สุราษฎร์ธานี - จังหวัดสุราษฎร์ธานีพบนักท่องเที่ยวต่างชาติติดโควิด-19 แล้ว 3 เป็นชาย 1 หญิง 2 เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง 108 ราย รวมทั้งพระสงฆ์ 9 รูป ที่กลับจากปาริวาสกรรมที่จังหวัดนครนายก ขณะผู้ว่าราชการจังหวัดเน้นย้ำยังไม่มีการประกาศปิดเมือง

วันนี้ (20 มี.ค.) นายประเวศ ไทยประยูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ประชุมติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ห้องประชุมชั้น 4 ศาลากลางจังหวัด โดยมีนายแพทย์มนู ศุกลสกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม พบว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย รายที่ 1 เป็นชายอายุ 49 ปี รักษาตัวที่ห้องแยกความดันลบ อาการยังวิกฤต มีภาวะปอดอักเสบต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและฟอกไต รายที่ 2 เป็นหญิงสาว อาชีพแอร์โฮสเตส อายุ 29 ปี รักษาที่โรงพยาบาลเกาะพะงัน ล่าสุด ถูกส่งตัวเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และรายที่ 3 เป็นนักท่องเที่ยวหญิงสาวชาวต่างชาติ เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเกาะพะงัน แต่อาการไม่รุนแรงแพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นที่บ้านพัก และมีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง จำนวน 108 ราย รวมพระสงฆ์ที่ถูกส่งตัวกลับจากการร่วมปาริวาสกรรมที่จังหวัดนครนายกอีกจำนวน 9 รูป ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ขอความร่วมมือขอให้อยู่ในบริเวณตามกระบวนการเป็นเวลา 14 วัน
ขณะเดียวกัน ที่วัดกลางใหม่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี พระครูปริยัติคุณาวุฒิ รองเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี เจ้าอาวาสวัดกลางใหม่ ได้ระดมจิตอาสา มาจัดทำหน้ากากผ้าถวายแก่พระสงฆ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีกว่า 1,500 รูป โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินทางมาร่วมการตัดเย็บ พร้อมทั้งกล่าวให้กำลังใจและขอความร่วมมือการป้องกันตนเองก่อนเพื่อหาทางสกัดกั้นการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 โดยหลีกเลี่ยงสถานที่เป็นจุดเสี่ยงทั้งหมด และกินร้อน ช้อนฉัน ยืนห่างกัน 2 เมตร รับรองปลอดภัย
จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางตรวจเยี่ยมให้กำลังใจแก่กลุ่มจิตอาสา ที่ตั้งจุดบริการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อแก่รถยนต์สาธารณะ รถโดยสาร รถรับจ้าง รถยนต์ส่วนบุคคล ที่บริเวณหน้าวัดธรรมบูชา ถนนตลาดใหม่ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งกลุ่มจิตอาสาได้ทำต่อเนื่องมาเป็นวันที่ 4 โดยมีผู้ใหญ่ใจดีและประชาชนทั่วไปซื้อน้ำยามาบริจาคให้บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อและบริการให้ความรู้แก่ประชาชนให้รู้จักป้องกันดูแลตนเองจากภัยร้ายของเชื้อไวรัสโควิด-19
พร้อมเน้นย้ำว่า ทางจังหวัดไม่ได้ปิดเมืองแต่อย่างใด เพียงแต่เพิ่มมาตรการคัดกรองเข้มข้นป้องกันความเสี่ยงจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยได้ลงนามในคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ 1/2563 เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 โดยเห็นชอบให้ปิดสถานประกอบการบางประเภทในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ดังนี้ (1.) ให้ปิดสถานบริการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 ทุกแห่งเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคุม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563
(2.) ให้ปิดสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ ได้แก่ สถานบันเทิง ผับ บาร์ ร้านคาราโอเกะ และสถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายหรือให้บริการ โดยจัดให้มีดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเพลงหรือการแสดงดนตรี หรือมีการจัดแสงหรือเสียง หรือการจัดแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 (3)ให้ปิดสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่อสุขภาพ/นวดแผนโบราณ/แผนไทย และกิจการสปา อบไอน้ำ อบสมุนไพร ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีทุกแห่งเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563
(4.) ให้ปิดโรงภาพยนตร์ โรงมหรสพทุกแห่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 (5.) ให้ปิดสถานที่สนามชนไก่ กัดปลา ประลองโค ชนโค ชนกระบือ ทุกแห่งที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้สถานที่สำหรับจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ กัดปลา ประลองโค ขนโค ชนกระบือ ตลอดจนกิจกรมการซ้อมชนไก่ เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 (6.) ให้ปิดสถานประกอบการที่ให้บริการเกี่ยวกับการออกกำลังกาย และ/หรือโยคะ ที่อยู่ภายในอาคารทุกแห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563
(7.) ให้ปิดร้านเกม ร้านอินเทอร์เน็ตทุกแห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 (8.) ให้ปิดสนามมวย สนามซ้อมมวย สนามกีฬา สนามฟุตบอล สนามฟุตซอล สวนสนุก สระว่ายน้ำ ทุกแห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 (9.) สถานศึกษาทุกสังกัดในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ถือปฏิบัติการปิดการเรียนการสอน การสอบ หรือเลื่อนการสอบ ตามที่ต้นสังกัดกำหนดอย่างเคร่งครัด (10.) ให้ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกสังกัด และโรงเรียนตาดีกาประจำมัสยิดทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลาย (11.) ให้งดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินกว่า 50 คน
เช่น การจัดการแสดงดนตรี คอนเสิร์ต การจัดประชุม อบรม สัมมนา หรือหากมีความจำเป็นต้องจัดกิจกรรมอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ละคนต้องนั่งห่างกันไม่น้อยกว่าระยะ 1 เมตร ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลาย (12.) ให้สถานที่ทำงาน ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ร้านค้า ร้านอาหาร และตลาดชุมชนทุกแห่งใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยการทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส ห้องสุขา การดูแลสุขภาพและการป้องกันการติดเชื้อของพนักงานและบุคลากร เช่น การใช้หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า การจัดจุดบริการเจลล้างมือ การจัดการขยะ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลาย
วันนี้ (20 มี.ค.) นายประเวศ ไทยประยูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ประชุมติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ห้องประชุมชั้น 4 ศาลากลางจังหวัด โดยมีนายแพทย์มนู ศุกลสกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม พบว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย รายที่ 1 เป็นชายอายุ 49 ปี รักษาตัวที่ห้องแยกความดันลบ อาการยังวิกฤต มีภาวะปอดอักเสบต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและฟอกไต รายที่ 2 เป็นหญิงสาว อาชีพแอร์โฮสเตส อายุ 29 ปี รักษาที่โรงพยาบาลเกาะพะงัน ล่าสุด ถูกส่งตัวเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และรายที่ 3 เป็นนักท่องเที่ยวหญิงสาวชาวต่างชาติ เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเกาะพะงัน แต่อาการไม่รุนแรงแพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นที่บ้านพัก และมีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง จำนวน 108 ราย รวมพระสงฆ์ที่ถูกส่งตัวกลับจากการร่วมปาริวาสกรรมที่จังหวัดนครนายกอีกจำนวน 9 รูป ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ขอความร่วมมือขอให้อยู่ในบริเวณตามกระบวนการเป็นเวลา 14 วัน
ขณะเดียวกัน ที่วัดกลางใหม่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี พระครูปริยัติคุณาวุฒิ รองเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี เจ้าอาวาสวัดกลางใหม่ ได้ระดมจิตอาสา มาจัดทำหน้ากากผ้าถวายแก่พระสงฆ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีกว่า 1,500 รูป โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินทางมาร่วมการตัดเย็บ พร้อมทั้งกล่าวให้กำลังใจและขอความร่วมมือการป้องกันตนเองก่อนเพื่อหาทางสกัดกั้นการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 โดยหลีกเลี่ยงสถานที่เป็นจุดเสี่ยงทั้งหมด และกินร้อน ช้อนฉัน ยืนห่างกัน 2 เมตร รับรองปลอดภัย
จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางตรวจเยี่ยมให้กำลังใจแก่กลุ่มจิตอาสา ที่ตั้งจุดบริการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อแก่รถยนต์สาธารณะ รถโดยสาร รถรับจ้าง รถยนต์ส่วนบุคคล ที่บริเวณหน้าวัดธรรมบูชา ถนนตลาดใหม่ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งกลุ่มจิตอาสาได้ทำต่อเนื่องมาเป็นวันที่ 4 โดยมีผู้ใหญ่ใจดีและประชาชนทั่วไปซื้อน้ำยามาบริจาคให้บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อและบริการให้ความรู้แก่ประชาชนให้รู้จักป้องกันดูแลตนเองจากภัยร้ายของเชื้อไวรัสโควิด-19
พร้อมเน้นย้ำว่า ทางจังหวัดไม่ได้ปิดเมืองแต่อย่างใด เพียงแต่เพิ่มมาตรการคัดกรองเข้มข้นป้องกันความเสี่ยงจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยได้ลงนามในคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ 1/2563 เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 โดยเห็นชอบให้ปิดสถานประกอบการบางประเภทในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ดังนี้ (1.) ให้ปิดสถานบริการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 ทุกแห่งเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคุม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563
(2.) ให้ปิดสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ ได้แก่ สถานบันเทิง ผับ บาร์ ร้านคาราโอเกะ และสถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายหรือให้บริการ โดยจัดให้มีดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเพลงหรือการแสดงดนตรี หรือมีการจัดแสงหรือเสียง หรือการจัดแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 (3)ให้ปิดสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่อสุขภาพ/นวดแผนโบราณ/แผนไทย และกิจการสปา อบไอน้ำ อบสมุนไพร ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีทุกแห่งเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563
(4.) ให้ปิดโรงภาพยนตร์ โรงมหรสพทุกแห่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 (5.) ให้ปิดสถานที่สนามชนไก่ กัดปลา ประลองโค ชนโค ชนกระบือ ทุกแห่งที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้สถานที่สำหรับจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ กัดปลา ประลองโค ขนโค ชนกระบือ ตลอดจนกิจกรมการซ้อมชนไก่ เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 (6.) ให้ปิดสถานประกอบการที่ให้บริการเกี่ยวกับการออกกำลังกาย และ/หรือโยคะ ที่อยู่ภายในอาคารทุกแห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563
(7.) ให้ปิดร้านเกม ร้านอินเทอร์เน็ตทุกแห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 (8.) ให้ปิดสนามมวย สนามซ้อมมวย สนามกีฬา สนามฟุตบอล สนามฟุตซอล สวนสนุก สระว่ายน้ำ ทุกแห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 (9.) สถานศึกษาทุกสังกัดในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ถือปฏิบัติการปิดการเรียนการสอน การสอบ หรือเลื่อนการสอบ ตามที่ต้นสังกัดกำหนดอย่างเคร่งครัด (10.) ให้ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกสังกัด และโรงเรียนตาดีกาประจำมัสยิดทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลาย (11.) ให้งดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินกว่า 50 คน
เช่น การจัดการแสดงดนตรี คอนเสิร์ต การจัดประชุม อบรม สัมมนา หรือหากมีความจำเป็นต้องจัดกิจกรรมอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ละคนต้องนั่งห่างกันไม่น้อยกว่าระยะ 1 เมตร ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลาย (12.) ให้สถานที่ทำงาน ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ร้านค้า ร้านอาหาร และตลาดชุมชนทุกแห่งใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยการทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส ห้องสุขา การดูแลสุขภาพและการป้องกันการติดเชื้อของพนักงานและบุคลากร เช่น การใช้หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า การจัดจุดบริการเจลล้างมือ การจัดการขยะ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลาย