.
โดย... ศูนย์ข่าวหาดใหญ่
.

รูดม่านปิดฉากไปเรียบร้อยแล้ว “ทุกคดีความ” อันเนื่องมาจาก “เหตุการณ์สลายการชุมนุม” กลุ่มชาวบ้านคัดค้าน “โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย” เหตุเกิดเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2545 บริเวณด้านหน้าโรงแรมเจบี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อันเป็นช่วง 1 วันก่อนที่จะมีการประชุม ครม.สัญจรของ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มี พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ นั่งเป็น ผบ.ตร. และ พล.ต.ต.สันฐาน ชยนนท์ นั่งเป็น ผบก.ภ.จว.สงขลา อยู่ในสมัยนั้น
ภายหลังเหตุสลายการชุมนุมมีการยื่นฟ้องร้องกันไปมาระหว่างฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐกับกลุ่มชาวบ้านหลายดดี ก่อนที่คดีสุดท้ายจะจบบริบูรณ์ไปเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2562 ที่ผ่านมา ถือเป็นการต่อสู้กันอย่างยาวนานถึง 17 ปี และทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีทั้ง “แพ้” และ “ชนะ” แต่นั่นไม่สำคัญเท่าทุกคดีสามารถใช้เป็น “บทเรียนมากค่า” ที่จะให้ทั้งของฝ่ายผู้กุมกลไกอำนาจรัฐและฝ่ายประชาชนนำไปใช้เป็น “ต้นแบบ” ต่อสู้กันได้อีกในอนาคต
โดยคดีสุดท้ายที่เพิ่งจบไปล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2562 ศาลจังหวัดสงขลาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่ฝ่ายชาวบ้านและนักพัฒนาเอกชนรวม 25 คนเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.สันต์กับพวกรวม 38 คน ในข้อกล่าวหาใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม ซึ่งศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมแล้วเห็นว่า พยานจำเลยเบิกความได้สอดคล้องต้องกันแสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ในการสลายการชุมนุม ไม่ได้มีเจตนากลั่นแกล้งประชาชนตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน “ยกฟ้อง”

เรื่องราวในครั้งนี้เริ่มมาจากเมื่อปี พ.ศ.2541 ที่กลุ่มชาวบ้าน อ.จะนะ จ.สงขลา เริ่มได้รับรู้ข่าวว่าจะมีการก่อสร้างโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย รวมทั้งอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่ จึงได้เริ่มมีการจับตามองกันมากขึ้น ทั้งจากชาวบ้านในพื้นที่ นักวิชาการ องค์กรภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในและนอก จ.สงขลา
จนกระทั่งเมื่อ เม.ย.2541 นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีไทย และ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เป็นประธานพิธีลงนามข้อตกลงเบื้องต้นสัญญาซื้อขายก๊าซ JDA ที่อาคารอเนกประสงค์ ณ สวน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อ.เมือง จ.สงขลา โดยที่สมัชชานักศึกษาภาคใต้ได้ออกมาประท้วงเรียกร้องให้มีการทำประชาพิจารณ์
ต่อมา ธ.ค.2541 “ปตท.” ว่าจ้างคณะการจัดสิ่งแวดล้อม ม.อ.หาดใหญ่ ศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการ โดยผลจากการวิจัยสรุปเมื่อ ก.ย.2542 ระบุว่า แนวท่อก๊าซมีผลกระทบต่อเสียงขันของนกเขาชวา สร้างความวิตกให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนกเขาและประกาศพร้อมจะออกมาคัดค้านโครงการ
ต.ค.2542 ขบวนรถของนายชวนและคณะเดินทางไปเป็นประธานร่วมกับ ดร.มหาเธร์ในพิธีลงนามสัญญาร่วมทุนระหว่าง “ปตท.” กับ “ปิโตรนาส” ที่เมืองอลอสตาร์ของมาเลเซีย ซึ่งมีชาวบ้านจาก อ.สะเดา อ.หาดใหญ่ อ.นาหม่อม อ.จะนะ จ.สงขลา และนักศึกษา นักวิชาการ เอ็นจีโอและองค์กรต่างๆ กว่า 500 คนเข้าแถวถือป้ายต่อต้านโครงการและกรูเข้าล้อมขบวนรถเพื่อยื่นหนังสือคัดค้าน

ธ.ค.2542 ชาวบ้าน ต.คลองเปียะ อ.จะนะ ร่วมกับชาวบ้านอีก 4 อำเภอใน จ.สงขลา มีมติไม่ให้ท่อก๊าซผ่านพื้นที่ของตน เนื่องจากเห็นผลเสียมากกว่าผลดี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ปตท.ไม่สามารถชี้แจงข้อสงสัย และมวลชนสัมพันธ์ของ ปตท.สร้างความแตกแยกให้แก่คนในพื้นที่
