.
โดย..ศูนย์ข่าวภาคใต้.
.
.

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ”โควิด-19” ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันประกอบด้วยปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส และสงขลา ก่อนหน้าวันที่กลุ่มดาวะห์จะเดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 6 เม.ย.มาถึงยังท่าอากาศยานหาดใหญ่ ซึ่งพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มนี้ถึง 42 คนนั้น นับได้ว่า ตัวเลขต่างๆ เริ่มที่จะนิ่งแล้ว ซึ่งเป็นไปเช่นเดียวกับตัวเลขโดยรวมของประเทศ ที่จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่เริ่มต่ำกว่า 50 คนต่อวัน
การที่ตัวเลขภายในพื้นที่เริ่มนิ่งนั้นก็มาจากการทำทุกวิถีทางของทุกภาคส่วน ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด บุคลากรทางการแพทย์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า โดยมี ศอ.บต.และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการและเติมเต็มช่องว่าง จนทำให้การจัดระเบียบสังคมค่อนข้างประสบความสำเร็จ หลังจากที่ใช้เวลาระยะหนึ่งในการสร้างความเข้าใจกับผู้นำศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะใน จ.ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส
ในส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ก็ได้ทำงานกันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง ใช้สารพัดมาตรการเอามาจัดการปัญหา โดยเฉพาะนายไกรศร วิศิษฐ์วงศ์ ผวจ.ปัตตานี ถึงกับต้อง ”งัดยาแรง” ด้วยการประกาศ ”เอาผิด” ผู้นำท้องที่ที่ละเลยและขาดความใส่ใจในการให้ความร่วมมือของการป้องกันการแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ในพื้นที่รับผิดชอบ เชื่อว่า ในวันศุกร์นี้ มัสยิดที่ยังไม่เชื่อฟัง ที่ยังไม่ให้ความร่วมมืองดการละหมาดวันศุกร์ คงจะให้ความร่วมมือเกือบทั้งหมด
แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วง นั่นคือ หลังการประกาศ “ล็อกดาวน์” ของผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ และการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของนายกรัฐมนตรี เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นทำให้เกิดปัญหาปากท้องของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่หาเช้ากินค่ำ ที่กำลังได้รับความเดือดร้อนจากการหยุดงาน และการทำงานไม่ได้

นิยามของคำว่า ”หาเช้ากินค่ำ” นั้น หลายคนอาจจะพูดจนติดปากแต่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง คนที่เข้าใจคำว่า ”หาเช้ากินค่ำ” อย่างแท้จริงคือคนยากจน ที่หากไม่ได้ออกไปทำงานในตอนเช้า ย่อมหมายถึงว่าตอนค่ำ ครอบครัวจะไม่มีกิน ซึ่งเราจะเห็นว่า คนที่หาเช้ากินค่ำ หลังจากรับค่าจ้างแล้ว ก็จะซื้อสิ่งของ ข้าวสารและอาหารกลับบ้าน เพื่อเป็นอาหารมื้อค่ำของครอบครัว
ปัญหาปากท้องที่เกิดขึ้นเกิดกับคนหลายกลุ่ม ทั้งผู้ที่ต้องกรีดยางในช่วงการประกาศเคอร์ฟิว ซึ่งมีอยู่ในหลายจังหวัด กลุ่มประมงพื้นที่ ซึ่งต้องออกเรือตอนค่ำและกลับเข้าฝั่งตอนเช้า เช่นเดียวกับกลุ่มแรงงาน ในโรงงาน พ่อค้าแม่ค้าในตลาดทั่วไปที่ได้รับความเดือนร้อนจากการ ”ล็อกดาวน์” เพื่อให้อยู่บ้าน ซึ่งการปิดเมือง การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นเรื่องจำเป็น แต่ถ้าสถานการณ์ดีขึ้นหรือส่วนไหนที่ดีขึ้น ต้องยกเว้นโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนทำมาหากินได้ เพื่อผ่อนคลายความเดือดร้อนของผู้ที่อยู่ในกลุ่มคน ”หาเช้ากินค่ำ” นั่นเอง
ทั้งนี้ โดยข้อเท็จจริง ประเทศเราไม่ได้อยู่ในสภาพของความเลวร้ายจากการระบาดของโควิด-19 ทั้งประเทศ ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด ดังนั้น จึงควรจะมีการพิจารณาเป็นพื้นที่ๆ ไป ไม่ใช้ทำแบบ ”เหวี่ยงแห” จนสร้างความลำบากให้ผู้คนทั้งประเทศ
