โดย... ทีมข่าวเฉพาะกิจ

และแล้วคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ในทฤษฎี “ผีเสื้อขยับปีก” (Butterfly effect) ซึ่งเป็นการอ้างอิง “ทฤษฎีความอลวน” (chaos heory) ก็ได้รับการพิสูจน์อีกครั้งบนแผ่นดินปลายด้ามขวานทองของไทย โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความต้องการอรรถาธิบายว่า การทำลายธรรมชาติแม้เพียงเล็กน้อย อาจจะส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อโลกของเรา
ความพ่ายแพ้ให้แก่ “เด็กสาว” ตั้งแต่ยกแรก ไม่เพียงกระทบอย่างแรง “ศอ.บต.” หน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นมาแบบ “พิเศษเฉพาะกิจ” บนแผ่นดินปลายด้ามขวาน โดยเฉพาะกับ “รองเลขาธิการหนุ่มหน้าใส” ที่รับภาระหัวหอกขับเคลื่อนโดยตรงเท่านั้น แต่ยังสะเทือนเลื่อนลั่นไปถึงกลุ่มทุนยักษ์ที่เคยปลุกปั้นอาณาจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศขึ้นที่ภาคตะวันออกอย่างยิ่งใหญ่ ถึงขั้นที่ “บิ๊กบอสเครือพีทีไอ” ต้องทำหนังสือแบบชักแม้น้ำทั้งห้าอ้อนและยื่นข้อเสนอชนิดที่ “บิ๊กเลขาธิการ” เองก็ยากที่จะปฏิเสธได้

เมื่อ “ลูกสาวท้องทะเล” ปักหลักเด็ดดอกไม้!
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า “น้องย๊ะ” หรือ น.ส.ไครียะห์ ระหมันยะ เด็กสาววัยเพียง 17 ปีที่เวลานี้สังคมรู้จักมักคุ้นในคำเรียกขานว่า “ลูกสาวแห่งท้องทะเลจะนะ” เพราะเธอคือลูกสาวของครอบครัวชาวประมงพื้นบ้าน ที่ผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตเรียบง่ายที่หมู่บ้านสวนกง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา อันเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งผลิตอาหารทะเลขนาดใหญ่ของภาคใต้มูลค่าปีละหลายพันล้านบาท ซึ่งไม่ใช่แค่ป้อนให้แก่ชาวสงขลา ชาวปักษ์ใต้หรือคนไทยในประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งออกไปไกลให้ผู้คนทั้งภูมิภาคอาเซียนและอีกหลายประเทศบนโลกใบนี้
การกระทำของ “เด็กสาวแห่งท้องทะเลจะนะ” ซึ่งเสมือนเพียงต้องการแวะนั่งพักเด็ดดอกไม้ หรือถ้าเปรียบเป็นผีเสื้อก็เพียงขยับปีกบนเวียนวนชื่นชมดอกไม้งาม เพื่อรอคำตอบจากผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ณ บริเวณบันไดทางขึ้นศาลากลางจังหวัดสงขลาแค่ชั่วข้ามคืนเท่านั้น ไฉนกลับสร้างความสั่นสะเทือนเป็นวงกว้างขวางไปไกลได้ถึงดวงดาวเลยทีเดียว
ช่วงบ่ายของวันที่ 12 พ.ค.2563 “น้องย๊ะ” ติดสอยห้อยตามพ่อแม่ที่ร่วมกับพี่น้องประชาชนในนาม “เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น” ไปยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ สงขลา เพื่อส่งผ่านต่อไปให้ “ปู่ประยุทธ์” หรือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และต้องการให้ถึงหู “ปู่ประวิตร” หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ผู้นั่งหัวโต๊ะอนุมัติโครงการปลุกปั้น อ.จะนะ ให้เป็น “เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ” ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต”
โดยเฉพาะกับ “ลุงสมเกียรติ” หรือ พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในฐานะหน่วยงานที่ถูกให้รับหน้าที่เป็นหัวหอกขับเคลื่อนโครงการนี้โดยตรง ซึ่ง ศอ.บต.ได้ออกประกาศกำหนดให้จัดเวทีรับฟังข้อคิดเห็นประชาชนเฉพาะเจาะจงใน 3 ตำบลใน อ.จะนะ ที่ตั้งโครงการคือ ต.ตลิ่งชัน ต.นาทับ และ ต.สะกอม ขึ้นระหว่างวันที่ 14-20 พ.ค.2563 ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นการจัดฉากตั้งเวทีเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนสีผังเมืองจะนะจาก “เขียว” เพื่อเกษตรกรรมให้เป็น “ม่วง” เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของกลุ่มทุนปิโตรเคมี
ข้อเสนอของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นต้องการให้ผู้เกี่ยวข้องมีคำสั่งหยุดการจัดเวทีรับฟังความเห็นชาวบ้านทั้ง 3 ตำบลใน อ.จะนะ พร้อมให้ทบทวนโครงการ หรือถ้าเป็นไปได้ให้ยกเลิกโครงการไปเลย เนื่องจากจะสร้างผลกระทบใหญ่หลวงตามมา แถมยังเป็นการจัดเวทีแบบ “ลักหลับ” เพราะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของ “โรคติดเชื้อโควิด-19” อีกทั้งยังอยู่ในห้วง “เดือนรอมฎอน” อันศักดิ์สิทธิ์ที่พี่น้องมุสลิมในพื้นที่ต้องถือศีลอด
แล้วเมื่อเสร็จจากการยื่นหนังสือให้ผู้ว่าฯ สงขลา ปรากฏว่า “น้องย๊ะ” ได้ตัดสินใจชนิดที่ไม่บอกใครมาก่อน โดยประกาศว่าตนเองจะขอนั่งรอฟังคำตอบอยู่บริเวณหน้าบันไดทางขึ้นศาลากลาง จ.สงขลา อย่างมุ่งมั่น จนกว่าจะมีการทำตามข้อเสนอ และปรากฏการณ์นี้เองได้จุดกระแสตื่นตัวกันไปทั้งสังคม มีแถลงการณ์และคำประกาศจากเครือข่ายนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว นิสิตนักศึกษ ประชาสังคมและผู้มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือสนับสนุนมาจากทั่วสารทิศ เมื่อผสานกับ “ม็อบฟร์อมโฮม” ที่นัดแนะใช้โซเชียลมีเดียประท้วงจากบ้านกันมาก่อนจึงยิ่งเหมือนพลุแตก

ไย “เจ้าสัวใหญ่” และ “หลานรัก” ถึงกับร้อนรุ่ม?
สุดท้าย ศอ.บต.ต้องการประกาศเลื่อนจัดเวทีไปอย่างไม่มีกำหนดในช่วงบ่ายของวันที่ 13 พ.ค.2563 ด้วย “ข้ออ้างแบบหน้าตาเฉย” ว่า ไม่เหมาะสมที่จะจัดเวทีในห้วงเวลาที่ยังมีโรคระบาดและเดือนรอมฎอน แต่แล้วถัดมาหนึ่งวัน 14 พ.ค.2563 ก็ได้มีกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่นำผู้คนในนาม “เครือข่ายประชาชนสนับสนุนให้เดินหน้าโครงการ” ได้ออกมาเคลื่อนไหวยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าฯ สงขลา แบบย้อนศรแสดงพลังสวนกระแสในลักษณะเดียวกัน
ปรากฏว่าต่อมาอีกวันเดียวคือ วันที่ 15 พ.ค.2561 “นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์” เจ้าสัวใหญ่ผู้เคยเป็นเจ้าของ “อาณาจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมี” ยักษ์ใหญ่ที่สุดของไทยก็ดูเหมือนจะกังวลใจไม่น้อย ในฐานะเป็น 1 ใน 2 กลุ่มทุนที่มีแผนจะลงทุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ อ.จะนะ ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวแสดงพลังด้วยตัวเอง เพื่อหนุนแผนลงทุนขนาดมหึมาและจะดึงกลุ่มทุนข้ามชาติเข้าร่วมด้วย โดยต้องการแสดงเจตจำนงต่อ ศอ.บต.ว่าสามารถใช้ฐานที่ตั้งใน จ.สงขลา เชื่อมโยงไปทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วขยับขยายได้เพิ่มขึ้นชนิดครอบคลุมไปทั้งพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้อีกด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น “รอนนี่” หรือ นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบัญชีและการเงิน บริษัท ทีพีไอ โพลีน พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หลานรักของลุงประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในฐานะผู้บริหารรุ่นที่ 3 ของเครือทีพีไอยังถึงกลับ “ของขึ้น” รับไม่ได้กับการที่มีกลุ่มคนออกมาต่อต้านโครงการ โดยถึงกับใช้โซเชียลมีเดียท้ารบกับฝ่ายคัดค้านด้วยการโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Pakkapol Leopairut ความว่า
“ก็มีพวก ngo (โง่) แบบนี้ไง ประเทศไทยถึงล้าหลังอยู่แบบนี้ คุณรู้จักโครงการนี้ดีขนาดไหนเชียว เคยเห็นแปลนไหมครับ รู้ไหมว่าอยู่หมู่บ้านไหนบ้าง มีอุตสาหกรรมอะไรบ้าง ผมไปคุยกัน ศอ.บต.มาแล้ว ต้องตอบเลยว่าผมเห็นด้วยกับโครงการนี้ ผมเข้าใจว่าคุณไม่อยากให้ประเทศเจริญ เพราะรัฐจะได้ไม่มีผลงาน แต่ช่วยเอาผลประโยชน์ชาติเป็นหลักได้ไหม อีก 20 ปีชาวจะนะยังคงเป็นประมงต่อไป แล้วก็ยังมีความเป็นอยู่เหมือนเดิม ถ้าไม่แย่ลง น้องย๊ะ กรณีนี้มารับผิดชอบด้วยนะครับ”

เปิดหนังสือ “ทีพีไอพีพี” อ้อนขอลุยต่อกับ ศอ.บต.
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จํากัด (มหาชน) หรือ “ทีพีไอพีพี” ได้ทำหนังสือลงวันที่ 15 พ.ค.2563 เรื่อง “การแสดงจุดยืนของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ อ.จะนะ จ.สงขลา ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ตามนโยบายของรัฐบาล ส่งถึง พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ความว่า...
“ทีพีไอพีพี” ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่แสดงจุดยืนสำคัญของแกนนําภาคเอกชนในการลงทุน “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” อ.จะนะ ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ตามนโยบายของรัฐบาล ใคร่ขอกราบขอบคุณเลขาธิการ ศอ.บต. รวมทั้งฝ่ายบริหารรัฐบาลที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจในการให้บริษัทฯ เข้าไปร่วมพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ของกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ (Growth Engine) ภูมิภาคใต้ตอนล่าง ที่มี จ.สงขลา เป็นแกนกลางของภูมิภาค เชื่อมโยงไปยัง จ.สตูล และ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้อย่าง จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ที่เป็นพื้นที่ที่ยังขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
อันเนื่องมาจากผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ และส่งผลต่อการพัฒนาของรัฐตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ประกอบกับสถานการณ์ใหม่ของประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจากไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด-19) ที่เป็นปัจจัยสำคัญให้ทุกประเทศล้วนต้องดำเนินการปรับกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไป สำหรับชายแดนภาคใต้
เนื่องจากบริษัทฯ รับทราบข่าวสารจากหลายองค์กรรัฐที่เกี่ยวข้องว่า สถานการณ์โควิด-19 มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสภาพเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยสะท้อนได้จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การย้ายถิ่นฐานกลับของแรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม แรงงานสวนยางพารา แรงงานปาล์มน้ำมันและแรงงานประมง โดยคาดการณ์ว่ามีจำนวนแรงงานที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวจำนวนหลายหมื่นราย อีกทั้งยังมีปัญหาสถานการณ์การว่างงานของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนักเรียน นักศึกษาจบใหม่ปีละกว่า 2 หมื่นราย การโยกย้ายถิ่นฐานของประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนที่เดินทางไปทำงานในภูมิภาคอื่นของประเทศไทย เนื่องจากไม่มีงานทำหลังสำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ
ประกอบกับรายได้จากการขายยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชผลทางการเกษตรที่มีสภาพตกต่ำ เนื่องมาจากสถานการณ์การค้าโลกปัจจุบันที่มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัย ที่สำคัญอย่างยิ่งกว่านั้นคือ การขาดการลงทุนจากธุรกิจเอกชนมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ จ.สงขลา ลดลงเป็นอย่างมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา

ยก EEC ต้นแบบขอลงทุนคลุม “ทั้งภาคใต้”
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวภาครัฐจึงจำเป็นต้องพัฒนากลไกเศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่ที่มุ่งเน้นการลงทุนจากภาคเอกชนเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับการพัฒนาในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor : EEC เพื่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่อย่างยั่งยืน
บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของพื้นที่ที่จะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคใต้ในอนาคต รองรับการพัฒนาทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประกอบด้วย จ.นราธิวาส จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.สงขลา และ จ.สตูล รวมทั้งการขยายเครือข่ายระหว่างจังหวัดให้ครอบคลุม 14 จังหวัดภาคใต้ในอนาคตอันใกล้
ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีความมุ่งมั่นที่จะลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ อ.จะนะ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตามมติ ครม. (เมื่อ 7 พ.ค.2562 และมติ ครม.เมื่อ 21 ม.ค.2563) โดยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคมและรายได้ของประชาชน

พร้อมควักกระเป๋าทุ่ม “กว่า 6 แสนล้าน”
รวมทั้งสร้างการเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ ตามแนวทางที่บริษัทฯ จะเสนอผ่านการลงทุนในพื้นที่กว่า 600,000 ล้านบาท ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานกว่าหนึ่งแสนตำแหน่งในระยะเวลาการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในยี่สิบปีข้างหน้า
โดยแผนการลงทุนจะครอบคลุมทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด และเกิดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุดหรือไม่ให้เกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการให้ลูกหลานของประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่จะเข้าไปลงทุน
ทั้งนี้ บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า การออกแบบกระบวนการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนดังกล่าว จะนําไปสู่ความร่วมมือ ร่วมใจในการทำงานร่วมกันมากขึ้นตามเจตนารมณ์สำคัญสูงสุดนั่นคือความร่วมมือกับรัฐ เอกชน-ประชาชนร่วมพัฒนาไปพร้อมกัน บริษัทฯ ขอแสดงความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือประชาชนและไม่สร้างความขัดแย้งให้แก่ประชาชน ที่สำคัญได้แก่
(1) บริษัทฯ จะใช้แรงงานจากภูมิบุตราในเขตความรับผิดชอบของ ศอ.บต. ประกอบด้วย จ.สงขลา จ.สตูล จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และ จ.ยะลา ให้ได้มากที่สุด โดยบริษัทฯ จะถือเป็นความจำเป็นลำดับแรกที่ต้องช่วยรัฐบาลแก้ไขปัญหาการว่างงานของประชาชน ทั้งจากปัญหาที่ผ่านมาและปัญหาสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะงานอาชีพของประชาชน

ขยาย “โรงพยาบาลจะนะ” ให้ใหญ่โตรับนิคมอุตฯ
(5) บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) ในพื้นที่ ซึ่งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI จะเป็นพี่เลี้ยงช่วยพัฒนาผู้ประกอบการขนาดเล็กในฐานะหุ้นส่วนธุรกิจที่จะเติบโตไปด้วยกัน โดยเริ่มจากการก่อสร้างโรงงานและระบบสาธารณูปโภค ในระยะเริ่มแรกทางบริษัทฯ จะพิจารณาผู้ประกอบการท้องถิ่นให้มากที่สุด ตามขีดความสามารถของธุรกิจท้องถิ่นที่จะทำได้ สำหรับการก่อสร้างที่ต้องใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีในระดับสูง จะใช้ผู้ประกอบการรายใหญ่ในประเทศเป็นหลัก ซึ่งการใช้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นยังช่วยเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการนั้น
ในระยะต่อไปจะทำให้การจัดหาผู้ซ่อมบํารุง เครื่องจักรในพื้นที่มีความสะดวกในการทำธุรกิจในระยะยาวต่อไป พร้อมกันนี้ จะดำเนินการคู่ขนานด้วยการยกระดับการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นอาชีพของประชาชน เช่น กลุ่มอาชีพประมง กลุ่มทำกะปิ และอาชีพเกษตรกรรมอื่นใด ให้เป็นไปอย่างเป็นระบบ ครบวงจร เพื่อให้ประชาชนรวมกลุ่ม สร้างงาน สร้างอาชีพได้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ตามวิถีชุมชน
(6) บริษัทฯ จะร่วมมือกับ ศอ.บต.และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะยกระดับงานพัฒนาสาธารณสุขในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับ โรงพยาบาลจะนะ ให้เป็น โรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ เพื่อรองรับระบบบริการสาธารณสุขและการแพทย์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่อย่างดีที่สุด โดยเฉพาะแรงงานและประชาชนในพื้นที่ที่จะมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากระบบประกันสุขภาพของรัฐ เพื่อให้เป็นต้นแบบการทำงานของเอกชนร่วมรัฐสร้าง “ระบบสุขภาวะที่ดีให้แก่ประชาชน”
ทั้งนี้ จากบทเรียนสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา พบว่าระบบการทำงานสาธารณสุขที่ดีที่สุดคือ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนอาสาสมัคร บริษัทฯ จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังในการเฝ้าระวังและรณรงค์การรักษาสุขภาพให้แก่ประชาชน โดยจะร่วมมือกับ ศอ.บต.ดำเนินการสร้างกลไกการเฝ้าระวังสุขภาพภาคประชาชนในการเป็นกลไกเชิงยุทธศาสตร์ทำงานร่วมกับเอกชน-ราชการทุกขั้นตอน รวมทั้งการเป็นกลไกเร่งรัดติดตามและประเมินผลความสำเร็จของโครงการฯ ทั้งในะระยะสั้น-กลาง-ยาว ตามแนวทางสานพลังประชารัฐ
(7) บริษัทฯ จะมีการจัดตั้ง กองทุนการพัฒนาพื้นที่รอบสวนอุตสาหกรรม คาดว่าจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อปี มาจากกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้ากว่า 75 ล้านบาท และกองทุนเพื่อชุมชนของบริษัทฯ ไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท กองทุนดังกล่าวมีเป้าหมายพื้นที่รอบๆ เขตอุตสาหกรรม ภายใต้การจัดการที่ชุมชนและประชาชนเป็นผู้กำหนดเอง บริษัทฯ มั่นใจว่ากองทุนดังกล่าวจะได้ใช้เพื่อให้ตรงตามความต้องการของประชาชนรอบๆ โครงการ
นอกจากนี้ บริษัทฯ จะประสานความร่วมมือให้ผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรม จดทะเบียนสถานที่ประกอบการ (สาขา) สำหรับชําระภาษีมูลค่าเพิ่มในเขต อ.จะนะ เพื่อจะได้นําบางส่วนของภาษีดังกล่าวส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่มาจัดทำงบประมาณในการดูแลประชาชนต่อไป

ยาหอม “แก้ผังเมือง” ไม่ให้มี “ปิโตรเคมีต้นน้ำ”
(2) บริษัทฯ ขอยืนยันว่าจะ ไม่มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นน้ำมันดิบ หรือการแปรรูปก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นวัตถุดิบ ให้เป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานผลิตสารอะโรเมติกส์จากก๊าซธรรมชาติ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งนําเข้าหรือแหล่งหลุมเจาะในประเทศก็ตาม การใช้ก๊าซในเขตอุตสาหกรรมนี้จะใช้ทำการผลิตไฟฟ้าหรือเปลี่ยนเป็นก๊าซธรรมชาติเหลวที่สามารถใช้ในการผลิตพลังงานเท่านั้น
เพื่อสร้างความมั่นใจให้ทุกท่าน บริษัทฯ จะเสนอให้ส่วนราชการกำหนดข้อห้ามในการจัดตั้งอุตสาหกรรมประเภทดังกล่าว ในการจัดทำผังเมืองให้ชัดเจนต่อไป บริษัทฯ ขอย้ำว่าสวนอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นนี้จะเป็นอุตสาหกรรมสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบก ทางทะเล อันเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
(3) บริษัทฯ ขอเน้นย้ำว่า สวนอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นนี้จะเป็นอุตสาหกรรมสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบก ทางทะเล อันเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างดีที่สุด ทั้งด้านอาชีพ ที่อยู่อาศัย ชีวิตและความเป็นอยู่ที่เกิดผลกระทบจากการพัฒนา เป็นต้น
ดังนั้น การดำเนินโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อ กำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว การศึกษานี้จะมีการให้ข้อมูลอย่างละเอียด และจะได้นําเสนอต่อประชาชนในพื้นที่อย่างเต็มที่ ท้ายที่สุดจะมีคณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการที่บริษัทเสนอมาจะมีผลกระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
(4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บริษัทฯ จะเสนอการให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชนในพื้นที่รวม ไปถึงนักเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนและ 4 อำเภอของ จ.สงขลา เพื่อให้ลูกหลานของประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสทำงานในเขตอุตสาหกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ และกำหนดนโยบายให้บริษัทฯ ในเขตอุตสาหกรรมรับพนักงานในพื้นที่เป็นอันดับแรก
บริษัทฯ เชื่อมั่นว่ากิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มจะทำให้รายได้ภาคเอกชนและประชาชนดีขึ้น และจะให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้น ความรุนแรงและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน 4 จังหวัดชายแดนจะสงบลงโดยเร็ว รวมทั้งร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่บัณฑิตว่างงานที่เรียนจบไม่ตรงสายและไม่สามารถหางานได้ ให้ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานที่สอดรับต่อความต้องการของบริษัทฯ ที่จะมาลงทุนในพื้นที่เพื่อลดปัญหาการว่างงาน และปัญหาผู้ไม่ได้รับการรับรองวุฒิที่เป็นปัญหาใหญ่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้

ดีเดย์ “มิ.ย.2563” นี้ขอใช้ “สถิติเก่า” เร่งรัดทำ EIA
(8) ระยะต่อไปบริษัทฯ จะเร่งเข้าไปชี้แจงสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ความร่วมมือกับเอกชนดำเนินการพัฒนาทุกขั้นตอน ทั้งนี้การดำเนินการที่ผ่านมาข้อมูลที่สื่อไปถึงประชาชนยังอาจจะไม่ครบถ้วนที่จะตอบคําถามทุกท่านให้ชัดเจนได้ในเวลานั้น แต่บริษัทฯ รับรองคํามั่นว่า ตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป บริษัทฯ จะเริ่ม การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ซึ่งจะเป็นกระบวนการศึกษาและประเมินผลที่อาจเกิดขึ้น
รวมทั้ง จัดตั้งกลไกบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ตามที่ ศอ.บต.ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ ในรูปแบบของคณะกรรมการเพื่อบริหารกิจกรรมในพื้นที่โครงการ เพื่อให้สอดคล้องต่อสังคมพหุวัฒนธรรม โดย ขอผ่อนผันให้ใช้สถิติเดิม ที่เคยทำไว้ในท้องที่บริเวณนี้ที่เคยศึกษาเพื่อ ท่าเรือสงขลา 2 และ/หรือ โรงไฟฟ้าจะนะ มาใช้รวมกับสถิติใหม่ เพื่อประหยัดเวลาในการรวบรวมสถิติสิ่งแวดล้อม และเร่งรัดการดําเนินงานให้มีประสิทธิผลสูงสุด เพื่อความมั่นคงของ ประเทศชาติ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ พร้อมกันนี้บริษัทฯ ยืนยันว่าจะเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และจะเป็นจุดร่วมสำคัญของการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เชื่อมโยงไปถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข และสนับสนุนการพัฒนาร่วมกับรัฐบาลต่อไป
แม้หนังสือจากบอสใหญ่ทีพีไอพีพีจะจั่วหัวถึง พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. แต่จริงๆ แล้วต้องการสื่อสารไปถึง “ดร.เจ๋ง” หรือ ดร.ชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. ผู้ที่เพิ่งได้รับการเลื่อนตำแหน่งใหม่หมาดๆ อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบผลักดันโครงการนี้มาตลอด แถมยังเป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “รอนนี่” หรือ นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารรุ่นที่ 3 ของเครือทีพีไอด้วย

ที่สำคัญหนังสือนี้ได้ชี้ให้เห็นการปลุกปั้น “อภิมหาเมกะโปรเจกต์” นี้ว่ามีแนวคิดและที่มาที่ไปเชื่อมโยงกัน “เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ” ที่ชายแดนใต้ก็คือ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่มีอยู่ทั่วประเทศ “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ก็คือตัวตั้งต้นก่อนที่จะขยายครอบคลุมทั่วภาคใต้แบบเดียวกับ “EEC” ที่ตะวันออกตั้งต้นจาก “แบตเตอรี่ไทย” ใต้นาม “อีสเทรินซีบอร์ด (ESB)” แต่พอมาภาคใต้ก็กลายเป็น “SEC (ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้)” ที่ยึดโยงจาก “เซาเทิร์นซีบอร์ด (ESB)” และสุดท้ายจะกลายเป็น “แบตเตอรี่โลก” หรือ “ศูนย์กลางพลังงานโลก” ตามที่เคยมีการชี้ประเด็นเหล่านี้ไว้หรือไม่
เช่นเดียวกันคำอ้างบิ๊กบอสเครือทีพีไอที่จะไม่ให้มี “ปิโตรเคมีต้นน้ำ” ที่ภาคใต้ ทั้งที่เคยเป็นธุรกิจหลักและต้นกำเนิดให้เติบโตจนเป็นยักษ์ใหญ่ แถมเวลานี้ปิโตรเคมีบนแผ่นดิน EEC ต้องถือว่าเป็นอุตฯ ตะวันตกดินไปแล้ว จึงมีแต่ต้องใช้ภาคใต้เท่านั้นแจ้งเกิดให้เป็นอุตฯ ตะวันโผล่พ้นขอบฟ้าขึ้นมาใหม่ ดังนั้นสังคมจึงต้องจับตาดูกันต่อไป
และแล้วคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ในทฤษฎี “ผีเสื้อขยับปีก” (Butterfly effect) ซึ่งเป็นการอ้างอิง “ทฤษฎีความอลวน” (chaos heory) ก็ได้รับการพิสูจน์อีกครั้งบนแผ่นดินปลายด้ามขวานทองของไทย โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความต้องการอรรถาธิบายว่า การทำลายธรรมชาติแม้เพียงเล็กน้อย อาจจะส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อโลกของเรา
ความพ่ายแพ้ให้แก่ “เด็กสาว” ตั้งแต่ยกแรก ไม่เพียงกระทบอย่างแรง “ศอ.บต.” หน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นมาแบบ “พิเศษเฉพาะกิจ” บนแผ่นดินปลายด้ามขวาน โดยเฉพาะกับ “รองเลขาธิการหนุ่มหน้าใส” ที่รับภาระหัวหอกขับเคลื่อนโดยตรงเท่านั้น แต่ยังสะเทือนเลื่อนลั่นไปถึงกลุ่มทุนยักษ์ที่เคยปลุกปั้นอาณาจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศขึ้นที่ภาคตะวันออกอย่างยิ่งใหญ่ ถึงขั้นที่ “บิ๊กบอสเครือพีทีไอ” ต้องทำหนังสือแบบชักแม้น้ำทั้งห้าอ้อนและยื่นข้อเสนอชนิดที่ “บิ๊กเลขาธิการ” เองก็ยากที่จะปฏิเสธได้
เมื่อ “ลูกสาวท้องทะเล” ปักหลักเด็ดดอกไม้!
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า “น้องย๊ะ” หรือ น.ส.ไครียะห์ ระหมันยะ เด็กสาววัยเพียง 17 ปีที่เวลานี้สังคมรู้จักมักคุ้นในคำเรียกขานว่า “ลูกสาวแห่งท้องทะเลจะนะ” เพราะเธอคือลูกสาวของครอบครัวชาวประมงพื้นบ้าน ที่ผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตเรียบง่ายที่หมู่บ้านสวนกง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา อันเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งผลิตอาหารทะเลขนาดใหญ่ของภาคใต้มูลค่าปีละหลายพันล้านบาท ซึ่งไม่ใช่แค่ป้อนให้แก่ชาวสงขลา ชาวปักษ์ใต้หรือคนไทยในประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งออกไปไกลให้ผู้คนทั้งภูมิภาคอาเซียนและอีกหลายประเทศบนโลกใบนี้
การกระทำของ “เด็กสาวแห่งท้องทะเลจะนะ” ซึ่งเสมือนเพียงต้องการแวะนั่งพักเด็ดดอกไม้ หรือถ้าเปรียบเป็นผีเสื้อก็เพียงขยับปีกบนเวียนวนชื่นชมดอกไม้งาม เพื่อรอคำตอบจากผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ณ บริเวณบันไดทางขึ้นศาลากลางจังหวัดสงขลาแค่ชั่วข้ามคืนเท่านั้น ไฉนกลับสร้างความสั่นสะเทือนเป็นวงกว้างขวางไปไกลได้ถึงดวงดาวเลยทีเดียว
ช่วงบ่ายของวันที่ 12 พ.ค.2563 “น้องย๊ะ” ติดสอยห้อยตามพ่อแม่ที่ร่วมกับพี่น้องประชาชนในนาม “เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น” ไปยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ สงขลา เพื่อส่งผ่านต่อไปให้ “ปู่ประยุทธ์” หรือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และต้องการให้ถึงหู “ปู่ประวิตร” หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ผู้นั่งหัวโต๊ะอนุมัติโครงการปลุกปั้น อ.จะนะ ให้เป็น “เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ” ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต”
โดยเฉพาะกับ “ลุงสมเกียรติ” หรือ พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในฐานะหน่วยงานที่ถูกให้รับหน้าที่เป็นหัวหอกขับเคลื่อนโครงการนี้โดยตรง ซึ่ง ศอ.บต.ได้ออกประกาศกำหนดให้จัดเวทีรับฟังข้อคิดเห็นประชาชนเฉพาะเจาะจงใน 3 ตำบลใน อ.จะนะ ที่ตั้งโครงการคือ ต.ตลิ่งชัน ต.นาทับ และ ต.สะกอม ขึ้นระหว่างวันที่ 14-20 พ.ค.2563 ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นการจัดฉากตั้งเวทีเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนสีผังเมืองจะนะจาก “เขียว” เพื่อเกษตรกรรมให้เป็น “ม่วง” เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของกลุ่มทุนปิโตรเคมี
ข้อเสนอของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นต้องการให้ผู้เกี่ยวข้องมีคำสั่งหยุดการจัดเวทีรับฟังความเห็นชาวบ้านทั้ง 3 ตำบลใน อ.จะนะ พร้อมให้ทบทวนโครงการ หรือถ้าเป็นไปได้ให้ยกเลิกโครงการไปเลย เนื่องจากจะสร้างผลกระทบใหญ่หลวงตามมา แถมยังเป็นการจัดเวทีแบบ “ลักหลับ” เพราะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของ “โรคติดเชื้อโควิด-19” อีกทั้งยังอยู่ในห้วง “เดือนรอมฎอน” อันศักดิ์สิทธิ์ที่พี่น้องมุสลิมในพื้นที่ต้องถือศีลอด
แล้วเมื่อเสร็จจากการยื่นหนังสือให้ผู้ว่าฯ สงขลา ปรากฏว่า “น้องย๊ะ” ได้ตัดสินใจชนิดที่ไม่บอกใครมาก่อน โดยประกาศว่าตนเองจะขอนั่งรอฟังคำตอบอยู่บริเวณหน้าบันไดทางขึ้นศาลากลาง จ.สงขลา อย่างมุ่งมั่น จนกว่าจะมีการทำตามข้อเสนอ และปรากฏการณ์นี้เองได้จุดกระแสตื่นตัวกันไปทั้งสังคม มีแถลงการณ์และคำประกาศจากเครือข่ายนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว นิสิตนักศึกษ ประชาสังคมและผู้มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือสนับสนุนมาจากทั่วสารทิศ เมื่อผสานกับ “ม็อบฟร์อมโฮม” ที่นัดแนะใช้โซเชียลมีเดียประท้วงจากบ้านกันมาก่อนจึงยิ่งเหมือนพลุแตก
ไย “เจ้าสัวใหญ่” และ “หลานรัก” ถึงกับร้อนรุ่ม?
สุดท้าย ศอ.บต.ต้องการประกาศเลื่อนจัดเวทีไปอย่างไม่มีกำหนดในช่วงบ่ายของวันที่ 13 พ.ค.2563 ด้วย “ข้ออ้างแบบหน้าตาเฉย” ว่า ไม่เหมาะสมที่จะจัดเวทีในห้วงเวลาที่ยังมีโรคระบาดและเดือนรอมฎอน แต่แล้วถัดมาหนึ่งวัน 14 พ.ค.2563 ก็ได้มีกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่นำผู้คนในนาม “เครือข่ายประชาชนสนับสนุนให้เดินหน้าโครงการ” ได้ออกมาเคลื่อนไหวยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าฯ สงขลา แบบย้อนศรแสดงพลังสวนกระแสในลักษณะเดียวกัน
ปรากฏว่าต่อมาอีกวันเดียวคือ วันที่ 15 พ.ค.2561 “นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์” เจ้าสัวใหญ่ผู้เคยเป็นเจ้าของ “อาณาจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมี” ยักษ์ใหญ่ที่สุดของไทยก็ดูเหมือนจะกังวลใจไม่น้อย ในฐานะเป็น 1 ใน 2 กลุ่มทุนที่มีแผนจะลงทุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ อ.จะนะ ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวแสดงพลังด้วยตัวเอง เพื่อหนุนแผนลงทุนขนาดมหึมาและจะดึงกลุ่มทุนข้ามชาติเข้าร่วมด้วย โดยต้องการแสดงเจตจำนงต่อ ศอ.บต.ว่าสามารถใช้ฐานที่ตั้งใน จ.สงขลา เชื่อมโยงไปทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วขยับขยายได้เพิ่มขึ้นชนิดครอบคลุมไปทั้งพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้อีกด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น “รอนนี่” หรือ นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบัญชีและการเงิน บริษัท ทีพีไอ โพลีน พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หลานรักของลุงประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในฐานะผู้บริหารรุ่นที่ 3 ของเครือทีพีไอยังถึงกลับ “ของขึ้น” รับไม่ได้กับการที่มีกลุ่มคนออกมาต่อต้านโครงการ โดยถึงกับใช้โซเชียลมีเดียท้ารบกับฝ่ายคัดค้านด้วยการโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Pakkapol Leopairut ความว่า
“ก็มีพวก ngo (โง่) แบบนี้ไง ประเทศไทยถึงล้าหลังอยู่แบบนี้ คุณรู้จักโครงการนี้ดีขนาดไหนเชียว เคยเห็นแปลนไหมครับ รู้ไหมว่าอยู่หมู่บ้านไหนบ้าง มีอุตสาหกรรมอะไรบ้าง ผมไปคุยกัน ศอ.บต.มาแล้ว ต้องตอบเลยว่าผมเห็นด้วยกับโครงการนี้ ผมเข้าใจว่าคุณไม่อยากให้ประเทศเจริญ เพราะรัฐจะได้ไม่มีผลงาน แต่ช่วยเอาผลประโยชน์ชาติเป็นหลักได้ไหม อีก 20 ปีชาวจะนะยังคงเป็นประมงต่อไป แล้วก็ยังมีความเป็นอยู่เหมือนเดิม ถ้าไม่แย่ลง น้องย๊ะ กรณีนี้มารับผิดชอบด้วยนะครับ”
เปิดหนังสือ “ทีพีไอพีพี” อ้อนขอลุยต่อกับ ศอ.บต.
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จํากัด (มหาชน) หรือ “ทีพีไอพีพี” ได้ทำหนังสือลงวันที่ 15 พ.ค.2563 เรื่อง “การแสดงจุดยืนของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ อ.จะนะ จ.สงขลา ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ตามนโยบายของรัฐบาล ส่งถึง พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ความว่า...
“ทีพีไอพีพี” ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่แสดงจุดยืนสำคัญของแกนนําภาคเอกชนในการลงทุน “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” อ.จะนะ ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ตามนโยบายของรัฐบาล ใคร่ขอกราบขอบคุณเลขาธิการ ศอ.บต. รวมทั้งฝ่ายบริหารรัฐบาลที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจในการให้บริษัทฯ เข้าไปร่วมพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ของกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ (Growth Engine) ภูมิภาคใต้ตอนล่าง ที่มี จ.สงขลา เป็นแกนกลางของภูมิภาค เชื่อมโยงไปยัง จ.สตูล และ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้อย่าง จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ที่เป็นพื้นที่ที่ยังขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
อันเนื่องมาจากผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ และส่งผลต่อการพัฒนาของรัฐตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ประกอบกับสถานการณ์ใหม่ของประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจากไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด-19) ที่เป็นปัจจัยสำคัญให้ทุกประเทศล้วนต้องดำเนินการปรับกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไป สำหรับชายแดนภาคใต้
เนื่องจากบริษัทฯ รับทราบข่าวสารจากหลายองค์กรรัฐที่เกี่ยวข้องว่า สถานการณ์โควิด-19 มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสภาพเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยสะท้อนได้จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การย้ายถิ่นฐานกลับของแรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม แรงงานสวนยางพารา แรงงานปาล์มน้ำมันและแรงงานประมง โดยคาดการณ์ว่ามีจำนวนแรงงานที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวจำนวนหลายหมื่นราย อีกทั้งยังมีปัญหาสถานการณ์การว่างงานของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนักเรียน นักศึกษาจบใหม่ปีละกว่า 2 หมื่นราย การโยกย้ายถิ่นฐานของประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนที่เดินทางไปทำงานในภูมิภาคอื่นของประเทศไทย เนื่องจากไม่มีงานทำหลังสำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ
ประกอบกับรายได้จากการขายยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชผลทางการเกษตรที่มีสภาพตกต่ำ เนื่องมาจากสถานการณ์การค้าโลกปัจจุบันที่มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัย ที่สำคัญอย่างยิ่งกว่านั้นคือ การขาดการลงทุนจากธุรกิจเอกชนมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ จ.สงขลา ลดลงเป็นอย่างมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา
ยก EEC ต้นแบบขอลงทุนคลุม “ทั้งภาคใต้”
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวภาครัฐจึงจำเป็นต้องพัฒนากลไกเศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่ที่มุ่งเน้นการลงทุนจากภาคเอกชนเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับการพัฒนาในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor : EEC เพื่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่อย่างยั่งยืน
บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของพื้นที่ที่จะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคใต้ในอนาคต รองรับการพัฒนาทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประกอบด้วย จ.นราธิวาส จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.สงขลา และ จ.สตูล รวมทั้งการขยายเครือข่ายระหว่างจังหวัดให้ครอบคลุม 14 จังหวัดภาคใต้ในอนาคตอันใกล้
ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีความมุ่งมั่นที่จะลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ อ.จะนะ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตามมติ ครม. (เมื่อ 7 พ.ค.2562 และมติ ครม.เมื่อ 21 ม.ค.2563) โดยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคมและรายได้ของประชาชน
พร้อมควักกระเป๋าทุ่ม “กว่า 6 แสนล้าน”
รวมทั้งสร้างการเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ ตามแนวทางที่บริษัทฯ จะเสนอผ่านการลงทุนในพื้นที่กว่า 600,000 ล้านบาท ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานกว่าหนึ่งแสนตำแหน่งในระยะเวลาการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในยี่สิบปีข้างหน้า
โดยแผนการลงทุนจะครอบคลุมทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด และเกิดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุดหรือไม่ให้เกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการให้ลูกหลานของประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่จะเข้าไปลงทุน
ทั้งนี้ บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า การออกแบบกระบวนการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนดังกล่าว จะนําไปสู่ความร่วมมือ ร่วมใจในการทำงานร่วมกันมากขึ้นตามเจตนารมณ์สำคัญสูงสุดนั่นคือความร่วมมือกับรัฐ เอกชน-ประชาชนร่วมพัฒนาไปพร้อมกัน บริษัทฯ ขอแสดงความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือประชาชนและไม่สร้างความขัดแย้งให้แก่ประชาชน ที่สำคัญได้แก่
(1) บริษัทฯ จะใช้แรงงานจากภูมิบุตราในเขตความรับผิดชอบของ ศอ.บต. ประกอบด้วย จ.สงขลา จ.สตูล จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และ จ.ยะลา ให้ได้มากที่สุด โดยบริษัทฯ จะถือเป็นความจำเป็นลำดับแรกที่ต้องช่วยรัฐบาลแก้ไขปัญหาการว่างงานของประชาชน ทั้งจากปัญหาที่ผ่านมาและปัญหาสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะงานอาชีพของประชาชน
ขยาย “โรงพยาบาลจะนะ” ให้ใหญ่โตรับนิคมอุตฯ
(5) บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) ในพื้นที่ ซึ่งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI จะเป็นพี่เลี้ยงช่วยพัฒนาผู้ประกอบการขนาดเล็กในฐานะหุ้นส่วนธุรกิจที่จะเติบโตไปด้วยกัน โดยเริ่มจากการก่อสร้างโรงงานและระบบสาธารณูปโภค ในระยะเริ่มแรกทางบริษัทฯ จะพิจารณาผู้ประกอบการท้องถิ่นให้มากที่สุด ตามขีดความสามารถของธุรกิจท้องถิ่นที่จะทำได้ สำหรับการก่อสร้างที่ต้องใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีในระดับสูง จะใช้ผู้ประกอบการรายใหญ่ในประเทศเป็นหลัก ซึ่งการใช้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นยังช่วยเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการนั้น
ในระยะต่อไปจะทำให้การจัดหาผู้ซ่อมบํารุง เครื่องจักรในพื้นที่มีความสะดวกในการทำธุรกิจในระยะยาวต่อไป พร้อมกันนี้ จะดำเนินการคู่ขนานด้วยการยกระดับการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นอาชีพของประชาชน เช่น กลุ่มอาชีพประมง กลุ่มทำกะปิ และอาชีพเกษตรกรรมอื่นใด ให้เป็นไปอย่างเป็นระบบ ครบวงจร เพื่อให้ประชาชนรวมกลุ่ม สร้างงาน สร้างอาชีพได้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ตามวิถีชุมชน
(6) บริษัทฯ จะร่วมมือกับ ศอ.บต.และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะยกระดับงานพัฒนาสาธารณสุขในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับ โรงพยาบาลจะนะ ให้เป็น โรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ เพื่อรองรับระบบบริการสาธารณสุขและการแพทย์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่อย่างดีที่สุด โดยเฉพาะแรงงานและประชาชนในพื้นที่ที่จะมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากระบบประกันสุขภาพของรัฐ เพื่อให้เป็นต้นแบบการทำงานของเอกชนร่วมรัฐสร้าง “ระบบสุขภาวะที่ดีให้แก่ประชาชน”
ทั้งนี้ จากบทเรียนสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา พบว่าระบบการทำงานสาธารณสุขที่ดีที่สุดคือ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนอาสาสมัคร บริษัทฯ จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังในการเฝ้าระวังและรณรงค์การรักษาสุขภาพให้แก่ประชาชน โดยจะร่วมมือกับ ศอ.บต.ดำเนินการสร้างกลไกการเฝ้าระวังสุขภาพภาคประชาชนในการเป็นกลไกเชิงยุทธศาสตร์ทำงานร่วมกับเอกชน-ราชการทุกขั้นตอน รวมทั้งการเป็นกลไกเร่งรัดติดตามและประเมินผลความสำเร็จของโครงการฯ ทั้งในะระยะสั้น-กลาง-ยาว ตามแนวทางสานพลังประชารัฐ
(7) บริษัทฯ จะมีการจัดตั้ง กองทุนการพัฒนาพื้นที่รอบสวนอุตสาหกรรม คาดว่าจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อปี มาจากกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้ากว่า 75 ล้านบาท และกองทุนเพื่อชุมชนของบริษัทฯ ไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท กองทุนดังกล่าวมีเป้าหมายพื้นที่รอบๆ เขตอุตสาหกรรม ภายใต้การจัดการที่ชุมชนและประชาชนเป็นผู้กำหนดเอง บริษัทฯ มั่นใจว่ากองทุนดังกล่าวจะได้ใช้เพื่อให้ตรงตามความต้องการของประชาชนรอบๆ โครงการ
นอกจากนี้ บริษัทฯ จะประสานความร่วมมือให้ผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรม จดทะเบียนสถานที่ประกอบการ (สาขา) สำหรับชําระภาษีมูลค่าเพิ่มในเขต อ.จะนะ เพื่อจะได้นําบางส่วนของภาษีดังกล่าวส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่มาจัดทำงบประมาณในการดูแลประชาชนต่อไป
ยาหอม “แก้ผังเมือง” ไม่ให้มี “ปิโตรเคมีต้นน้ำ”
(2) บริษัทฯ ขอยืนยันว่าจะ ไม่มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นน้ำมันดิบ หรือการแปรรูปก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นวัตถุดิบ ให้เป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานผลิตสารอะโรเมติกส์จากก๊าซธรรมชาติ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งนําเข้าหรือแหล่งหลุมเจาะในประเทศก็ตาม การใช้ก๊าซในเขตอุตสาหกรรมนี้จะใช้ทำการผลิตไฟฟ้าหรือเปลี่ยนเป็นก๊าซธรรมชาติเหลวที่สามารถใช้ในการผลิตพลังงานเท่านั้น
เพื่อสร้างความมั่นใจให้ทุกท่าน บริษัทฯ จะเสนอให้ส่วนราชการกำหนดข้อห้ามในการจัดตั้งอุตสาหกรรมประเภทดังกล่าว ในการจัดทำผังเมืองให้ชัดเจนต่อไป บริษัทฯ ขอย้ำว่าสวนอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นนี้จะเป็นอุตสาหกรรมสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบก ทางทะเล อันเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
(3) บริษัทฯ ขอเน้นย้ำว่า สวนอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นนี้จะเป็นอุตสาหกรรมสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบก ทางทะเล อันเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างดีที่สุด ทั้งด้านอาชีพ ที่อยู่อาศัย ชีวิตและความเป็นอยู่ที่เกิดผลกระทบจากการพัฒนา เป็นต้น
ดังนั้น การดำเนินโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อ กำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว การศึกษานี้จะมีการให้ข้อมูลอย่างละเอียด และจะได้นําเสนอต่อประชาชนในพื้นที่อย่างเต็มที่ ท้ายที่สุดจะมีคณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการที่บริษัทเสนอมาจะมีผลกระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
(4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บริษัทฯ จะเสนอการให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชนในพื้นที่รวม ไปถึงนักเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนและ 4 อำเภอของ จ.สงขลา เพื่อให้ลูกหลานของประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสทำงานในเขตอุตสาหกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ และกำหนดนโยบายให้บริษัทฯ ในเขตอุตสาหกรรมรับพนักงานในพื้นที่เป็นอันดับแรก
บริษัทฯ เชื่อมั่นว่ากิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มจะทำให้รายได้ภาคเอกชนและประชาชนดีขึ้น และจะให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้น ความรุนแรงและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน 4 จังหวัดชายแดนจะสงบลงโดยเร็ว รวมทั้งร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่บัณฑิตว่างงานที่เรียนจบไม่ตรงสายและไม่สามารถหางานได้ ให้ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานที่สอดรับต่อความต้องการของบริษัทฯ ที่จะมาลงทุนในพื้นที่เพื่อลดปัญหาการว่างงาน และปัญหาผู้ไม่ได้รับการรับรองวุฒิที่เป็นปัญหาใหญ่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้
ดีเดย์ “มิ.ย.2563” นี้ขอใช้ “สถิติเก่า” เร่งรัดทำ EIA
(8) ระยะต่อไปบริษัทฯ จะเร่งเข้าไปชี้แจงสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ความร่วมมือกับเอกชนดำเนินการพัฒนาทุกขั้นตอน ทั้งนี้การดำเนินการที่ผ่านมาข้อมูลที่สื่อไปถึงประชาชนยังอาจจะไม่ครบถ้วนที่จะตอบคําถามทุกท่านให้ชัดเจนได้ในเวลานั้น แต่บริษัทฯ รับรองคํามั่นว่า ตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป บริษัทฯ จะเริ่ม การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ซึ่งจะเป็นกระบวนการศึกษาและประเมินผลที่อาจเกิดขึ้น
รวมทั้ง จัดตั้งกลไกบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ตามที่ ศอ.บต.ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ ในรูปแบบของคณะกรรมการเพื่อบริหารกิจกรรมในพื้นที่โครงการ เพื่อให้สอดคล้องต่อสังคมพหุวัฒนธรรม โดย ขอผ่อนผันให้ใช้สถิติเดิม ที่เคยทำไว้ในท้องที่บริเวณนี้ที่เคยศึกษาเพื่อ ท่าเรือสงขลา 2 และ/หรือ โรงไฟฟ้าจะนะ มาใช้รวมกับสถิติใหม่ เพื่อประหยัดเวลาในการรวบรวมสถิติสิ่งแวดล้อม และเร่งรัดการดําเนินงานให้มีประสิทธิผลสูงสุด เพื่อความมั่นคงของ ประเทศชาติ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ พร้อมกันนี้บริษัทฯ ยืนยันว่าจะเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และจะเป็นจุดร่วมสำคัญของการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เชื่อมโยงไปถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข และสนับสนุนการพัฒนาร่วมกับรัฐบาลต่อไป
แม้หนังสือจากบอสใหญ่ทีพีไอพีพีจะจั่วหัวถึง พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. แต่จริงๆ แล้วต้องการสื่อสารไปถึง “ดร.เจ๋ง” หรือ ดร.ชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. ผู้ที่เพิ่งได้รับการเลื่อนตำแหน่งใหม่หมาดๆ อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบผลักดันโครงการนี้มาตลอด แถมยังเป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “รอนนี่” หรือ นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารรุ่นที่ 3 ของเครือทีพีไอด้วย
ที่สำคัญหนังสือนี้ได้ชี้ให้เห็นการปลุกปั้น “อภิมหาเมกะโปรเจกต์” นี้ว่ามีแนวคิดและที่มาที่ไปเชื่อมโยงกัน “เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ” ที่ชายแดนใต้ก็คือ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่มีอยู่ทั่วประเทศ “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ก็คือตัวตั้งต้นก่อนที่จะขยายครอบคลุมทั่วภาคใต้แบบเดียวกับ “EEC” ที่ตะวันออกตั้งต้นจาก “แบตเตอรี่ไทย” ใต้นาม “อีสเทรินซีบอร์ด (ESB)” แต่พอมาภาคใต้ก็กลายเป็น “SEC (ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้)” ที่ยึดโยงจาก “เซาเทิร์นซีบอร์ด (ESB)” และสุดท้ายจะกลายเป็น “แบตเตอรี่โลก” หรือ “ศูนย์กลางพลังงานโลก” ตามที่เคยมีการชี้ประเด็นเหล่านี้ไว้หรือไม่
เช่นเดียวกันคำอ้างบิ๊กบอสเครือทีพีไอที่จะไม่ให้มี “ปิโตรเคมีต้นน้ำ” ที่ภาคใต้ ทั้งที่เคยเป็นธุรกิจหลักและต้นกำเนิดให้เติบโตจนเป็นยักษ์ใหญ่ แถมเวลานี้ปิโตรเคมีบนแผ่นดิน EEC ต้องถือว่าเป็นอุตฯ ตะวันตกดินไปแล้ว จึงมีแต่ต้องใช้ภาคใต้เท่านั้นแจ้งเกิดให้เป็นอุตฯ ตะวันโผล่พ้นขอบฟ้าขึ้นมาใหม่ ดังนั้นสังคมจึงต้องจับตาดูกันต่อไป