ต้นปี 2543 ปตท.และปิโตรนาส ได้จดทะเบียนร่วมลงทุนในโครงการนี้ที่โรงแรมเจบี อ.หาดใหญ่ ใช้ชื่อบริษัทที่ดำเนินการร่วมกันว่า “บริษัททรานส์ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด”
ก.พ.2543 ก.อุตสาหกรรม แต่งตั้งคณะกรรมการประชาพิจารณ์ 10 คน เพื่อจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการ โดยมี พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธาน
วันที่ 29 ก.ค.2543 มีการทำประชาพิจารณ์โครงการครั้งที่ 1 ที่หอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ และได้เกิดการตะลุมบอนกันขึ้นระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้าน จนต้องปิดและประกาศเลื่อนการทำประชาพิจารณ์ออกไป

ผลจากการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการประชาพิจารณ์ ก.อุตสาหกรรม ก.มหาดไทย ผู้แทนกองทัพภาคที่ 4 และผู้แทนสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) มีมติให้จัดประชาพิจารณ์อีกเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 21-22 ต.ค.2543 ที่สนามกีฬาจิระนคร เทศบาลนครหาดใหญ่
ขณะที่ นายพนัส ทัศนียานนท์ ประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ในขณะนั้นทำหนังสือถึงนายชวนขอให้ระงับและปรับปรุงกระบวนการทำประชาพิจารณ์ เพราะรัฐบาลยังไม่เปิดเผยข้อมูลโครงการต่างๆ ที่จะตามมาให้ประชาชนทราบ และเสนอหากจะทำประชาพิจารณ์ต้องรวมโครงการทั้งหมดที่ใช้ก๊าซจากแหล่ง JDA เข้ามาด้วย
ด้านประธานหอการค้า จ.สงขลาก็ได้แถลงจุดยืนของหอการค้า โดยมีมติเอกฉันท์สนับสนุนโครงการ เนื่องจากเชื่อว่าจะทำให้เงินไหลเข้าสู่ จ.สงขลากว่า 7 หมื่นล้านบาท เป็นการสร้างงานและรายได้ในพื้นที่ ทำให้การลงทุนและส่งผลให้เศรษฐกิจ จ.สงขลาฟื้นตัวทันที
ในการประชาพิจารณ์โครงการครั้งที่ 2 วันที่ 21-22 ต.ค.2543 ที่สนามกีฬาจิระนคร เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้เกิดเหตุการปะทะขึ้นอีกครั้งระหว่างตำรวจปราบปรามจลาจลกับกลุ่มผู้คัดค้าน เมื่อสถานการณ์สงบลงสภาพของสนามกีฬามีความเสียหายปรากฏไปทั่ว และมีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้หลายสิบคน ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายผู้ที่สนับสนุน และฝ่ายผู้คัดค้านโครงการ

หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ตำรวจได้มีการตั้งข้อหาต่อแกนนำผู้ชุมนุมคัดค้านโครงการในหลายข้อหา ส่วนกลุ่มผู้คัดค้านก็ได้มีการแจ้งความกลับทั้งนายชวน นายสุวัจน์ ลิปตะพัลลภ รมว.อุตสาหกรรม และ พล.อ.จรัลในฐานะประธานกรรมการประชาพิจารณ์ ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันทำร้ายประชาชน ฯลฯ
ต้นปี 2544 พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณหัวหน้าพรรคได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกฯ ช่วงเริ่มต้นการทำงานของรัฐบาลใหม่สถานการณ์การคัดค้านโครงการในพื้นที่ จ.สงขลา อยู่ในช่วงค่อนข้างสงบ กลุ่มผู้คัดค้านได้มีการจัดตั้งศูนย์คัดค้านโครงการเพื่อเป็นฐานที่มั่นขึ้นที่ “ลานหอยเสียบ” บ้านโคกสัก ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ และ ก.ค.2544 มีการก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยลานหอยเสียบ” ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แก่สมาชิกในชุมชน
กระทั่ง ต.ค.2544 รองเลขาธิการ สผ. ได้แถลงข่าวว่ามีการอนุมัติรายงานการศึกษา EIA โครงการแล้ว โดยที่การประเมินผลกระทบทางด้านสังคม (SIA) ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากกรรมการผู้ชำนาญการ ซึ่งข่าวดังกล่าวสร้างความตื่นตัวให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก

จนเมื่อวันที่ 4 ม.ค.2545 พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางลงพื้นที่ศูนย์คัดค้านโครงการ ณ ลานหอยเสียบ เพื่อรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านและรับปากว่าจะตัดสินใจเรื่องนี้ภายใน 3 เดือน โดยในระหว่างที่รอการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ชาวบ้านกลุ่มคัดค้านได้จัดกิจกรรมคัดค้านในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ในที่สุดวันที่ 10 พ.ค.2545 สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกแถลงการณ์เดินหน้าโครงการต่อไป โดยมีการเปลี่ยนแนววางท่อก๊าซออกไปจากเส้นทางเดิมไม่เกิน 5 ก.ม. ทำให้กลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านต่างออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน รวมถึงล่ารายชื่อยื่นเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง
หลังมีแถลงการณ์เดินหน้าโครงการ ช่วง พ.ย.2545 ตัวแทนนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ ทั้ง 4 ภาคร่วมกันแสดงจุดยืนคัดค้าน พร้อมมีรายชื่อนักวิชาการอีก 1,384 คนทั่วประเทศที่ร่วมกันลงชื่อสนับสนุนด้วย
ขณะเดียวกันกลุ่มผู้คัดค้านยังเดินหน้าเต็มที่ มีการจัดประชุมร่วมกับผู้นำศาสนาที่ลานหอยเสียได้ข้อสรุปว่า การเคลื่อนไหวคัดค้านเป็นการปกป้องชุมชนและสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องเดียวกับศาสนา จึงไม่ผิดหลักศาสนา

ช่วงนั้นมีรายงานข่าวว่า นายกรัฐมนตรีจะมีการจัดประชุม ครม.สัญจรภาคใต้ระหว่างวันที่ 21-22 ธ.ค.2545 ที่โรงแรมเจบี หาดใหญ่ ทางเครือข่ายคัดค้านมีข้อสรุปจากการประชุมชาวบ้านทุกหมู่บ้านใน อ.จะนะ และ อ.นาหม่อมว่า เพื่อให้นายกฯ และ ครม.เห็นว่ามีชาวบ้านจำนวนมากไม่ต้องการโครงการ จึงให้มีการรวมตัวกันเดินทางไปยื่นหนังสือกับนายกฯ อย่างสันติ โดยจะไม่มีการประท้วงหรือก่อเหตุวุ่นวาย และไม่มีการพกพาอาวุธหรือก่อเหตุรุนแรงใดๆ เว้นแต่รัฐบาลเป็นฝ่ายเริ่มก่อน
วันที่ 20 ธ.ค.2545 กลุ่มผู้ชุมนุมได้นัดรวมตัวเดินทางไปรอการมาของนายกฯ ที่หน้าโรงแรมเจบี หาดใหญ่ แต่ช่วงค่ำแล้วได้เกิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มชาวบ้าน นักศึกษาและนักพัฒนาเอกชนขึ้น โดยเหตุการณ์สงบลงในเวลา 21.30 น.
ผลจากการเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก มีการจับกุมผู้คัดค้านไปรวม 12 คน ต่อมาถูกออกหมายจับและดำเนินคดีเพิ่มอีก 20 คน รวมถูกดำเนินคดีอาญาทั้งสิ้น 32 ราย และมีรถยนต์ถูกยึดไว้รวม 7 คัน
มิ.ย.2546 โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย-มาเลเซียก็เริ่มเดินหน้าต่อในพื้นที่จนสำเร็จ และติดตามมาด้วยการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าจะนะใช้พลังงานจากก๊าซ 2 โรง

จนกระทั่งเวลาล่วงเลยผ่านไป 1 ปีช่วง ธ.ค.2546 หลังมีการฟ้องร้องผู้คัดค้านโครงการ 32 คน “ศาลจังหวัดสงขลา” มีคำพิพากษา “ยกฟ้อง” จำเลยทั้งหมด และให้คืนรถยนต์ทั้ง 7 คันที่ยึดไปแก่ชาวบ้าน โดยศาลเห็นว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับประชาชนชุมชนท้องถิ่น ซึ่งประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่จะแสดงความคิดเห็น
พร้อมยกเหตุผลด้วยว่า การทำประชาพิจารณ์ 2 ครั้งก็มีปัญหา และการชุมนุมเป็นการเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย โดยที่ชาวบ้านได้ประสานงานกับตัวแทนของรัฐ และรัฐบาลรับทราบล่วงหน้าชัดเจนแล้ว นอกจากนี้การชุมนุมของชาวบ้านเป็นไปอย่างสงบและปราศจากอาวุธ และก่อนเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ไม่มีคำสั่งอย่างชัดเจนให้เลิกการชุมนุม ส่วนการตอบโต้เจ้าหน้าที่เป็นกระทำเกิดขึ้นทันทีโดยพลการ ไม่ได้มีการเรียกร้องให้กระทำร่วมกัน จึงไม่ถือเป็นการประทุษร้ายหรือร่วมกันทำร้ายเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ในระหว่างการต่อสู้คดีช่วง ธ.ค.2546 ผู้ชุมนุมคัดค้านโครงการ 30 คนได้ร่วมกันฟ้องต่อ “ศาลปกครองสงขลา” ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) รับผิดต่อความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมเป็นเงินคนละ 20,000 บาท และการที่ถูกทำร้ายร่างกายและทำลายทรัพย์สิน ซึ่งศาลปกครองสงขลารับคำฟ้องเฉพาะผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 24 กรณีความเสียหายต่อเสรีภาพในการชุมนุม

