คอลัมน์ : ดูรูปสวยแถมด้วยเกร็ดความรู้ / โดย... สกนธ์ รัตนโกศล

“ฟ้าทะลายโจร” สมุนไพรที่กำลังเป็นที่กล่าวขานถึงท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโรค “ไวรัสโคโรนา 2019” หรือ “โควิด-19”
“ฟ้าทะลายโจร” เป็นสมุนไพรท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย จีน ศรีลังกา และไทย ชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
ชื่อสามัญ : Kariyat, The Creat ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees วงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
“ฟ้าทะลายโจร” เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 30-60 ซม. ลำต้นตั้งตรงกิ่งก้านเป็นสัน สี่เหลี่ยมใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 4-10 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ก้านใบยาว 2-8 มม.ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่งและซอกใบ ช่อโปร่งยาว 5-30 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็กดอกสีขาวแกมม่วง มีขน กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ผลเป็นฝัก รูปทรงกระบอก สีเขียวอมน้ำตาลปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกดีดเมล็ดออกมา มีเมล็ด 8-14 เมล็ด ขนาดเล็ก สีน้ำตาลแดง
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเนื่องจากเมล็ดฟ้าทะลายโจรมีเปลือกหุ้มหนาและแข็ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการงอก นอกจากนี้ เมล็ดยังมีการพักตัวจึงควรแก้การพักตัวของเมล็ดก่อนนําไปเพาะหรือก่อนการปลูก
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน

สรรพคุณของ “ฟ้าทะลายโจร”
“ฟ้าทะลายโจร” ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวให้จับกินเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย และมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
มีสรรพคุณช่วยในการย่อยอาหารและช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง จะช่วยทำให้อาการเลือดออกหรืออาการปวดถ่วงหายไป ทำให้ ขับถ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น ช่วยรักษาโรคตับ ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารวันละ 2-3เม็ด วันละ 3 ครั้ง (และควรใช้ยาบํารุงชนิดอื่นด้วย) ช่วยรักษาโรคงูสวัดด้วยการรับประทานยาฟ้าทะลายโจรก่อนอาหาร 2-3 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากงูสวัดคือเชื้อไวรัสที่จะอยู่นาน 3 สัปดาห์ ถ้าใช้รักษาให้ครบตามเวลาก็จะทำให้ไม่กลับมาเป็นอีก
- “ใบ” ใช้เป็นยาขมช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยรักษาไข้ไทฟอยด์ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้กินยาบํารุงเพื่อฟื้นฟูกําลังของผู้ป่วยร่วมด้วย ช่วยแก้อาการไอ ลดน้ำมูกและช่วยฆ่าเชื้อที่จมูก ด้วยการใช้ใบนํามาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม ช่วยลดและขับเสมหะ ด้วยการใช้ใบนํามาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม ช่วยระงับอาการอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบหลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้ใบนํามาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม

ช่วยแก้อาการร้อนในด้วยการใช้ใบฟ้าทะลายโจรตากแห้ง 15 กรัม และเตยหอมสดหั่นแล้ว 15 กรัม นํามาต้มกับน้ำพอท่วมยาจนเดือดใช้ดื่มก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น จะช่วยทำให้อาการร้อนในดีขึ้น แต่ถ้าอยากให้หายขาดแนะนําว่าไม่ต้องดื่มน้ำหลังอาหารมากเกินไปรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และออกกําลังกายทุกวัน อาการร้อนในก็จะหายไปในที่สุด ช่วยรักษากระเพาะลําไส้อักเสบ
ช่วยรักษาโรคผิวหนังฝีแผลฝีด้วยการใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กํามือ แล้วเอาเกลือ 3 เม็ดนํามาตําผสมรวมกันในครกจนละเอียด แล้วเอาสุราครึ่งถ้วยชา น้ำครึ่งช้อนชาใส่รวมลงไปคนให้ เข้ากันแล้วเทกินค่อนถ้วยชา ส่วนกากที่เหลือนํามาพอกแผลฝีแล้วใช้ผ้าสะอาดพักไว้ตอนพอก เสร็จใหม่ๆ อาจจะรู้สึกปวดบ้างเล็กน้อย ช่วยรักษาแผลอักเสบที่เกิดจากโรคเบาหวานด้วยการรับประทานเป็นยาฟ้าทะลายโจรแบบเม็ด และการใช้ทาเพื่อรักษาอาการ ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองได้
- “กิ่ง” และ “ใบ” ช่วยป้องกันและแก้อาการหวัด คัดจมูกด้วยการใช้ใบและกิ่งประมาณ 1 กํามือ (สดใช้ 25 กรัม แต่ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นํามาต้มกับน้ำดื่ม รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหรือในขณะที่มีอาการ ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อนอาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุด้วยการใช้ใบและกิ่งประมาณ 1 กํา มือ (สดใช้ 25 กรัมแต่ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นํามาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหรือในขณะที่มีอาการ ช่วยแก้ไข้ทั่วๆ ไป อาการปวดหัวตัวร้อนเช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
- “ต้น” ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ต้นฟ้าทะลายโจร กระชาย และว่านเอ็นเหลือง นํามาทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนรับประทาน
- “ทั้งต้น” ช่วยแก้อาการติดเชื้อระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นบิด ด้วยการใช้ทั้งต้น (ส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร) นํามาผึ่งลมให้แห้งแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 กํามือ (น้ำหนักประมาณ 3-9 กรัม) แล้วนํามาต้มกับน้ำดื่มตลอดวัน

ประโยชน์ของ “ฟ้าทะลายโจร”
“ฟ้าทะลายโจร” มีรสขมมาก โดยความขมจะเหนี่ยวนําช่วยทำให้ขับน้ำลายออกมามากขึ้น จึงทำให้ชุ่มคอ มีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ มีฤทธิ์ในการช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก และมีส่วนช่วยลดการติดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ แต่อาจจะไม่ดีเท่าการใช้ยาเตตราไซคลีนในการรักษา แต่ก็สามารถใช้ทดแทนได้

ความปลอดภัยในการรับประทาน “ฟ้าทะลายโจร”
“ฟ้าทะลายโจร” ค่อนข้างปลอดภัยต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม แต่บางรายอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาหลังการรับประทานเล็กน้อย เช่น ไม่อยากอาหาร อาเจียน ท้องเสีย ผื่นขึ้น ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล หรือเหนื่อยง่าย
การรับประทานฟ้าทะลายโจรในรูปแบบสารสกัดผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นโดยเฉพาะโสมไซบีเรีย (Siberian Ginseng) ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 3 เดือนและควรระมัดระวังการรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณเข้มข้นสูงหรือใช้ติดต่อเป็นเวลานานซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ต่อมน้ำเหลืองบวม เกิดปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง เอนไซม์ตับสูงขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ตามมา รวมถึงเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานฟ้าทะลายโจรในกรณีต่อไปนี้
- การรับประทานฟ้าทะลายโจรค่อนข้างปลอดภัยต่อ “เด็ก” และ “ทารก” หากใช้ในระยะเวลาสั้นๆ และการใช้ฟ้าทะลายโจรร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 1 เดือน
- “หญิงมีครรภ์” และ “คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร” ควรหลีกเลี่ยงที่จะรับประทาน เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแท้ง และยังไม่มีหลักฐานยืนยันความปลอดภัยต่อทารกที่ดื่มนมแม่
- ผลการทดลองในสัตว์พบว่า ฟ้าทะลายโจรอาจรบกวนระบบการสืบพันธุ์แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันผลในคนในปัจจุบัน ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก (Infertility) หรือมีปัญหาในการตั้งครรภ์ จึงควรหลีกเลี่ยงที่รับประทาน

- ฟ้าทะลายโจรอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ไวต่อการทำงานมากขึ้น ผู้ป่วยในกลุ่มโรคภูมิต้านตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคลูปัสหรือโรคเอสแอลอี โรคข้อรูมาตอยด์ หรือสภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
- ฟ้าทะลายโจรอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกผิกดปกติ หรือรอยฟกช้ำได้ง่าย ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติจึงควรหลีกเลี่ยงที่จะรับประทาน รวมถึงผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดควรหยุดใช้สมุนไพรนี้อย่างน้อย 2 สัปดาห์
- ฟ้าทะลายโจรอาจส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลง แต่ยังไม่มีผลการยืนยันผลต่อการใช้ในคนผู้ที่มีภาวะความต่ำจึงไม่ควรรับประทาน เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ
- ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานฟ้าทะลายโจรทุกครั้ง เนื่องจากยาบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาและสมุนไพร เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด
ในหลายประเทศทั่วทวีปเอเชียนิยมนำฟ้าทะลายโจรมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยนำส่วนของ “ใบ” และ “ลำต้นใต้ดิน” มาทำเป็นยารักษาโรค โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่
สำหรับในประเทศไทยได้บรรจุ“ฟ้าทะลายโจร” อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (บัญชียาจากสมุนไพร) ของกระทรวงสาธารณสุขในหมวดหมู่ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจแล้วนะขอรับ






บรรณานุกรม
-eto.ku.ac.th› neweto › e-book › plant › herb_gar › ฟ้าทะลายโจร
-www.pobpad.com › ฟ้าทะลายโจร-สมุนไพรใกล้
“ฟ้าทะลายโจร” สมุนไพรที่กำลังเป็นที่กล่าวขานถึงท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโรค “ไวรัสโคโรนา 2019” หรือ “โควิด-19”
“ฟ้าทะลายโจร” เป็นสมุนไพรท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย จีน ศรีลังกา และไทย ชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
ชื่อสามัญ : Kariyat, The Creat ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees วงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
“ฟ้าทะลายโจร” เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 30-60 ซม. ลำต้นตั้งตรงกิ่งก้านเป็นสัน สี่เหลี่ยมใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 4-10 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ก้านใบยาว 2-8 มม.ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่งและซอกใบ ช่อโปร่งยาว 5-30 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็กดอกสีขาวแกมม่วง มีขน กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ผลเป็นฝัก รูปทรงกระบอก สีเขียวอมน้ำตาลปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกดีดเมล็ดออกมา มีเมล็ด 8-14 เมล็ด ขนาดเล็ก สีน้ำตาลแดง
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเนื่องจากเมล็ดฟ้าทะลายโจรมีเปลือกหุ้มหนาและแข็ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการงอก นอกจากนี้ เมล็ดยังมีการพักตัวจึงควรแก้การพักตัวของเมล็ดก่อนนําไปเพาะหรือก่อนการปลูก
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน
สรรพคุณของ “ฟ้าทะลายโจร”
“ฟ้าทะลายโจร” ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวให้จับกินเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย และมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
มีสรรพคุณช่วยในการย่อยอาหารและช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง จะช่วยทำให้อาการเลือดออกหรืออาการปวดถ่วงหายไป ทำให้ ขับถ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น ช่วยรักษาโรคตับ ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารวันละ 2-3เม็ด วันละ 3 ครั้ง (และควรใช้ยาบํารุงชนิดอื่นด้วย) ช่วยรักษาโรคงูสวัดด้วยการรับประทานยาฟ้าทะลายโจรก่อนอาหาร 2-3 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากงูสวัดคือเชื้อไวรัสที่จะอยู่นาน 3 สัปดาห์ ถ้าใช้รักษาให้ครบตามเวลาก็จะทำให้ไม่กลับมาเป็นอีก
- “ใบ” ใช้เป็นยาขมช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยรักษาไข้ไทฟอยด์ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้กินยาบํารุงเพื่อฟื้นฟูกําลังของผู้ป่วยร่วมด้วย ช่วยแก้อาการไอ ลดน้ำมูกและช่วยฆ่าเชื้อที่จมูก ด้วยการใช้ใบนํามาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม ช่วยลดและขับเสมหะ ด้วยการใช้ใบนํามาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม ช่วยระงับอาการอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบหลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้ใบนํามาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม
ช่วยแก้อาการร้อนในด้วยการใช้ใบฟ้าทะลายโจรตากแห้ง 15 กรัม และเตยหอมสดหั่นแล้ว 15 กรัม นํามาต้มกับน้ำพอท่วมยาจนเดือดใช้ดื่มก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น จะช่วยทำให้อาการร้อนในดีขึ้น แต่ถ้าอยากให้หายขาดแนะนําว่าไม่ต้องดื่มน้ำหลังอาหารมากเกินไปรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และออกกําลังกายทุกวัน อาการร้อนในก็จะหายไปในที่สุด ช่วยรักษากระเพาะลําไส้อักเสบ
ช่วยรักษาโรคผิวหนังฝีแผลฝีด้วยการใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กํามือ แล้วเอาเกลือ 3 เม็ดนํามาตําผสมรวมกันในครกจนละเอียด แล้วเอาสุราครึ่งถ้วยชา น้ำครึ่งช้อนชาใส่รวมลงไปคนให้ เข้ากันแล้วเทกินค่อนถ้วยชา ส่วนกากที่เหลือนํามาพอกแผลฝีแล้วใช้ผ้าสะอาดพักไว้ตอนพอก เสร็จใหม่ๆ อาจจะรู้สึกปวดบ้างเล็กน้อย ช่วยรักษาแผลอักเสบที่เกิดจากโรคเบาหวานด้วยการรับประทานเป็นยาฟ้าทะลายโจรแบบเม็ด และการใช้ทาเพื่อรักษาอาการ ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองได้