และอีกมุมหนึ่ง กลุ่มพื้นที่ที่มีการระบาดที่มาจากต้นตอเดียวกัน สาเหตุที่คล้ายกันนั้น กลุ่มแรกคือกลุ่มใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีต้นตอมาจากกลุ่มนักกิจกรรมทางศาสนา หรืออีกกลุ่มคือจังหวัดในพื้นที่ฝั่งอันดามัน ภูเก็ต พังงา กระบี่ ที่ต้นเหตุมาจากนักท่องเที่ยวและสถานบันเทิง ก็น่าจะมีการ ”พูดคุย” มีการประชุมกลุ่มจังหวัด เพื่อการจัดการที่เหมือนกัน
ส่วนกลุ่มที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยก็บริหารจัดการ ”ขีดวง” เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคให้ได้ผลยิ่งขึ้น ซึ่งน่าจะดีกว่าต่างคนต่างทำ หรือถึงขั้นที่ ผวจ.พังงาต้องใช้วิธีการเขียนจดหมายถึง ผวจ.ภูเก็ต เพื่อขอร้องอย่าให้คนใน จ.ภูเก็ตเดินทางมายัง จ.พังงา เป็นต้น

นอกจากนี้ จากการติดตามดูการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะพบว่า ถ้าท้องถิ่นหรือชุมชนเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะประสบความสำเร็จในการป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ เช่นที่หมู่บ้านคีรีวงค์ จ.นครศรีธรรมราช ที่ท้องถิ่นลุกขึ้นมาร่วมมือร่วมใจกันปกป้องชุมชนของตนเองจนประสบความสำเร็จ
และเมื่อเทียบกับในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีตัวอย่างที่ ศอ.บต.ใช้กลไกของ “สภาสันติสุขตำบล” เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการกับพื้นที่ในระดับหมู่บ้านและตำบล เพื่อสร้างความเข้าใจในหมู่ประชาชนเพื่อปกป้องตนเองและครอบครัว ให้รู้ว่า ต้องใช้หน้ากากเพื่อการป้องกัน และให้รู้ว่าการคลุมหน้าแบบธรรมดาหรือที่เรียกว่า “มุสลีมะ” นั้นป้องกันไวรัสโควิด-19 ไม่ได้
ปัจจุบัน ศอ.บต.และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าได้กำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่และการปฏิบัติงานของสภาสันติสุขตำบล เพื่อให้ครอบคลุมทั้งด้านความมั่นคง การรักษาความปลอดภัย หรือความมั่นคงทางกายภาพ และความมั่นคงทางสังคม นั้นคือเรื่องของ สุขภาพ การช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบาง ซึ่งก็คือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และเด็กกำพร้า การเสริมสร้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อสนับสนุนแผนงานของตำบล ซึ่งในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ
พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. บอกไว้ว่า วิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นถึงประสิทธิภาพของสภาสันติสุขตำบลและหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ในระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน เช่น บัณฑิตอาสา อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้สภาสันติสุขตำบล ที่มีการร่วมมือกันอย่างเต็มความสามารถ จนทำให้สถานการณ์โดยรวมดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
แน่นอน โดยข้อเท็จจริง ท้องถิ่นและท้องที่คือกำลังสำคัญกับทุกมิติ ไม่เพียงแต่เรื่องความมั่นคงในชีวิตและสุขภาพของประชาชนในช่วงเวลาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังเป็นกำลังสำคัญในเรื่องของความมั่นคง ถ้าท้องที่และท้องถิ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่าว่าแต่ ”โควิด-19” แม้แต่ ”ไฟใต้” ที่ลุกโชนมา 16 ปี ถ้าทำให้ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่นร่วมมือร่วมใจกับหน่วยงานของรัฐจริงๆ เมื่อไหร่ การดับไฟใต้ก็คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
โดย..ศูนย์ข่าวภาคใต้.
.
.
สถานการณ์การแพร่ระบาดของ”โควิด-19” ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันประกอบด้วยปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส และสงขลา ก่อนหน้าวันที่กลุ่มดาวะห์จะเดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 6 เม.ย.มาถึงยังท่าอากาศยานหาดใหญ่ ซึ่งพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มนี้ถึง 42 คนนั้น นับได้ว่า ตัวเลขต่างๆ เริ่มที่จะนิ่งแล้ว ซึ่งเป็นไปเช่นเดียวกับตัวเลขโดยรวมของประเทศ ที่จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่เริ่มต่ำกว่า 50 คนต่อวัน
การที่ตัวเลขภายในพื้นที่เริ่มนิ่งนั้นก็มาจากการทำทุกวิถีทางของทุกภาคส่วน ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด บุคลากรทางการแพทย์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า โดยมี ศอ.บต.และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการและเติมเต็มช่องว่าง จนทำให้การจัดระเบียบสังคมค่อนข้างประสบความสำเร็จ หลังจากที่ใช้เวลาระยะหนึ่งในการสร้างความเข้าใจกับผู้นำศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะใน จ.ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส
ในส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ก็ได้ทำงานกันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง ใช้สารพัดมาตรการเอามาจัดการปัญหา โดยเฉพาะนายไกรศร วิศิษฐ์วงศ์ ผวจ.ปัตตานี ถึงกับต้อง ”งัดยาแรง” ด้วยการประกาศ ”เอาผิด” ผู้นำท้องที่ที่ละเลยและขาดความใส่ใจในการให้ความร่วมมือของการป้องกันการแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ในพื้นที่รับผิดชอบ เชื่อว่า ในวันศุกร์นี้ มัสยิดที่ยังไม่เชื่อฟัง ที่ยังไม่ให้ความร่วมมืองดการละหมาดวันศุกร์ คงจะให้ความร่วมมือเกือบทั้งหมด
แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วง นั่นคือ หลังการประกาศ “ล็อกดาวน์” ของผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ และการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของนายกรัฐมนตรี เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นทำให้เกิดปัญหาปากท้องของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่หาเช้ากินค่ำ ที่กำลังได้รับความเดือดร้อนจากการหยุดงาน และการทำงานไม่ได้
นิยามของคำว่า ”หาเช้ากินค่ำ” นั้น หลายคนอาจจะพูดจนติดปากแต่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง คนที่เข้าใจคำว่า ”หาเช้ากินค่ำ” อย่างแท้จริงคือคนยากจน ที่หากไม่ได้ออกไปทำงานในตอนเช้า ย่อมหมายถึงว่าตอนค่ำ ครอบครัวจะไม่มีกิน ซึ่งเราจะเห็นว่า คนที่หาเช้ากินค่ำ หลังจากรับค่าจ้างแล้ว ก็จะซื้อสิ่งของ ข้าวสารและอาหารกลับบ้าน เพื่อเป็นอาหารมื้อค่ำของครอบครัว
ปัญหาปากท้องที่เกิดขึ้นเกิดกับคนหลายกลุ่ม ทั้งผู้ที่ต้องกรีดยางในช่วงการประกาศเคอร์ฟิว ซึ่งมีอยู่ในหลายจังหวัด กลุ่มประมงพื้นที่ ซึ่งต้องออกเรือตอนค่ำและกลับเข้าฝั่งตอนเช้า เช่นเดียวกับกลุ่มแรงงาน ในโรงงาน พ่อค้าแม่ค้าในตลาดทั่วไปที่ได้รับความเดือนร้อนจากการ ”ล็อกดาวน์” เพื่อให้อยู่บ้าน ซึ่งการปิดเมือง การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นเรื่องจำเป็น แต่ถ้าสถานการณ์ดีขึ้นหรือส่วนไหนที่ดีขึ้น ต้องยกเว้นโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนทำมาหากินได้ เพื่อผ่อนคลายความเดือดร้อนของผู้ที่อยู่ในกลุ่มคน ”หาเช้ากินค่ำ” นั่นเอง
ทั้งนี้ โดยข้อเท็จจริง ประเทศเราไม่ได้อยู่ในสภาพของความเลวร้ายจากการระบาดของโควิด-19 ทั้งประเทศ ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด ดังนั้น จึงควรจะมีการพิจารณาเป็นพื้นที่ๆ ไป ไม่ใช้ทำแบบ ”เหวี่ยงแห” จนสร้างความลำบากให้ผู้คนทั้งประเทศ