กระทั่งวันที่ 1 มิ.ย.2549 ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาให้ สตช.ชำระเงินแก่ชาวบ้านรายละ 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ในคดีตำรวจสลายการชุมนุมคัดค้านโครงการ ระบุว่าการกระทำของ สตช.เป็นการละเมิดสิทธิภาพการชุมนุมโดยสงบของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ต่อมา สตช.ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดที่กรุงเทพฯ และเมื่อวันที่ 13 ก.ย.2554 “ศาลปกครองสูงสุด” ได้พิจารณา “อุทธรณ์คดี” ซึ่งตุลาการผู้แถลงคดียืนตามคำพิพากษาศาลปกครองสงขลา โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า
“ที่ศาลปกครองสงขลาพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายคนละ 10,000 บาท ถือว่าสมควรแก่เหตุแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่มาต่อความเสียหายต่อสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและความเสียหายทางจิตใจแล้ว”
จากการที่กลุ่มผู้คัดค้านโครงการรอคอยมายาวนานถึง 10 ปี และแล้วเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2556 ศาลปกครองสูงสุดได้มีพิพากษาคดีว่า การชุมนุมของกลุ่มผู้คัดค้านโครงการพัฒนาดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยสงบ และการที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ผู้ชุมนุมไม่สามารถใช้สิทธิเสรีภาพชุมนุมโดยสงบต่อไปได้ ดังนั้น สตช.จึงต้องรับผิดชอบ โดยให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้องคดีรวมกัน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
จากคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดทำให้สร้างความดีใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง เพราะคดีนี้ทำให้ชาวบ้านเข้าใจถึงสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมว่าเป็นเรื่องที่ “ถูกต้อง” รวมทั้งเป็นการยืนยันว่าสิ่งที่ชาวบ้านคัดค้านมาตลอดคือ โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย และการปกป้องสิทธิและทรัพยากรในพื้นที่ไม่ให้ถูกทำลายจากโครงการขนาดใหญ่ “เป็นเรื่องที่ถูกต้อง”

และจากคำตัดสินที่สุดของ “ศาลปกครองสูงสุด” นี้เองทำให้ผู้ชุมนุมยื่นฟ้องคดีอาญาต่อ พล.ต.อ.สันต์กับพวกรวม 38 คน ข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และผลที่ออกมาทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎฎีกาก็เป็นไปตามที่ปรากฏเป็นข่าวเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2562 ที่ผ่านมานั่นเอง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย ในฐานะ 1 ในโจทก์ร่วมที่ยื่นฟ้องต่อ พล.ต.อ.สันต์และพวก ให้ความเห็นว่า คดีนี้ถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่มีการฟ้องร้องต่อเจ้าหน้าที่รัฐในการใช้กำลังสลายการชุมนุม อันจะเป็นบรรทัดฐานหนึ่งในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อชาวบ้านที่มาเรียกร้องความเป็นธรรมต่อไป เพราะที่ผ่านมามีการต่อสู้กันมาหลายคดี ทั้งในคดีที่ชาวบ้านถูกฟ้อง คดีที่ชาวบ้านยื่นฟ้องต่อศาลปกครองและศาลแขวงสงขลา หรือคดีที่ชาวบ้านฟ้องกลับเจ้าหน้าที่รัฐ
“ต่อไปจากนี้ไปเมื่อมีเหตุการณ์การเรียกร้องเพื่อปกป้องสิทธิและสิ่งแวดล้อมของชาวบ้าน กรณีของโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลย์ก็จะเป็นกรณีศึกษา เป็นบรรทัดฐานให้กับฝ่ายประชาชนว่าจะเดินหน้ากันอย่างไร เพื่อให้ได้รับชัยชนะ หรือจะทำให้อย่างไรให้สังคมได้รับรู้เรื่องราว รวมทั้งเข้ามาเป็นแรงหนุนให้กับฝ่ายชาวบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคใหม่ที่ข้อมูลข่าวสารหมุนไปอย่างรวดเร็วในโซเซียลมีเดีย และกระแสสังคมก็พร้อมจะเข้ามาช่วย หากเราทำให้เห็นได้ว่าสิ่งที่ชาวบ้านกำลังต่อสู้อยู่นั้นมีความสำคัญเพียงใด”
เหล่านี้คือพลังแห่งการลุกขึ้นสู้กับอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรมของประชาชน บนเส้นทางที่ต้องต่อสู้ทางคดีความในทุกระดับชั้น คำพิพากษาของศาลต่างๆ อาจจะถูกใจใครหรือไม่ก็ตาม แต่ถือได้ว่าสามารถใช้เป็นบรรทัดฐานให้กับการต่อสู้ของภาคประชาชนต่อไปในอนาคตได้อย่างแน่นอน!!