- “กิ่ง” และ “ใบ” ช่วยป้องกันและแก้อาการหวัด คัดจมูกด้วยการใช้ใบและกิ่งประมาณ 1 กํามือ (สดใช้ 25 กรัม แต่ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นํามาต้มกับน้ำดื่ม รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหรือในขณะที่มีอาการ ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อนอาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุด้วยการใช้ใบและกิ่งประมาณ 1 กํา มือ (สดใช้ 25 กรัมแต่ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นํามาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหรือในขณะที่มีอาการ ช่วยแก้ไข้ทั่วๆ ไป อาการปวดหัวตัวร้อนเช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
- “ต้น” ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ต้นฟ้าทะลายโจร กระชาย และว่านเอ็นเหลือง นํามาทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนรับประทาน
- “ทั้งต้น” ช่วยแก้อาการติดเชื้อระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นบิด ด้วยการใช้ทั้งต้น (ส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร) นํามาผึ่งลมให้แห้งแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 กํามือ (น้ำหนักประมาณ 3-9 กรัม) แล้วนํามาต้มกับน้ำดื่มตลอดวัน
ประโยชน์ของ “ฟ้าทะลายโจร”
ความปลอดภัยในการรับประทาน “ฟ้าทะลายโจร”
“ฟ้าทะลายโจร” ค่อนข้างปลอดภัยต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม แต่บางรายอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาหลังการรับประทานเล็กน้อย เช่น ไม่อยากอาหาร อาเจียน ท้องเสีย ผื่นขึ้น ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล หรือเหนื่อยง่าย
การรับประทานฟ้าทะลายโจรในรูปแบบสารสกัดผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นโดยเฉพาะโสมไซบีเรีย (Siberian Ginseng) ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 3 เดือนและควรระมัดระวังการรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณเข้มข้นสูงหรือใช้ติดต่อเป็นเวลานานซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ต่อมน้ำเหลืองบวม เกิดปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง เอนไซม์ตับสูงขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ตามมา รวมถึงเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานฟ้าทะลายโจรในกรณีต่อไปนี้
- การรับประทานฟ้าทะลายโจรค่อนข้างปลอดภัยต่อ “เด็ก” และ “ทารก” หากใช้ในระยะเวลาสั้นๆ และการใช้ฟ้าทะลายโจรร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 1 เดือน
- “หญิงมีครรภ์” และ “คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร” ควรหลีกเลี่ยงที่จะรับประทาน เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแท้ง และยังไม่มีหลักฐานยืนยันความปลอดภัยต่อทารกที่ดื่มนมแม่
- ผลการทดลองในสัตว์พบว่า ฟ้าทะลายโจรอาจรบกวนระบบการสืบพันธุ์แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันผลในคนในปัจจุบัน ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก (Infertility) หรือมีปัญหาในการตั้งครรภ์ จึงควรหลีกเลี่ยงที่รับประทาน
- ฟ้าทะลายโจรอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ไวต่อการทำงานมากขึ้น ผู้ป่วยในกลุ่มโรคภูมิต้านตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคลูปัสหรือโรคเอสแอลอี โรคข้อรูมาตอยด์ หรือสภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
- ฟ้าทะลายโจรอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกผิกดปกติ หรือรอยฟกช้ำได้ง่าย ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติจึงควรหลีกเลี่ยงที่จะรับประทาน รวมถึงผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดควรหยุดใช้สมุนไพรนี้อย่างน้อย 2 สัปดาห์
- ฟ้าทะลายโจรอาจส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลง แต่ยังไม่มีผลการยืนยันผลต่อการใช้ในคนผู้ที่มีภาวะความต่ำจึงไม่ควรรับประทาน เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ
- ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานฟ้าทะลายโจรทุกครั้ง เนื่องจากยาบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาและสมุนไพร เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด
ในหลายประเทศทั่วทวีปเอเชียนิยมนำฟ้าทะลายโจรมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยนำส่วนของ “ใบ” และ “ลำต้นใต้ดิน” มาทำเป็นยารักษาโรค โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่
สำหรับในประเทศไทยได้บรรจุ“ฟ้าทะลายโจร” อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (บัญชียาจากสมุนไพร) ของกระทรวงสาธารณสุขในหมวดหมู่ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจแล้วนะขอรับ
บรรณานุกรม
-eto.ku.ac.th› neweto › e-book › plant › herb_gar › ฟ้าทะลายโจร
-www.pobpad.com › ฟ้าทะลายโจร-สมุนไพรใกล้