กระบี่ - ปิดอ่าวมาหยา หมู่เกาะพีพี ต่ออีก 2 ปี เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติและระบบนิเวศ พร้อมปรับระบบการจัดการท่องเที่ยวและติดตามสภาพสิ่งแวดล้อมทุก 3 เดือน เพื่อเป็นตัวกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมในแต่ละวัน

นางศุภพร เปรมปรีดิ์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาตินพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ และอาสาสมัครลงพื้นที่ปลูกปะการัง และติดตามการฟื้นตัวของระบบนิเวศ ทั้งบนบกและใต้น้ำ ที่อ่าวหยา หมู่เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ อย่างต่อเนื่อง หลังจากประกาศปิดห้ามนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่มากว่า 1 ปี พบว่า ธรรมชาติเริ่มฟื้นตัว พบฝูงฉลามหูดำจำนวนมากเข้ามาหากินในอ่าวมาหยา ผักบุ้งทะเลเจริญเติบโต ปูลมกลับมาหากินบริเวณชายหาดจำนวนมาก

โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประกาศปิดอ่าวมาหยาต่ออีกระยะเวลา 2 ปี เพื่อรอให้สภาพระบบนิเวศ ระบบจัดการดูแลท่องเที่ยวดีขึ้น ลดผลกระทบพร้อมจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวบนฝั่ง ไม่ให้เรือเข้าในอ่าวเหมือนสมัยก่อน

ซึ่งการฟื้นฟูอ่าวมาหยาเป็นส่วนหนึ่งของพีพีโมเดล เมื่อครบกำหนด ก่อนจะเปิดให้คณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบความพร้อมของระบบนิเวศที่จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และจะต้องไม่เกิดความเสียหายอีก โดยมีการสร้างมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันความเสียหายของระบบนิเวศทั้งในน้ำและบนบก

ภายหลังการเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวแล้วจะต้องมีการติดตามตรวจสอบสถานภาพของทรัพยากรทุกๆ 3 เดือน เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมในแต่ละวัน หรือในแต่ละรอบของการเข้าชม เพื่อรักษาทรัพยากรที่มีให้คงอยู่

ทั้งนี้ หลังจากที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีมติเมื่อกลางปี 2561 ให้ปิดการท่องเที่ยวอ่าวมาหยา เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ เนื่องจากพบว่า แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งนี้หนาแน่นไปด้วยเรือท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว ทำให้สภาพธรรมชาติเสื่อมโทรม ชายหาดทรุดตัว นอกจากนี้ ยังพบสารเคมีบางชนิด เช่น ครีมกันแดดที่นักท่องเที่ยวใช้ทาตัวก่อนลงเล่นน้ำ กลับเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาวจนนำไปสู่การประกาศปิดอ่าวเพื่อฟื้นฟูสภาพของระบบนิเวศ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา
นางศุภพร เปรมปรีดิ์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาตินพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ และอาสาสมัครลงพื้นที่ปลูกปะการัง และติดตามการฟื้นตัวของระบบนิเวศ ทั้งบนบกและใต้น้ำ ที่อ่าวหยา หมู่เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ อย่างต่อเนื่อง หลังจากประกาศปิดห้ามนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่มากว่า 1 ปี พบว่า ธรรมชาติเริ่มฟื้นตัว พบฝูงฉลามหูดำจำนวนมากเข้ามาหากินในอ่าวมาหยา ผักบุ้งทะเลเจริญเติบโต ปูลมกลับมาหากินบริเวณชายหาดจำนวนมาก
โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประกาศปิดอ่าวมาหยาต่ออีกระยะเวลา 2 ปี เพื่อรอให้สภาพระบบนิเวศ ระบบจัดการดูแลท่องเที่ยวดีขึ้น ลดผลกระทบพร้อมจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวบนฝั่ง ไม่ให้เรือเข้าในอ่าวเหมือนสมัยก่อน
ซึ่งการฟื้นฟูอ่าวมาหยาเป็นส่วนหนึ่งของพีพีโมเดล เมื่อครบกำหนด ก่อนจะเปิดให้คณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบความพร้อมของระบบนิเวศที่จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และจะต้องไม่เกิดความเสียหายอีก โดยมีการสร้างมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันความเสียหายของระบบนิเวศทั้งในน้ำและบนบก
ภายหลังการเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวแล้วจะต้องมีการติดตามตรวจสอบสถานภาพของทรัพยากรทุกๆ 3 เดือน เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมในแต่ละวัน หรือในแต่ละรอบของการเข้าชม เพื่อรักษาทรัพยากรที่มีให้คงอยู่
ทั้งนี้ หลังจากที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีมติเมื่อกลางปี 2561 ให้ปิดการท่องเที่ยวอ่าวมาหยา เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ เนื่องจากพบว่า แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งนี้หนาแน่นไปด้วยเรือท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว ทำให้สภาพธรรมชาติเสื่อมโทรม ชายหาดทรุดตัว นอกจากนี้ ยังพบสารเคมีบางชนิด เช่น ครีมกันแดดที่นักท่องเที่ยวใช้ทาตัวก่อนลงเล่นน้ำ กลับเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาวจนนำไปสู่การประกาศปิดอ่าวเพื่อฟื้นฟูสภาพของระบบนิเวศ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา