ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จับแล้ว 4 ผู้ต้องหาแก๊ง “น้ำมะพร้าว” บังคับเด็กเร่ขายที่ภูเก็ต ยันทำผิดเข้าข่ายค้ามนุษย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จี้ทุกพื้นที่ต้องไม่มีการนำเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์อย่างเด็ดขาด ยืนยันปราบต่อเนื่อง
เมื่อเวลา 12.00 น. วันนี้ (10 พ.ย.) พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวยศยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ต.อ.ชัยวัฒน์ อุ้ยคำ พ.ต.อ.วิทูร กองสุดใจ พ.ต.อ.เสริมพันธ์ สิริคง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต พ.ต.อ.อโณทัย จินดามณี ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรกะทู้ และเจ้าหน้าที่ตำรวจจากศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพด.ส.ตร.) แถลงการจับกุมผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์ กรณีบังคับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เร่ขายน้ำมะพร้าว ในพื้นที่ จ.ภูเก็ต โดยมี น.ส.อัจฉรา สุระกุล หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.ภูเก็ต นายกิตติ อินทรกุล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ภูเก็ต เข้าร่วม ที่ห้องประชุมชั้น 3 สถานีตำรวจภูธรป่าตอง
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวยศยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงการจับกุมผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์แก๊ง “น้ำมะพร้าว” ว่า เมื่อ ต.ค.ที่ผ่านมา ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งจากฝ่ายปกครองว่ามีเด็กหญิงอายุประมาณ 10-12 ปี มาเดินเร่ข่ายน้ำมะพร้าว บริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองภูเก็ต หลังรับแจ้งจึงเดินทางไปตรวจสอบ หลังจากนั้นได้เชิญเด็กไปสอบถามและแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม แต่ต่อมาได้มีข่าวการออกไปทางสื่อต่างๆ ว่ามีผู้ไปร้องเรียนต่อสื่อมวลชน ว่า ทางเจ้าหน้าที่กักตัวเด็กที่พามาเร่ขายน้ำมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จำนวน 5 คน ทั้งที่เด็กเหล่านั้นมาทำงานในช่วงปิดเทอมและหารายได้ แต่ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม และหลังจากมีข่าวออกไปตามสื่อต่างๆ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ และสั่งการให้ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง
หลังจากนั้น ทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้สั่งการให้ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ ร่วมกับตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต และตำรวจในพื้นที่ร่วมกับสืบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และได้ขอศาลออกหมายจับผู้ต้องหาที่นำเด็กมาเร่ขายน้ำมะพร้าว 5 คน เนื่องจากการสืบสวนพบว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายการค้ามนุษย์ ซึ่งเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (10 พ.ย.) ที่ จ.นครศรีธรรมราช เจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวได้แล้ว และขณะนี้ชุดจับกุมกำลังนำผู้ต้องหาเดินทางมายังจังหวัดภูเก็ต
อย่างไรก็ตาม หลังจากมีข่าวดังกล่าว ทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ทุกพื้นที่เข้มงวดในการดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์ และนำเด็กมาขายของ หรือทำงานในพื้นที่ต่างๆ จึงได้สั่งการให้ทุกพื้นที่เข้มงวดปราบปราม ซึ่งนอกจากแก๊งน้ำมะพร้าว แล้ว พบว่า ในพื้นที่ยังมีผู้ปกครองนำเด็กมาเร่ขายของอีกหลายราย โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา มีการตรวจสอบพบหลายราย ประกอบด้วย แม่พาลูกมาขายดอกไม้ที่ร้านอาหาร ยายพาหลานมาเร่ขายผลไม้ พ่อเลี้ยงพาลูกเลี้ยงมาขายพวงมาลัย พี่น้องมาเร่ขายพวงมาลัย และสุดท้ายเป็นชาวต่างชาติเร่ขายของ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากการสอบสวนในเบื้องต้นยังไม่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่พ่อแม่เด็กมาก็จะมี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กเข้าไปดำเนินการเพราะหน้าที่ของเด็กคือจะต้องเรียนหนังสือ แต่ถ้าเด็กต้องมาขายของดึกๆ เด็กก็ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เต็มที่ จึงต้องนำ พ.ร.บ.เด็กมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเด็กและครอบครัว
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ต่อไปนี้การนำเด็กมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการนำเด็กมาเร่ขายของ หรืออื่นๆ จะต้องไม่มีให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พา หรือญาติพามาก็ตาม ถ้ามีการตรวจพบก็จะต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนกรณีบังคับเด็กมาเร่ขายของลักษณะเข้าข่ายการค้ามนุษย์จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ใครพบเห็นสามารถแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกพื้นที่ทันที
