xs
xsm
sm
md
lg

ล็อกดาวน์หมู่บ้านจากพิษโควิด-19 จะนานสักเท่าไหร่ คลังอาหารจาก “ศูนย์เรียนรู้ตามรอยเท้าพ่อ” ก็เอาอยู่!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

 
คอลัมน์ : จากนาบอนถึงริมฝั่งเจ้าพระยา  /  โดย... ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที ผู้ดำเนินรายการสภากาแฟช่อง NEWS 1
 


 
ผมเองในฐานะที่ปรึกษา “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ หนองกระทิง-นาบอน” บ้านโป่งเจริญ หมู่ที่ 12 ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
.
ทราบข่าวจากชาวบ้านว่า หลังจากทางราชการได้ประกาศปิดหมู่บ้านมา 2-3 วัน ชาวบ้านไม่สามารถออกนอก-เข้าในได้ ถือเป็นการสกัดกั้นโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ไม่ให้แพร่กระจายต่อเนื่องนั้น
.
ทางทีมงานวิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ หนองกระทิง-นาบอน บอกเล่าให้ผมทราบว่า
 .


 
“คนเฒ่าคนแก่ คนชราในหมู่บ้านเองก็รับประทานอาหารแบบสำเร็จรูปจากกล่องโฟมที่ทางราชการลำเลียงไปให้มาหลายมื้อแล้ว คงเริ่มเบื่ออาหาร บางคนก็ไม่คุ้นชินกับอาหารกล่องโฟม...
.
 
“เมื่อทางศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ หนองกระทิง-นาบอน ทราบข่าวถึงอาการเบื่ออาหารของบรรดาผู้อาวุโส ก็เลยเก็บผักต่างๆ จับปลาดุกในบ่อที่เลี้ยงไว้ไปร่วมบริจาคให้แก่ชาวบ้านที่หมู่บ้านโป่งเจริญ... 
.
“เรารวบรวมนำกันไปเองเลย นำไปมอบผ่านเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่สกัดกั้นอยู่ปากทางเข้าหมู่บ้าน บอกว่าให้ช่วยให้นำไปส่งให้พวกเขาด้านในของหมู่บ้านด้วย”
.


 
ผมถามไปยัง “พี่แมน” ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ หนองกระทิง-นาบอน ว่า ในบ่อเลี้ยงกบมีกบเท่าไหร่ เขาตอบกลับมาว่ามีประมาณ 3,000 ตัว
.
ผมถามเขาว่า “ปลาดุก” ลงไปเท่าไหร่และตอนนี้เหลืออยู่เท่าไหร่ เขาบอกว่ายังมีประมาณ 30,000 ตัว
.
ผมเองคำนวณแล้วว่า จำนวนอาหารที่เป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อาหารที่น่าจะถูกปากชาวบ้านมากกว่าข้าวในกล่องโฟนนั้น เราสามารถนำช่วยพวกเขาได้ประมาณ 2-3 เดือนเลยทีเดียว 
.


 
ผมบอก “พี่แมน” ไปว่า...
.
เห็นอานิสงส์ หรืออิทธิฤทธิ์วาจาอันมีปาฏิหาริย์ของ “หลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อของแผ่นดิน” หรือยัง 
.
จากกรณีการมีคำสั่งของทางราชการเพื่อปิดเส้นทางเข้า-ออกหมู่บ้านโป่งเจริญ ซึ่งปรากฏมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวนเพียงแค่ 1 ราย จากการไปสนามมวยของนายยก อบจ.ฉะเชิงเทรา
.


 
ตลอด 2-3 วันมานี้ ทางอำเภอสนามชัยเขตได้ส่งข้าวกล่องเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในหมู่บ้านโงเจริญ แต่คนเฒ่าคนชราคงเป็นโรคเบื่ออาหาร อาจจะไม่คุ้นปาก ทำให้ร่างกายอาจจะอ่อนแอลงได้
.
เจ้าหน้าที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ หนองกระทิง-นาบอน พอทราบข่าวก็เลยจัดหารวบรวมเอาเสบียงอาหารที่ช่วยกันปลูก ช่วยกันเลี้ยง ด้วยแนวคิดจากงานกสิกรรมธรรมชาติเข้าไปหนุนช่วย
.
คำปราชญ์จากเรียวปาก “อ.ยักษ์” หรือ “อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร” ก้องขึ้นมาในความทรงจำทันที 
.
“เงินทองของมายา ข้าวปลานั้นของจริง ในยามเกิดวิกฤตของสังคม ของประเทศชาติ คลังอาหารของชุมชนและหมู่บ้าน นั่นคือ ความมั่นคงของมนุษย์ ในหลวงผู้เป็นพ่อของแผ่นดินได้บอกเรามาตลอด”
.


 
ในสภาวะเช่นนี้แม้จะปิดหมู่บ้านโป่งเจริญ หรือมีเหตุการณ์ศึกสงคราม อาหารที่เลี้ยงชุมชน คลังอาหารของชุมชนและหมู่บ้าน นั่นคือ ความมั่นคงของมนุษย์ เราเตรียมไว้แล้วที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อที่มีอยู่มากมายหลายแห่ง
.
เหตุการณ์วิกฤตชาติครั้งนี้ ผมอยากจะถามสังคมไทยว่า
.
นานเท่าไหร่แล้วที่สังคมไทยเดินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แบบหลงลืมชนบท แบบหลงลืมหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อของแผ่นดิน
.
“วาจาอันมีปาฏิหาริย์ มิบังควรหายไปในอากาศ” 
.


 
และที่นี่ “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ หนองกระทิง-นาบอน” ก็ได้ทำให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า...
.
วาจาอันเป็นคำสอนของ “พ่อของแผ่นดิน” นั้นมีปาฏิหาริย์ และได้ช่วยผู้เฒ่าผู้แก่คนชราของหมู่บ้านโป่งเจริญ หมู่ที่ 12 ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ได้จริงๆ
 
 




กำลังโหลดความคิดเห็น