โดย... ศูนย์ข่าวหาดใหญ่
.
รูดม่านปิดฉากไปเรียบร้อยแล้ว “ทุกคดีความ” อันเนื่องมาจาก “เหตุการณ์สลายการชุมนุม” กลุ่มชาวบ้านคัดค้าน “โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย” เหตุเกิดเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2545 บริเวณด้านหน้าโรงแรมเจบี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อันเป็นช่วง 1 วันก่อนที่จะมีการประชุม ครม.สัญจรของ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มี พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ นั่งเป็น ผบ.ตร. และ พล.ต.ต.สันฐาน ชยนนท์ นั่งเป็น ผบก.ภ.จว.สงขลา อยู่ในสมัยนั้น
ภายหลังเหตุสลายการชุมนุมมีการยื่นฟ้องร้องกันไปมาระหว่างฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐกับกลุ่มชาวบ้านหลายดดี ก่อนที่คดีสุดท้ายจะจบบริบูรณ์ไปเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2562 ที่ผ่านมา ถือเป็นการต่อสู้กันอย่างยาวนานถึง 17 ปี และทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีทั้ง “แพ้” และ “ชนะ” แต่นั่นไม่สำคัญเท่าทุกคดีสามารถใช้เป็น “บทเรียนมากค่า” ที่จะให้ทั้งของฝ่ายผู้กุมกลไกอำนาจรัฐและฝ่ายประชาชนนำไปใช้เป็น “ต้นแบบ” ต่อสู้กันได้อีกในอนาคต
โดยคดีสุดท้ายที่เพิ่งจบไปล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2562 ศาลจังหวัดสงขลาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่ฝ่ายชาวบ้านและนักพัฒนาเอกชนรวม 25 คนเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.สันต์กับพวกรวม 38 คน ในข้อกล่าวหาใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม ซึ่งศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมแล้วเห็นว่า พยานจำเลยเบิกความได้สอดคล้องต้องกันแสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ในการสลายการชุมนุม ไม่ได้มีเจตนากลั่นแกล้งประชาชนตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน “ยกฟ้อง”
เรื่องราวในครั้งนี้เริ่มมาจากเมื่อปี พ.ศ.2541 ที่กลุ่มชาวบ้าน อ.จะนะ จ.สงขลา เริ่มได้รับรู้ข่าวว่าจะมีการก่อสร้างโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย รวมทั้งอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่ จึงได้เริ่มมีการจับตามองกันมากขึ้น ทั้งจากชาวบ้านในพื้นที่ นักวิชาการ องค์กรภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในและนอก จ.สงขลา
จนกระทั่งเมื่อ เม.ย.2541 นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีไทย และ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เป็นประธานพิธีลงนามข้อตกลงเบื้องต้นสัญญาซื้อขายก๊าซ JDA ที่อาคารอเนกประสงค์ ณ สวน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อ.เมือง จ.สงขลา โดยที่สมัชชานักศึกษาภาคใต้ได้ออกมาประท้วงเรียกร้องให้มีการทำประชาพิจารณ์
ต่อมา ธ.ค.2541 “ปตท.” ว่าจ้างคณะการจัดสิ่งแวดล้อม ม.อ.หาดใหญ่ ศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการ โดยผลจากการวิจัยสรุปเมื่อ ก.ย.2542 ระบุว่า แนวท่อก๊าซมีผลกระทบต่อเสียงขันของนกเขาชวา สร้างความวิตกให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนกเขาและประกาศพร้อมจะออกมาคัดค้านโครงการ
ต.ค.2542 ขบวนรถของนายชวนและคณะเดินทางไปเป็นประธานร่วมกับ ดร.มหาเธร์ในพิธีลงนามสัญญาร่วมทุนระหว่าง “ปตท.” กับ “ปิโตรนาส” ที่เมืองอลอสตาร์ของมาเลเซีย ซึ่งมีชาวบ้านจาก อ.สะเดา อ.หาดใหญ่ อ.นาหม่อม อ.จะนะ จ.สงขลา และนักศึกษา นักวิชาการ เอ็นจีโอและองค์กรต่างๆ กว่า 500 คนเข้าแถวถือป้ายต่อต้านโครงการและกรูเข้าล้อมขบวนรถเพื่อยื่นหนังสือคัดค้าน
ธ.ค.2542 ชาวบ้าน ต.คลองเปียะ อ.จะนะ ร่วมกับชาวบ้านอีก 4 อำเภอใน จ.สงขลา มีมติไม่ให้ท่อก๊าซผ่านพื้นที่ของตน เนื่องจากเห็นผลเสียมากกว่าผลดี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ปตท.ไม่สามารถชี้แจงข้อสงสัย และมวลชนสัมพันธ์ของ ปตท.สร้างความแตกแยกให้แก่คนในพื้นที่
