xs
xsm
sm
md
lg

รองเลขาธิการ ศอ.บต.ลงพบปะชาวกาบัง เปิดกิจกรรมธนาคารต้นไม้ หนุนปลูกไผ่สร้างรายได้

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



 
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - รองเลขาธิการ ศอ.บต. ลงพื้นที่พบปะประชาชน อ.กาบัง จ.ยะลา เปิดกิจกรรมธนาคารต้นไม้ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นปลูกไผ่แล้วมีตลาดรองรับแน่นอน

วันนี้ (4 มี.ค.) ที่ลานกิจกรรมโรงเรียนกาบังพิทยาคม อ.กาบัง จ.ยะลา องค์การบริหารส่วนตำบลกาบังจัดโครงการธนาคารต้นไม้ กิจกรรมอบรมการปรับเปลี่ยน การผลิตสู่ชุมชน ไม้มีค่า-ไผ่เศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่ทำกินของตนเอง เพื่อสร้างมูลค่า เป็นทรัพย์สินที่สามารถนำไปช่วยแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ พร้อมเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ตามแนวทางธนาคารต้นไม้ให้เกิดการพึ่งพาตนเอง

โดยมี นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม พร้อมบรรยายพิเศษนโยบายด้านพลังงานในพื้นที่ ทางเลือก..ทางรอด เศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีหัวหน้าราชการส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ รวมทั้งประชาชนเข้าร่วมรับฟังและเรียนรู้แนวคิดธนาคารต้นไม้ การพัฒนาวิถีแห่งความพอเพียงมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนเป็นจำนวนมาก

นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวบรรยายนโยบายด้านพลังงานในพื้นที่ตอนหนึ่งว่า พลังงานจะไม่เกิดขึ้นหากประชาชนไม่เข้าใจเศรษฐกิจฐานชีวมวล ซึ่งหมายถึงการเริ่มกระบวนการตั้งแต่การผลิตและได้ก๊าซชีวภาพ เพื่อนำทรัพยากรชีวิภาพมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่หมุนเวียนได้และมีมูลค่า อาทิ อาหารคน อาหารสัตว์ เครื่องสำอาง ยา ฯลฯ รัฐบาลจึงมอบหมายให้ ศอ.บต. ขับเคลื่อนและสนับสนุนให้ประชาชนปลูกไม้โตเร็ว 58 ชนิด โดยเฉพาะพืชไผ่ เพื่อป้อนสู่โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก เป็นอาชีพและรายได้ทางเลือกรองจากการกรีดยางพารา
 


 
500,000 ไร่ ในระยะเวลา 5 ปี เป็นเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดให้ ศอ.บต.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขยายพื้นที่เพาะปลูกไม้โตเร็ว โดยเฉพาะพืชไผ่ ซึ่งอำเภอกาบังเป็นอำเภอหนึ่งในหลายอำเภอที่ ศอ.บต.ให้การสนับสนุน ซึ่งไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีตลาดรองรับไผ่ เพราะ ศอ.บต.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวางแนวทางการตลาดสำหรับพืชไผ่ พืชเศรษฐกิจใหม่ จชต.

“โดยประชาชนสามารถตัดลำไผ่ป้อนเข้าสู่โรงงานเฟอร์นิเจอร์และโรงไฟฟ้าขนาดเล็กในพื้นที่ 28 แห่งได้แล้ว นอกจากนี้ ศอ.บต.จะร่วมกับสถาบันวิชาการ มอบความรู้การแปรรูปไผ่ เพื่อสร้างมูลค่าสินค้าจากไผ่แก่ประชาชน โดยผู้สนใจปลูกไผ่สามารถติดต่อไปยังหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นหรือสภาเกษตรกรในพื้นที่ได้แล้ววันนี้” รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าว

ด้าน นายอับดุลรอมัน แวอุเซ็ง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารต้นไม้ศรีกาบัง ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดกิจกรรมว่า กาบังเป็นพื้นที่ที่โดดเด่นเรื่องไผ่ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ทุกหมู่บ้านจะมีการปลูกไผ่เพื่อประโยชน์ใช้สอยในครัวเรือน อาจทำเฟอร์นิเจอร์ใช้ภายในบ้านและอื่นๆ ซึ่งมีหลากหลายกว่า 11 ชนิด มีพื้นที่ปลูกไผ่ทั้งอำเภอโดยประมาณกว่า 20,000 ไร่ และขณะนี้มีโรงงานในพื้นที่จังหวัดปัตตานีสั่งออเดอร์ไผ่เพื่อนำไปทำเฟอร์นิเจอร์เป็นจำนวนมากแล้ว คิดว่าจะสามารถสร้างรายได้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ได้พอสมควร

อย่างไรก็ดี พืชไผ่ถือเป็น 1 ใน 58 ไม้โตเร็วที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ประชาชนปลูกเพื่อตัดทำการค้า และสามารถนำไปค้ำประกันในลักษณะของการกู้เงินกับธนาคารได้ เพื่อผลักดันการลงทุนของประชาชนให้มีรายได้และอาชีพที่มั่นคง
 


 
พื้นที่ปลูกยางถ้าเป็นไปได้ก็คงเดิมไว้ก่อน แต่สามารถปลูกไผ่เพิ่มเสริมในพื้นที่ที่ว่างเปล่า เช่น หน้าบ้านหลังบ้าน 1 ไร่ 80 ต้นให้มีการกระจายการปลูก นอกจากนี้พื้นที่สาธารณะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้พื้นที่ใดที่เป็นพื้นที่ว่าง ก็สามารถให้หน่วยงานท้องถิ่นแจ้งยังไปยัง สคบ. เพื่อที่ให้ติดต่อกรมที่ดินให้ดำเนินการจัดเป็นพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะ สามารถปลูกไผ่หรือพืชโตเร็วได้ อย่างไรก็ดี อ.กาบัง เป็น 1 ใน 4 กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจาก อบต.

นอกจากนี้เชื้อมวลชีวภาพและสารเคมีจากชีวภาพ ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ด้วยคุณสมบัติหลายประการรัฐบาลจึงให้ ศอ.บต.ดำเนินการขับเคลื่อนการปลูกไผ่เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยเพิ่มพื้นที่การปลูกป่า โดยไม่จำเป็นต้องเป็นพืชไทยอย่างเดียว โดยรัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 มีมติให้ประชาชนปลูกไม้โตเร็ว 58 ประเภท เป็นหลักทรัพย์ในการประกัน เงินกู้ได้ ซึ่ง 1 ใน 58 ประเภทคือพืชไผ่ สามารถค้ำประกันในลักษณะของการกู้เงินได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ 2 ที่ต้องการผลักดันการลงทุนของประชาชนให้มากขึ้น

เราต้องการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อขยายการเพาะปลูกไม้โตเร็ว 500 ไร่ใน 5 ปี โดยผ่านทางสภาเกษตรและกลุ่มเสื้อเขียวในการดำเนินการสำรวจ เพื่อดำเนินแผนเข้าสู่คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 10 เมษายน 2563 นี้ โดยแบ่งเป็น เพิ่มพื้นที่เพาะปลูก 100 ไร่ใน 1 ปี และ 500 ไร่ใน 5 ปี

ในส่วนของการบริหารจัดการภายในภายหลังที่ประชาชนเพาะปลูกแล้วจะสามารถตัดไผ่ ป้อนเข้าสู่โรงงานไฟฟ้าเพื่อเข้าสู่โรงสับ สำหรับขายเป็นชีวมวล แต่หาก ประชาชนคนใดที่ต้องการสร้างรายได้ โดยไม่ตัดส่งโรงงานก็สามารถดำเนินการ แปรรูปไผ่ เป็นเฟอร์นิเจอร์หรือสินค้าที่ตลาดต้องการเพื่อจำหน่ายในประเทศหรือส่งออกนอกประเทศได้
 


 
หากสงสัยว่าปลูกแล้วไม่รู้จะเอาไปไหนทาง อบต. แก้โจทย์รองรับไว้ คือ ตัดแล้วจำหน่ายให้โรงไฟฟ้า ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการ โรงไฟฟ้าขนาดเล็กสะบ้าย้อยหรือ มีโรงไฟฟ้าและโรงงานหลายแห่งติดต่อขอซื้อไผ่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งหากใครทำก่อนก็ได้ก่อน เป็นการเจรจาธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุน อบต.เตรียมการพัฒนานโยบาย ไม่อยากให้ปลูกและตัดเลย จึงต้องมีธุรกิจขั้นกลางจึงร่วมกับสถาบันทางวิชาการหลายแห่งที่จะมารองรับและให้ความรู้แก่ประชาชนในโอกาสต่อไป

นโยบายของเลขาธิการ ศอ.บต. เน้นย้ำเสมอว่า เมื่อประชาชนพร้อมก็พร้อมที่จะสนับสนุน ซึ่งวันนี้ได้เห็นความความเข้มแข็งของอำเภอกาบัง ที่มีจำนวนเกษตรกรมีเป้าหมายในการเพาะปลูกที่แน่นอน สิ่งที่สามารถสนับสนุนได้มีหลากหลายคือ 1.สนับสนุนพันธุ์ไผ่ ปุ๋ยในการเพาะปลูก และยังมีการฝึกอบรมผ่านสภาเกษตร และ ธกส. นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นข้อสำคัญคือการสร้างความเชื่อมั่นในการเชื่อมโยงการตลาด ทุกการผลิตของเกษตรกรต้องมีตลาดรองรับ ซึ่งจากจำนวนโรงงานไฟฟ้า 28 แห่ง ต้องเป็นส่วนหนึ่งในการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร 

ทั้งนี้ไม่อยากให้ชาวบ้านปลูกไผ่แล้วตัดส่งโรงงานโดยตรง เนื่องจากจะมีราคาตันละ 850 บาท ซึ่งไม่สามารถทำให้ประชาชนรวยขึ้นได้ ซึ่งการทำให้รวยขึ้นจะต้องจำเป็นให้ต้องลงทุนเพิ่มมากขึ้นโดยการแปรรูป ซึ่งคิดว่าสถาบันวิชาการที่ อบต.ร่วมมือจะสามารถต่อยอดแนวคิดของประชาชนที่จะแปรรูปสินค้าจากไผ่ได้ดี 

นอกจากนั้นยังมีกลุ่มภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่อาจจะมีโอกาส ภาคเอกชนที่อาจจะมีโอกาสร่วมเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจเพื่อขับเคลื่อน ถ้าประชาชนต้องการแล้วขอให้หน่วยงานรัฐรับเรื่องความต้องการของประชาชนและทำการสนับสนุนให้เต็มที่ ทุกหน่วยจะต้องลงมาสร้างผลิตภัณฑ์และสร้างอาชีพให้คนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือเยาวชน ทุกอย่างต้องมีทางไป สุดท้ายเรามีโรงไฟฟ้ายังไงก็ขายได้
 


กำลังโหลดความคิดเห็น