พังงา - เปิดแล้ว! ตลาดสีเขียวในม่านหมอก แห่งเดียวของภาคใต้ ตลาดนัดเกษตรปลอดสารพิษและของกินพื้นเมือง เสิร์ฟโดยชาวบ้านโดยตรง ที่อำเภอกะปง ลองชิมเมนูแปลกอาหารเฉพาะถิ่นที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น “ปลาดุกหลาม” รสชาติเด็ดในกระบอกไม้ไผ่
เปิดกันอย่างเป็นทางการไปแล้วสำหรับ ตลาดสีเขียวในม่านหมอก แห่งเดียวของภาคใต้ ที่ อ.กะปง จ.พังงา ที่หอการค้าจังหวัดพังงา ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงานจัดขึ้น เพื่อนำผลผลิตจากชุมชนกระจายสู่ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวโดยตรง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มความเข้มแข็งของชุมชน กระจายรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โดยมีนายโชตินรินทร์ เกิดสม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วย นายสมเกียรติ รัตนรังษิวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดพังงา นายเอนก จีวะรัตน์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน และนางกันตวรรณ ตันเถียร ส.ส.จังหวัดพังงา
นายสมเกียรติ รัตนรังษิวัฒน์ กล่าวว่า สำหรับตลาดชุมชนแห่งนี้เกิดจากความร่วมมือของหอการค้าจังหวัดพังงา ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงาน โดยเข้ามาร่วมกับชาวบ้านในชุมชนจัดตั้งโรงเรียนเกษตรปลอดภัยขึ้น เพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ก่อนจะเปิดตลาดนำผลผลิตออกจัดจำหน่ายจากมือผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยได้นำเอาจุดแข็งอีกอย่างหนึ่งของอำเภอกะปง คือ เมืองในม่านหมอกยามเช้า มาผนวกกับตลาด จึงเป็นตลาดนัดชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว
สำหรับตลาดแห่งนี้เปิดจำหน่ายสินค้าในช่วงเช้าของทุกวันเสาร์ ตั้งแต่ 06.00-12.00 น. ภายใต้ชื่อ "ตลาดสีเขียวในม่านหมอกกะปง” เพื่อต่อยอดให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่องเที่ยวชุมชน และเชื่อมโยงไปยังจุดท่องเที่ยวอื่นๆ
นายโชตินรินทร์ เกิดสม กล่าวว่า ตลาดสีเขียวในม่านหมอก เป็นตลาดแห่งเดียวในภาคใต้ที่ต้องเปิดโดยธรรมชาติ นั่นหมายถึง เมื่อนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมบรรยากาศสายหมอกที่หนาจัด กระทั่งจางลง เราจะสามารถมองเห็นสินค้าเกษตรปลอดสารพิษสีเขียว ก่อนตลาดจะเปิด และเริ่มจับจ่ายใช้สอยกัน โดยสินค้าทั้งหมดเป็นสินค้าที่ปลอดสารพิษที่เกษตรกรปลูกเองกับมือและได้รับรองความปลอดภัยจากหลายหน่วยงาน
จึงอยากเชิญชวนพี่น้องประชาชนเดินทางมาเลือกซื้อเลือกหา และ ท่องเที่ยวพักผ่อนชมบรรยากาศของตลาดที่ไม่เหมือนใครในช่วงวันหยุด แถมยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามตามธรรมชาติอีกหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นจุดชมวิวทะเลหมอกภูตาจอ บ่อน้ำร้อนคลองปลายพู่ บ่อน้ำร้อนรมณีย์ น้ำตกที่สวยงามอีกหลายน้ำตก ที่รอทุกท่านให้เข้ามาสัมผัสและเยี่ยมชมอีกด้วย
นอกจากนั้น ตลาดแห่งนี้ยังมีอาหารนานาชนิดที่นำมาเสิร์ฟให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว แต่ที่อยากแนะนำ มาแล้วต้องลองชิมอาหารคือ พื้นถิ่นเมนูเด็ด หากินยากของชาวอำเภอกะปง “ปลาดุกยอกหรือปลาดุกหลาม” ซึ่งเป็นเมนูอาหารคาวที่ตกทอดมาจากคนรุ่นเก่า เป็นภูมิปัญญาของคนโบราณ
ที่นำปลาดุกมาคลุกเคล้ากับพริกแกงและสมุนไพร ยัดใส่ในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำไปหลามบนเตาถ่าน และต้องใช้ไม้ไผ่คอยยอก หรือตำลงไปเรื่อยๆ จนสุก และเนื้อปลาดุกจะหลุดรวมกับพริกแกงและสมุนไพร ส่วนก้างปลาก็จะไปรวมกันอยู่ด้านล่าง ก่อนจะนำไปเทใส่ถาดที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ และกินร่วมกับข้าวห่อใบเร็ดนึ่ง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งของภูมิปัญญาพื้นบ้านในการหุงข้าว โดยรสชาติของปลาดุกยอกจะเผ็ดจัดจ้านร้อนแรงในสไตล์ของชาวปักษ์ใต้อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถมาชิมได้ที่ตลาดสีเขียวในม่านหมอก อ.กะปง ทุกเช้าวันเสาร์
นางอุไรทิพย์ ชัยสุข เปิดเผยว่า เมนูนี้ตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยวิธีทำนั้น นำปลาดุกมาทำความสะอาดผ่าเอาเครื่องในและหัวออก หั่นเป็นท่อนใหญ่ๆ ก่อนนำไปคลุกเคล้ากับพริกแกงตำมือที่เป็นสูตรเฉพาะของที่บ้าน จากนั้นก็นำไปยัดใส่ในกระบอกไม้ไผ่ แล้วนำไปหลามบนเตาถ่าน ระหว่างหลามนั้นต้องใช้ไม้ไผ่คอยยอก หรือตำลงไปในกระบอกเรื่อยๆ จนสุก
เปิดกันอย่างเป็นทางการไปแล้วสำหรับ ตลาดสีเขียวในม่านหมอก แห่งเดียวของภาคใต้ ที่ อ.กะปง จ.พังงา ที่หอการค้าจังหวัดพังงา ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงานจัดขึ้น เพื่อนำผลผลิตจากชุมชนกระจายสู่ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวโดยตรง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มความเข้มแข็งของชุมชน กระจายรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โดยมีนายโชตินรินทร์ เกิดสม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วย นายสมเกียรติ รัตนรังษิวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดพังงา นายเอนก จีวะรัตน์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน และนางกันตวรรณ ตันเถียร ส.ส.จังหวัดพังงา
นายสมเกียรติ รัตนรังษิวัฒน์ กล่าวว่า สำหรับตลาดชุมชนแห่งนี้เกิดจากความร่วมมือของหอการค้าจังหวัดพังงา ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงาน โดยเข้ามาร่วมกับชาวบ้านในชุมชนจัดตั้งโรงเรียนเกษตรปลอดภัยขึ้น เพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ก่อนจะเปิดตลาดนำผลผลิตออกจัดจำหน่ายจากมือผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยได้นำเอาจุดแข็งอีกอย่างหนึ่งของอำเภอกะปง คือ เมืองในม่านหมอกยามเช้า มาผนวกกับตลาด จึงเป็นตลาดนัดชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว
สำหรับตลาดแห่งนี้เปิดจำหน่ายสินค้าในช่วงเช้าของทุกวันเสาร์ ตั้งแต่ 06.00-12.00 น. ภายใต้ชื่อ "ตลาดสีเขียวในม่านหมอกกะปง” เพื่อต่อยอดให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่องเที่ยวชุมชน และเชื่อมโยงไปยังจุดท่องเที่ยวอื่นๆ
นายโชตินรินทร์ เกิดสม กล่าวว่า ตลาดสีเขียวในม่านหมอก เป็นตลาดแห่งเดียวในภาคใต้ที่ต้องเปิดโดยธรรมชาติ นั่นหมายถึง เมื่อนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมบรรยากาศสายหมอกที่หนาจัด กระทั่งจางลง เราจะสามารถมองเห็นสินค้าเกษตรปลอดสารพิษสีเขียว ก่อนตลาดจะเปิด และเริ่มจับจ่ายใช้สอยกัน โดยสินค้าทั้งหมดเป็นสินค้าที่ปลอดสารพิษที่เกษตรกรปลูกเองกับมือและได้รับรองความปลอดภัยจากหลายหน่วยงาน
จึงอยากเชิญชวนพี่น้องประชาชนเดินทางมาเลือกซื้อเลือกหา และ ท่องเที่ยวพักผ่อนชมบรรยากาศของตลาดที่ไม่เหมือนใครในช่วงวันหยุด แถมยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามตามธรรมชาติอีกหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นจุดชมวิวทะเลหมอกภูตาจอ บ่อน้ำร้อนคลองปลายพู่ บ่อน้ำร้อนรมณีย์ น้ำตกที่สวยงามอีกหลายน้ำตก ที่รอทุกท่านให้เข้ามาสัมผัสและเยี่ยมชมอีกด้วย
นอกจากนั้น ตลาดแห่งนี้ยังมีอาหารนานาชนิดที่นำมาเสิร์ฟให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว แต่ที่อยากแนะนำ มาแล้วต้องลองชิมอาหารคือ พื้นถิ่นเมนูเด็ด หากินยากของชาวอำเภอกะปง “ปลาดุกยอกหรือปลาดุกหลาม” ซึ่งเป็นเมนูอาหารคาวที่ตกทอดมาจากคนรุ่นเก่า เป็นภูมิปัญญาของคนโบราณ
ที่นำปลาดุกมาคลุกเคล้ากับพริกแกงและสมุนไพร ยัดใส่ในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำไปหลามบนเตาถ่าน และต้องใช้ไม้ไผ่คอยยอก หรือตำลงไปเรื่อยๆ จนสุก และเนื้อปลาดุกจะหลุดรวมกับพริกแกงและสมุนไพร ส่วนก้างปลาก็จะไปรวมกันอยู่ด้านล่าง ก่อนจะนำไปเทใส่ถาดที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ และกินร่วมกับข้าวห่อใบเร็ดนึ่ง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งของภูมิปัญญาพื้นบ้านในการหุงข้าว โดยรสชาติของปลาดุกยอกจะเผ็ดจัดจ้านร้อนแรงในสไตล์ของชาวปักษ์ใต้อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถมาชิมได้ที่ตลาดสีเขียวในม่านหมอก อ.กะปง ทุกเช้าวันเสาร์
นางอุไรทิพย์ ชัยสุข เปิดเผยว่า เมนูนี้ตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยวิธีทำนั้น นำปลาดุกมาทำความสะอาดผ่าเอาเครื่องในและหัวออก หั่นเป็นท่อนใหญ่ๆ ก่อนนำไปคลุกเคล้ากับพริกแกงตำมือที่เป็นสูตรเฉพาะของที่บ้าน จากนั้นก็นำไปยัดใส่ในกระบอกไม้ไผ่ แล้วนำไปหลามบนเตาถ่าน ระหว่างหลามนั้นต้องใช้ไม้ไผ่คอยยอก หรือตำลงไปในกระบอกเรื่อยๆ จนสุก