ต้นปี 2543 ปตท.และปิโตรนาส ได้จดทะเบียนร่วมลงทุนในโครงการนี้ที่โรงแรมเจบี อ.หาดใหญ่ ใช้ชื่อบริษัทที่ดำเนินการร่วมกันว่า “บริษัททรานส์ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด”
ก.พ.2543 ก.อุตสาหกรรม แต่งตั้งคณะกรรมการประชาพิจารณ์ 10 คน เพื่อจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการ โดยมี พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธาน
วันที่ 29 ก.ค.2543 มีการทำประชาพิจารณ์โครงการครั้งที่ 1 ที่หอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ และได้เกิดการตะลุมบอนกันขึ้นระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้าน จนต้องปิดและประกาศเลื่อนการทำประชาพิจารณ์ออกไป
ผลจากการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการประชาพิจารณ์ ก.อุตสาหกรรม ก.มหาดไทย ผู้แทนกองทัพภาคที่ 4 และผู้แทนสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) มีมติให้จัดประชาพิจารณ์อีกเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 21-22 ต.ค.2543 ที่สนามกีฬาจิระนคร เทศบาลนครหาดใหญ่
ขณะที่ นายพนัส ทัศนียานนท์ ประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ในขณะนั้นทำหนังสือถึงนายชวนขอให้ระงับและปรับปรุงกระบวนการทำประชาพิจารณ์ เพราะรัฐบาลยังไม่เปิดเผยข้อมูลโครงการต่างๆ ที่จะตามมาให้ประชาชนทราบ และเสนอหากจะทำประชาพิจารณ์ต้องรวมโครงการทั้งหมดที่ใช้ก๊าซจากแหล่ง JDA เข้ามาด้วย
ด้านประธานหอการค้า จ.สงขลาก็ได้แถลงจุดยืนของหอการค้า โดยมีมติเอกฉันท์สนับสนุนโครงการ เนื่องจากเชื่อว่าจะทำให้เงินไหลเข้าสู่ จ.สงขลากว่า 7 หมื่นล้านบาท เป็นการสร้างงานและรายได้ในพื้นที่ ทำให้การลงทุนและส่งผลให้เศรษฐกิจ จ.สงขลาฟื้นตัวทันที
ในการประชาพิจารณ์โครงการครั้งที่ 2 วันที่ 21-22 ต.ค.2543 ที่สนามกีฬาจิระนคร เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้เกิดเหตุการปะทะขึ้นอีกครั้งระหว่างตำรวจปราบปรามจลาจลกับกลุ่มผู้คัดค้าน เมื่อสถานการณ์สงบลงสภาพของสนามกีฬามีความเสียหายปรากฏไปทั่ว และมีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้หลายสิบคน ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายผู้ที่สนับสนุน และฝ่ายผู้คัดค้านโครงการ
หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ตำรวจได้มีการตั้งข้อหาต่อแกนนำผู้ชุมนุมคัดค้านโครงการในหลายข้อหา ส่วนกลุ่มผู้คัดค้านก็ได้มีการแจ้งความกลับทั้งนายชวน นายสุวัจน์ ลิปตะพัลลภ รมว.อุตสาหกรรม และ พล.อ.จรัลในฐานะประธานกรรมการประชาพิจารณ์ ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันทำร้ายประชาชน ฯลฯ
ต้นปี 2544 พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณหัวหน้าพรรคได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกฯ ช่วงเริ่มต้นการทำงานของรัฐบาลใหม่สถานการณ์การคัดค้านโครงการในพื้นที่ จ.สงขลา อยู่ในช่วงค่อนข้างสงบ กลุ่มผู้คัดค้านได้มีการจัดตั้งศูนย์คัดค้านโครงการเพื่อเป็นฐานที่มั่นขึ้นที่ “ลานหอยเสียบ” บ้านโคกสัก ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ และ ก.ค.2544 มีการก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยลานหอยเสียบ” ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แก่สมาชิกในชุมชน
กระทั่ง ต.ค.2544 รองเลขาธิการ สผ. ได้แถลงข่าวว่ามีการอนุมัติรายงานการศึกษา EIA โครงการแล้ว โดยที่การประเมินผลกระทบทางด้านสังคม (SIA) ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากกรรมการผู้ชำนาญการ ซึ่งข่าวดังกล่าวสร้างความตื่นตัวให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก
จนเมื่อวันที่ 4 ม.ค.2545 พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางลงพื้นที่ศูนย์คัดค้านโครงการ ณ ลานหอยเสียบ เพื่อรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านและรับปากว่าจะตัดสินใจเรื่องนี้ภายใน 3 เดือน โดยในระหว่างที่รอการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ชาวบ้านกลุ่มคัดค้านได้จัดกิจกรรมคัดค้านในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ในที่สุดวันที่ 10 พ.ค.2545 สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกแถลงการณ์เดินหน้าโครงการต่อไป โดยมีการเปลี่ยนแนววางท่อก๊าซออกไปจากเส้นทางเดิมไม่เกิน 5 ก.ม. ทำให้กลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านต่างออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน รวมถึงล่ารายชื่อยื่นเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง
หลังมีแถลงการณ์เดินหน้าโครงการ ช่วง พ.ย.2545 ตัวแทนนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ ทั้ง 4 ภาคร่วมกันแสดงจุดยืนคัดค้าน พร้อมมีรายชื่อนักวิชาการอีก 1,384 คนทั่วประเทศที่ร่วมกันลงชื่อสนับสนุนด้วย
ขณะเดียวกันกลุ่มผู้คัดค้านยังเดินหน้าเต็มที่ มีการจัดประชุมร่วมกับผู้นำศาสนาที่ลานหอยเสียได้ข้อสรุปว่า การเคลื่อนไหวคัดค้านเป็นการปกป้องชุมชนและสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องเดียวกับศาสนา จึงไม่ผิดหลักศาสนา
ช่วงนั้นมีรายงานข่าวว่า นายกรัฐมนตรีจะมีการจัดประชุม ครม.สัญจรภาคใต้ระหว่างวันที่ 21-22 ธ.ค.2545 ที่โรงแรมเจบี หาดใหญ่ ทางเครือข่ายคัดค้านมีข้อสรุปจากการประชุมชาวบ้านทุกหมู่บ้านใน อ.จะนะ และ อ.นาหม่อมว่า เพื่อให้นายกฯ และ ครม.เห็นว่ามีชาวบ้านจำนวนมากไม่ต้องการโครงการ จึงให้มีการรวมตัวกันเดินทางไปยื่นหนังสือกับนายกฯ อย่างสันติ โดยจะไม่มีการประท้วงหรือก่อเหตุวุ่นวาย และไม่มีการพกพาอาวุธหรือก่อเหตุรุนแรงใดๆ เว้นแต่รัฐบาลเป็นฝ่ายเริ่มก่อน
วันที่ 20 ธ.ค.2545 กลุ่มผู้ชุมนุมได้นัดรวมตัวเดินทางไปรอการมาของนายกฯ ที่หน้าโรงแรมเจบี หาดใหญ่ แต่ช่วงค่ำแล้วได้เกิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มชาวบ้าน นักศึกษาและนักพัฒนาเอกชนขึ้น โดยเหตุการณ์สงบลงในเวลา 21.30 น.
ผลจากการเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก มีการจับกุมผู้คัดค้านไปรวม 12 คน ต่อมาถูกออกหมายจับและดำเนินคดีเพิ่มอีก 20 คน รวมถูกดำเนินคดีอาญาทั้งสิ้น 32 ราย และมีรถยนต์ถูกยึดไว้รวม 7 คัน
มิ.ย.2546 โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย-มาเลเซียก็เริ่มเดินหน้าต่อในพื้นที่จนสำเร็จ และติดตามมาด้วยการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าจะนะใช้พลังงานจากก๊าซ 2 โรง
จนกระทั่งเวลาล่วงเลยผ่านไป 1 ปีช่วง ธ.ค.2546 หลังมีการฟ้องร้องผู้คัดค้านโครงการ 32 คน “ศาลจังหวัดสงขลา” มีคำพิพากษา “ยกฟ้อง” จำเลยทั้งหมด และให้คืนรถยนต์ทั้ง 7 คันที่ยึดไปแก่ชาวบ้าน โดยศาลเห็นว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับประชาชนชุมชนท้องถิ่น ซึ่งประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่จะแสดงความคิดเห็น
พร้อมยกเหตุผลด้วยว่า การทำประชาพิจารณ์ 2 ครั้งก็มีปัญหา และการชุมนุมเป็นการเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย โดยที่ชาวบ้านได้ประสานงานกับตัวแทนของรัฐ และรัฐบาลรับทราบล่วงหน้าชัดเจนแล้ว นอกจากนี้การชุมนุมของชาวบ้านเป็นไปอย่างสงบและปราศจากอาวุธ และก่อนเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ไม่มีคำสั่งอย่างชัดเจนให้เลิกการชุมนุม ส่วนการตอบโต้เจ้าหน้าที่เป็นกระทำเกิดขึ้นทันทีโดยพลการ ไม่ได้มีการเรียกร้องให้กระทำร่วมกัน จึงไม่ถือเป็นการประทุษร้ายหรือร่วมกันทำร้ายเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ในระหว่างการต่อสู้คดีช่วง ธ.ค.2546 ผู้ชุมนุมคัดค้านโครงการ 30 คนได้ร่วมกันฟ้องต่อ “ศาลปกครองสงขลา” ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) รับผิดต่อความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมเป็นเงินคนละ 20,000 บาท และการที่ถูกทำร้ายร่างกายและทำลายทรัพย์สิน ซึ่งศาลปกครองสงขลารับคำฟ้องเฉพาะผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 24 กรณีความเสียหายต่อเสรีภาพในการชุมนุม