และอีกมุมหนึ่ง กลุ่มพื้นที่ที่มีการระบาดที่มาจากต้นตอเดียวกัน สาเหตุที่คล้ายกันนั้น กลุ่มแรกคือกลุ่มใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีต้นตอมาจากกลุ่มนักกิจกรรมทางศาสนา หรืออีกกลุ่มคือจังหวัดในพื้นที่ฝั่งอันดามัน ภูเก็ต พังงา กระบี่ ที่ต้นเหตุมาจากนักท่องเที่ยวและสถานบันเทิง ก็น่าจะมีการ ”พูดคุย” มีการประชุมกลุ่มจังหวัด เพื่อการจัดการที่เหมือนกัน
ส่วนกลุ่มที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยก็บริหารจัดการ ”ขีดวง” เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคให้ได้ผลยิ่งขึ้น ซึ่งน่าจะดีกว่าต่างคนต่างทำ หรือถึงขั้นที่ ผวจ.พังงาต้องใช้วิธีการเขียนจดหมายถึง ผวจ.ภูเก็ต เพื่อขอร้องอย่าให้คนใน จ.ภูเก็ตเดินทางมายัง จ.พังงา เป็นต้น
นอกจากนี้ จากการติดตามดูการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะพบว่า ถ้าท้องถิ่นหรือชุมชนเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะประสบความสำเร็จในการป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ เช่นที่หมู่บ้านคีรีวงค์ จ.นครศรีธรรมราช ที่ท้องถิ่นลุกขึ้นมาร่วมมือร่วมใจกันปกป้องชุมชนของตนเองจนประสบความสำเร็จ
และเมื่อเทียบกับในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีตัวอย่างที่ ศอ.บต.ใช้กลไกของ “สภาสันติสุขตำบล” เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการกับพื้นที่ในระดับหมู่บ้านและตำบล เพื่อสร้างความเข้าใจในหมู่ประชาชนเพื่อปกป้องตนเองและครอบครัว ให้รู้ว่า ต้องใช้หน้ากากเพื่อการป้องกัน และให้รู้ว่าการคลุมหน้าแบบธรรมดาหรือที่เรียกว่า “มุสลีมะ” นั้นป้องกันไวรัสโควิด-19 ไม่ได้
ปัจจุบัน ศอ.บต.และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าได้กำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่และการปฏิบัติงานของสภาสันติสุขตำบล เพื่อให้ครอบคลุมทั้งด้านความมั่นคง การรักษาความปลอดภัย หรือความมั่นคงทางกายภาพ และความมั่นคงทางสังคม นั้นคือเรื่องของ สุขภาพ การช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบาง ซึ่งก็คือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และเด็กกำพร้า การเสริมสร้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อสนับสนุนแผนงานของตำบล ซึ่งในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ
พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. บอกไว้ว่า วิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นถึงประสิทธิภาพของสภาสันติสุขตำบลและหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ในระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน เช่น บัณฑิตอาสา อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้สภาสันติสุขตำบล ที่มีการร่วมมือกันอย่างเต็มความสามารถ จนทำให้สถานการณ์โดยรวมดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
แน่นอน โดยข้อเท็จจริง ท้องถิ่นและท้องที่คือกำลังสำคัญกับทุกมิติ ไม่เพียงแต่เรื่องความมั่นคงในชีวิตและสุขภาพของประชาชนในช่วงเวลาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังเป็นกำลังสำคัญในเรื่องของความมั่นคง ถ้าท้องที่และท้องถิ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่าว่าแต่ ”โควิด-19” แม้แต่ ”ไฟใต้” ที่ลุกโชนมา 16 ปี ถ้าทำให้ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่นร่วมมือร่วมใจกับหน่วยงานของรัฐจริงๆ เมื่อไหร่ การดับไฟใต้ก็คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป