ศูนย์ข่าวภาคใต้ – เครือข่ายนักวิชาการและนักกิจกรรมเพื่อสิ่้งแวดล้อมและสิทธิชุมชน รวม 175 รายชื่อ ส่งตัวแทนยื่นหนังสือขอให้รัฐบาล-ศอ.บต.ทบทวนโครงการ “จะนะ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” เรียกร้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยยังไม่ตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการหรือไม่ล่วงหน้า
วันนี้ (14 พ.ค.) ที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา ตัวแทนเครือข่ายนักวิชาการและนักกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน ซึ่งล่าสุดมีอยู่ 175 รายชื่อ ได้ยื่นหนังสือถึงศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ผ่าน ผวจ.สงขลา เพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลและ ศอ.บต.เกี่ยวกับโครงการจะนะ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต 3 ข้อคือ (1) ให้ทบทวนโครงการจะนะ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตเป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยประชาชนมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ โดยไม่กำหนดการตัดสินใจว่าจะดำเนินหรือไม่ดำเนินโครงการเอาไว้ล่วงหน้า
(2) ในการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่จะมีขึ้นในอนาคตนั้น ขอให้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิชุมชนที่ได้รับการรับรองเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยประชาชนจะต้องเข้ามีส่วนร่วมได้อย่างมีความหมาย และ (3) ไม่ใช้มาตรการทางกฎหมาย หรือการคุกคามใด ที่เป็นการขัดขวางหรือกีดกันการใช้สิทธิแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างโดยสันติ ดังเช่นกรณี น.ส.ไครียะห์ ระหมันยะ และกรณีอื่น ๆ ที่อาจมีขึ้นต่อไป
“ด้วยความเป็นห่วงต่อการผลักดันโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ชายหาดธรรมชาติทางทะเลและชุมชน อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งใหม่ระหว่างประชาชนและรัฐบาลอัน ซึ่งขัดแย้งกับภารกิจของ ศอ.บต. ที่มีหน้าที่ในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้น จึงไม่ควรก่อให้เกิดความขัดแย้งโดยไม่จำเป็น”
เครือข่ายนักวิชาการและนักกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน เห็นว่าโครงการดังกล่าวมีปัญหาในหลายประเด็น จึงขอแสดงข้อห่วงกังวลและไม่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการดังกล่าว ดังนี้ (1) การดำเนินโครงการจะนะ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีความหมาย (Meaningful Public Participation) และละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ การเห็นชอบในหลักการการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ โดยคณะรัฐมนตรีขาดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ต้น รัฐบาลไม่เคยสอบถามประชาชนผู้มีส่วนได้เสียว่าต้องการให้ภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่ของเขานั้นเป็น “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” หรือไม่
“แม้ภายหลังการเห็นชอบในหลักการแล้ว ศอ.บต. ซึ่งเป็นตัวแทนรัฐบาลในการรับผิดชอบการดำเนินการโครงการ จะได้มีจัดให้มีเวทีนําเสนอโครงการและรับฟังความคิดเห็นซึ่งได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว แต่ในเวทีดังกล่าวไม่มีการให้ข้อมูลอย่างรอบด้านทั้งก่อนและในเวทีรับฟังความคิดเห็น รวมถึงการปิดกั้นการมีสวนร่วมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในต่างหมูบ้านแม้อยู่ในตำบลเดียวกัน ดังรายละเอียดที่ ศอ.บต.ได้กำหนดแล้วนั้น ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีความหมายแต่อย่างใด และยังเป็นการขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิชุมชนที่รัฐธรรมนูญได้รับรองเอาไว้ด้วย”
(2) ศอ.บต.กำลังสร้างความขัดแย้งใหม่ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่ง ศอ.บต.มีภารกิจและหน้าที่ในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ได้เร่งผลักดันโครงการนี้ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกําลังประสบวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเสรีภาพหลายด้านของประชาชนถูกจำกัด ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กล่าวคือ การที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคร้าย โดยมีมาตรการห้ามมีการรวมตัวกันของประชาชน ที่เรียกว่า การเพิ่มระยะห่างทางสังคม ในขณะที่โครงการนี้จะสร้างผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนอย่างมาก แต่ประชาชนกลับไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อประชุมสร้างความเข้าใจโครงการได้อย่างอิสระ และใช้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในการทักท้วงและสอบถามข้อมูล รวมถึงการใช้สิทธิในฐานะชุมชน ไม่อาจรับฟังถึงผลดีผลเสีย และนําเสนอข้อคิดเห็นได้อย่างอิสระ โดยปราศจากความกลัวต่อโรคร้ายและต่อการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการมีความรอบคอบมากขึ้น
นอกจากนี้เครือข่ายนักวิชาการและนักกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน มีความเห็นว่า การผลักดันโครงการนี้ให้ดำเนินต่อไปหมิ่นเหม่ต่อการทำลายสิทธิและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง ทำลายปิดกั้นผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างไม่ให้สามารถใช้สิทธิตามกฎหมาย และรัฐธรรมนูญในการเรียกร้องของประชาชนในนาม "เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น”
(3) การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างโดยสันติเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ ได้มีประชาชนอำเภอจะนะแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับโครงการ โดยยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อขอให้ยุติโครงการจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในวันที่ 14 – 20 พฤษภาคม 2563 และทบทวนโครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต โดย นางสาวไครียะห์ ระหมันยะ ได้ใช้การดื้อแพ่งอย่างสันติ ปักหลักนั่งรอคําตอบอยู่ที่หน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา
เครือข่ายนักวิชาการและนักกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน มีความคิดเห็นว่าการดื้อแพ่งอย่างสันติโดย นางสาวไครียะห์ ระหมันยะ เป็นการแสดงออกถึงความกล้าหาญของสตรีมุสลิมจะนะที่ห่วงใยชุมชน ธรรมชาติและมีความวิตกกังวลจากการเร่งรัดดำเนินการในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่รัฐจึงไม่ควรใช้อำนาจตามอำเภอใจในการจำกัดการใช้สิทธิดังกล่าว รวมถึงต้องให้ความคุ้มครองจากการคุกคามนอกกฎหมายรูปแบบอื่นๆ
อนึ่ง ถึงแม้ว่าล่าสุด ศอ.บต.จะได้ประกาศเลื่อนการรับฟังความคิดเห็นในการดำเนินโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่การประกาศเลื่อนดังกล่าวนั้นก็สะท้อนให้เห็นว่า ศอ.บต.มิได้พิจารณาโดยรอบคอบอย่างเพียงพอในการเตรียมการเพื่อให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนขึ้น และหากมองในอีกด้านหนึ่งการประกาศเลื่อนการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวถือเป็นผลสำเร็จของการต่อสู้โดยการดื้อแพ่งอย่างสันติของประชาชนในนามของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น โดยการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคม อย่างไรก็ดี ตราบใดที่โครงการนี้ยังไม่ถูกทบทวนอย่างรอบคอบโดยประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ความกังวลของประชาชนและชุมชนก็ยังคงไม่อาจถูกปลดเปลื้องออกไปได้
รายชื่อนักวิชาการและนักกิจกรรมที่ร่วมลงนามในแถลงการณ์
1. กนกวรรณ มะโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. กษมาพร แสงสุระธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. กิตติพัฒน์ คงมะกล่ำ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
5. กิติมา ขุนทอง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
6. กุศล พยัคฆ์สัก นักวิชาการอิสระ
7. กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
8. เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
9. เขมชาติ ตนบุญ นักวิจัยอิสระ
10. เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
12. จันทราพา จินดาทอง
13. จิรนันท์ ไชยบุปผา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
14. จิรวัฒน์ แสงทอง สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
15. เจษฎา ทองขาว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
16. ฉันท์หทัย อาจอ่ำ นักวิจัย-นักวิชาการอิสระ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยมหิดล
17. ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
19. ชยันต์ วรรธนะภูติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
21. ชัยณรงค์ เครือนวน คณะรัฐศาสตร์และนิติศาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
22. ชัยพงษ์ สำเนียง สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
23. ชาญณรงค์ บุญหนุน ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
24. ชุมพล แก้วสม สาขาวิชารัฐศาสตร์ (การเมืองการปกครองท้องถิ่น) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
25. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
26. ณภัค เสรีรักษ์ นักวิจัยอิสระ
27. ณรงค์ จ่างกมล นักวิชาการอิสระ
28. ณัฏฐ์ชวัล โภคาพานิชวงษ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
29. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
30. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
31. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ นักวิชาการอิสระ
32. ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
33. ดิเรก หมานมานะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
34. ตะวัน วรรณรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
35. ถนอม ชาภักดี นักปฏิบัติการศิลปะ (Art activist)
36. ดวงมน จิตร์จำนงค์ ข้าราชการบำนาญคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี
37. ทวีลักษณ์ พลราชม สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
38. ทวีศักดิ์ ปิ โครงการจัดตั้งสมาคมเพื่อการศึกษาและการพัฒนา
39. ทวีศักดิ์ เผือกสม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
40. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
41. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
42. ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
43. ธนิต โตอดิเทพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
44. ธวัช มณีผ่อง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
45. ธัญญาธร สายปัญญา อาจารย์ไม่ระบุสังกัด
46. ธิกานต์ ศรีนรา ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
47. ธัญรดี ทวีกาญจน์ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
48. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
49. นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ อาจารย์
50. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
51. นฤมล ขุนวีช่วย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
52. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
53. นลินกาญจนา ภัสสรเมธี K.S.K.V. Kachchh University, Gujarat
54. นวมล จันทร์กลิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
55. นัฐวุฒิ สิงห์กุล ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
56. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
57. นันทวัช สิทธิรักษ์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
58. นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
59. บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
60. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
61. บัณฑิต จันทร์โรจกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย
62. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
63. บูฆอรี ยีหมะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
64. บีชฟอร์ไลฟ์ (Beach for life)
65. ปฐม ตาคะนานันท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
66. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
67. ประสิทธิ์ สว่างศรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
68. ปราโมทย์ ระวิน
69. ปริญญา นิกรกุล วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
70. ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ เครือข่ายนิเวศสังคมนิยม
71. ปาริชาติ ภิญโญศรี คณะแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
72. ปิยวรรณ ปิยะกาญจน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
73. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
74. พรรณิภา โสตถิพันธุ์ สงขลาฟอรั่ม
75. พฤหัส พหลกุลบุตร นักวิชาการ มูลนิธิสื่อชาวบ้าน มะขามป้อม
76. พสุธา โกมลมาลย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
77. พัชร์ นิยมศิลป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
78. พุทธพล มงคลวรวรรณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
79. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
80. พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
81. พิมพ์ณัฐชยา สัจจาศิลป์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
82. พิสิษฏ์ นาสี ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
83. เพ็ญศรี พานิช สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
84. ฟารีดา ปันจอร์ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
85. ภมรี สุรเกียรติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี
86. ภราดล พรอำนวย ศิลปินและนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
87. ภัทรมน สุวพันธุ์ สถาบันรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
88. ภาสกร อินทุมาร สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
89. ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ บุรุษรัตนพันธุ์ อดีตนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
90. มรกต ดิษฐาอภิชัย วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
91. มลิวัลย์ เสนาวงษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
92. มานะ ขุนวีช่วย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
93. เยาวนิจ กิตติธรกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
94. รักชาติ สุวรรณ์ เครือข่ายประชาสังคมชายแดนใต้
95. รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
96. รามิล กาญจันดา ภาควิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
97. รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ มหาวิทยาลัยมลายา ประเทศมาเลเซีย
98. ลม้าย มานะการ เครือข่ายทรัพยากรชายแดนใต้
99. ลัดดา นิเงาะ นักวิจัยอิสระ
100. ลัดดา ประสพสมบัติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
101. ศิริพร ฉายเพ็ชร เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
102. วรวิทย์ นพแก้ว สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
103. วลักษณ์กมล จ่างกมล คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
104. วัชลาวลี คำบุญเรือง นักวิจัยอิสระ
105. วันพิชิต ศรีสุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
106. วิทยา อาภรณ์ สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
107. วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
108. วิริยะ สว่างโชติ นักวิจัยอิสระ
109. วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
110. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
111. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ ภาควิชาสื่อ ศิลปะ และการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
112. ศรีประภา เพชรมีศรี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
113. ศศิธร ไชยประสิทธิ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
114. ศักดิ์ณรงค์ มงคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
115. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
116. สดใส ขันติวรพงศ์ นักวิชาการ นักเขียน นักแปล
117. สมใจ สังข์แสตมป์ ประชาชน
118. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
119. สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ภาคตะวันออก
120. สมบัติ ชูมา ผู้อำนวยการสถาบันธรรมชาติพัฒนา
121. สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล ข้าราชการบำนาญ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
122. สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
123. สมพร ช่วยอารีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
124. สมพร เพ็งค่ำ นักวิชาการอิสระด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน
125. สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ
126. สมหมาย ชินนาค คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
127. สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
128. สมิทธ์ ตุงคะสมิต สถาบันรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
129. สรวิชญ์ ฤทธิจรูญโรจน์ นักวิชาการอิสระ
130. สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
131. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
132. สัณห์ธวัช ธัญวงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
133. สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
134. สายฝน สิทธิมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
135. สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
136. สืบสกุล กิจนุกร ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
137. สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
138. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
139. สินาด ตรีวรรณไชย คณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่
140. สุนี ไชยรส วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม หาวิทยาลัยรังสิต
141. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ
142. สุภาพร แสงแก้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
143. สุไรนี สายนุ้ย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
144. เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ นักวิชาการอิสระ
145. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์
146. อนินทร์ พุฒิโชติ มหาวิทยาลัยทักษิณ
147. อนิรุต หนูปลอด สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
148. อนุสรณ์ ศรีแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
149. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
150. อรชา รักดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
151. อรอนงค์ ทิพย์พิมล สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
152. อริศรา เหล็กคำ ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
153. อลิสา หะสาเมาะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
154. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
155. อัญชนา หีมมิหน๊ะ กลุ่มด้วยใจ
156. อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
157. อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
158. อัมพร บุญตัน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ตำบลห้วยทราย
159. อัมพร หมาดเด็น สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
160. อานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์ มหาวิทยาลัยรังสิต
161. อาภา หวังเกียรติ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
162. อารยา สุขสม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
163. อารีลักษณ์ พูนทรัพย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
164. เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
165. เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
166. เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
167. โอฬาร ถิ่นบางเตียว ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
168. Hara Shintaro นักวิชาการอิสระ
169. กลุ่มเด็กรักหาดสวนกง
170. กลุ่มนักกฎหมายอาสา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
171. กลุ่มสองล้อรักษ์หาดทราย
172. เครือข่ายพลเมืองติดตามสภาพชายหาด
173. ธนาคารเมล็ดพันธุ์สาขาจะนะ องค์กรด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
174. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
175. สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี
(เพิ่มเติม)
176. โชคชัย วงษ์ตานี สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
177. พรชัย นาคสีทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