กระทั่งวันที่ 1 มิ.ย.2549 ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาให้ สตช.ชำระเงินแก่ชาวบ้านรายละ 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ในคดีตำรวจสลายการชุมนุมคัดค้านโครงการ ระบุว่าการกระทำของ สตช.เป็นการละเมิดสิทธิภาพการชุมนุมโดยสงบของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ต่อมา สตช.ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดที่กรุงเทพฯ และเมื่อวันที่ 13 ก.ย.2554 “ศาลปกครองสูงสุด” ได้พิจารณา “อุทธรณ์คดี” ซึ่งตุลาการผู้แถลงคดียืนตามคำพิพากษาศาลปกครองสงขลา โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า
“ที่ศาลปกครองสงขลาพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายคนละ 10,000 บาท ถือว่าสมควรแก่เหตุแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่มาต่อความเสียหายต่อสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและความเสียหายทางจิตใจแล้ว”
จากการที่กลุ่มผู้คัดค้านโครงการรอคอยมายาวนานถึง 10 ปี และแล้วเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2556 ศาลปกครองสูงสุดได้มีพิพากษาคดีว่า การชุมนุมของกลุ่มผู้คัดค้านโครงการพัฒนาดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยสงบ และการที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ผู้ชุมนุมไม่สามารถใช้สิทธิเสรีภาพชุมนุมโดยสงบต่อไปได้ ดังนั้น สตช.จึงต้องรับผิดชอบ โดยให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้องคดีรวมกัน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
จากคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดทำให้สร้างความดีใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง เพราะคดีนี้ทำให้ชาวบ้านเข้าใจถึงสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมว่าเป็นเรื่องที่ “ถูกต้อง” รวมทั้งเป็นการยืนยันว่าสิ่งที่ชาวบ้านคัดค้านมาตลอดคือ โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย และการปกป้องสิทธิและทรัพยากรในพื้นที่ไม่ให้ถูกทำลายจากโครงการขนาดใหญ่ “เป็นเรื่องที่ถูกต้อง”
และจากคำตัดสินที่สุดของ “ศาลปกครองสูงสุด” นี้เองทำให้ผู้ชุมนุมยื่นฟ้องคดีอาญาต่อ พล.ต.อ.สันต์กับพวกรวม 38 คน ข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และผลที่ออกมาทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎฎีกาก็เป็นไปตามที่ปรากฏเป็นข่าวเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2562 ที่ผ่านมานั่นเอง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย ในฐานะ 1 ในโจทก์ร่วมที่ยื่นฟ้องต่อ พล.ต.อ.สันต์และพวก ให้ความเห็นว่า คดีนี้ถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่มีการฟ้องร้องต่อเจ้าหน้าที่รัฐในการใช้กำลังสลายการชุมนุม อันจะเป็นบรรทัดฐานหนึ่งในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อชาวบ้านที่มาเรียกร้องความเป็นธรรมต่อไป เพราะที่ผ่านมามีการต่อสู้กันมาหลายคดี ทั้งในคดีที่ชาวบ้านถูกฟ้อง คดีที่ชาวบ้านยื่นฟ้องต่อศาลปกครองและศาลแขวงสงขลา หรือคดีที่ชาวบ้านฟ้องกลับเจ้าหน้าที่รัฐ
“ต่อไปจากนี้ไปเมื่อมีเหตุการณ์การเรียกร้องเพื่อปกป้องสิทธิและสิ่งแวดล้อมของชาวบ้าน กรณีของโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลย์ก็จะเป็นกรณีศึกษา เป็นบรรทัดฐานให้กับฝ่ายประชาชนว่าจะเดินหน้ากันอย่างไร เพื่อให้ได้รับชัยชนะ หรือจะทำให้อย่างไรให้สังคมได้รับรู้เรื่องราว รวมทั้งเข้ามาเป็นแรงหนุนให้กับฝ่ายชาวบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคใหม่ที่ข้อมูลข่าวสารหมุนไปอย่างรวดเร็วในโซเซียลมีเดีย และกระแสสังคมก็พร้อมจะเข้ามาช่วย หากเราทำให้เห็นได้ว่าสิ่งที่ชาวบ้านกำลังต่อสู้อยู่นั้นมีความสำคัญเพียงใด”
เหล่านี้คือพลังแห่งการลุกขึ้นสู้กับอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรมของประชาชน บนเส้นทางที่ต้องต่อสู้ทางคดีความในทุกระดับชั้น คำพิพากษาของศาลต่างๆ อาจจะถูกใจใครหรือไม่ก็ตาม แต่ถือได้ว่าสามารถใช้เป็นบรรทัดฐานให้กับการต่อสู้ของภาคประชาชนต่อไปในอนาคตได้อย่างแน่นอน!!