quarantine และ Local Quarantine ที่เป็นด่านหน้าต้องรับกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย




กำลังโหลดความคิดเห็น