ส่วนกรณีเด็กเร่ขายน้ำมะพร้าว นั้น ขณะนี้ได้มีการจับกุมผู้ต้องหา จำนวน 4 ราย โดยจับได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพฤติกรรมพาเด็กมาเร่ขายน้ำมะพร้าว จำนวน 5 คน ในแต่ละวันเด็กต้องทำงานมากกว่า 10 ชั่วโมง และจากการพูดคุยกับเด็กพบว่า บางคนถูกทำร้ายและถูกบังคับให้ทำ ซึ่งเป็นการพาเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ จึงต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด และต่อไปนี้ในทุกพื้นที่จะต้องไม่มีเด็กถูกบังคับให้มาเร่ขายของอย่างเด็กขาด ซึ่งกรณีนี้พบว่าผู้ต้องหามีรายได้จากการขายน้ำมะพร้าวสูงถึงเดือนละกว่า 1 แสนบาท ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่สูงมาก แต่จ่ายให้เด็กวันละ 400 บาทต่อคน ในขณะที่เด็กต้องทำงานวันละกว่า 16 ชั่วโมง ถึงเวลานอนเด็กกลับไม่ได้นอน ซึ่งเป็นการเอาเด็กมาแสวงหาประโยชน์อย่างชัดเจน
ส่วนกรณีอ้างว่าครอบครัวยากจนต้องส่งให้ลูกมาทำงาน พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่น่าจะนำมาอ้าง หน้าที่การทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่จะต้องทำ แต่กลับโยนภาระนี้ให้แก่เด็ก ทั้งๆ ที่หน้าที่ของเด็กคือการเรียนหนังสือ ถ้าหากมีปัญหาครอบครัวจริงๆ ก็สามารถที่จะเข้าไปหาหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือได้ การมาอ้างเรื่องความยากจนไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะงานมีเยอะแต่คนไทยไม่ทำ กลับเอาเด็กมาทำงานแทน
อย่างไรก็ตาม นอกจากแก๊งน้ำมะพร้าวแล้ว ยังมีแก๊งอื่นๆ อีกหลายแก๊งที่เอาเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งหลังจากนี้จะมีการดำเนินการปราบปรามอย่างต่อเนื่อง
เมื่อเวลา 12.00 น. วันนี้ (10 พ.ย.) พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวยศยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ต.อ.ชัยวัฒน์ อุ้ยคำ พ.ต.อ.วิทูร กองสุดใจ พ.ต.อ.เสริมพันธ์ สิริคง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต พ.ต.อ.อโณทัย จินดามณี ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรกะทู้ และเจ้าหน้าที่ตำรวจจากศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพด.ส.ตร.) แถลงการจับกุมผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์ กรณีบังคับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เร่ขายน้ำมะพร้าว ในพื้นที่ จ.ภูเก็ต โดยมี น.ส.อัจฉรา สุระกุล หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.ภูเก็ต นายกิตติ อินทรกุล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ภูเก็ต เข้าร่วม ที่ห้องประชุมชั้น 3 สถานีตำรวจภูธรป่าตอง
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวยศยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงการจับกุมผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์แก๊ง “น้ำมะพร้าว” ว่า เมื่อ ต.ค.ที่ผ่านมา ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งจากฝ่ายปกครองว่ามีเด็กหญิงอายุประมาณ 10-12 ปี มาเดินเร่ข่ายน้ำมะพร้าว บริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองภูเก็ต หลังรับแจ้งจึงเดินทางไปตรวจสอบ หลังจากนั้นได้เชิญเด็กไปสอบถามและแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม แต่ต่อมาได้มีข่าวการออกไปทางสื่อต่างๆ ว่ามีผู้ไปร้องเรียนต่อสื่อมวลชน ว่า ทางเจ้าหน้าที่กักตัวเด็กที่พามาเร่ขายน้ำมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จำนวน 5 คน ทั้งที่เด็กเหล่านั้นมาทำงานในช่วงปิดเทอมและหารายได้ แต่ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม และหลังจากมีข่าวออกไปตามสื่อต่างๆ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ และสั่งการให้ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง
หลังจากนั้น ทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้สั่งการให้ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ ร่วมกับตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต และตำรวจในพื้นที่ร่วมกับสืบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และได้ขอศาลออกหมายจับผู้ต้องหาที่นำเด็กมาเร่ขายน้ำมะพร้าว 5 คน เนื่องจากการสืบสวนพบว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายการค้ามนุษย์ ซึ่งเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (10 พ.ย.) ที่ จ.นครศรีธรรมราช เจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวได้แล้ว และขณะนี้ชุดจับกุมกำลังนำผู้ต้องหาเดินทางมายังจังหวัดภูเก็ต
อย่างไรก็ตาม หลังจากมีข่าวดังกล่าว ทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ทุกพื้นที่เข้มงวดในการดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์ และนำเด็กมาขายของ หรือทำงานในพื้นที่ต่างๆ จึงได้สั่งการให้ทุกพื้นที่เข้มงวดปราบปราม ซึ่งนอกจากแก๊งน้ำมะพร้าว แล้ว พบว่า ในพื้นที่ยังมีผู้ปกครองนำเด็กมาเร่ขายของอีกหลายราย โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา มีการตรวจสอบพบหลายราย ประกอบด้วย แม่พาลูกมาขายดอกไม้ที่ร้านอาหาร ยายพาหลานมาเร่ขายผลไม้ พ่อเลี้ยงพาลูกเลี้ยงมาขายพวงมาลัย พี่น้องมาเร่ขายพวงมาลัย และสุดท้ายเป็นชาวต่างชาติเร่ขายของ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากการสอบสวนในเบื้องต้นยังไม่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่พ่อแม่เด็กมาก็จะมี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กเข้าไปดำเนินการเพราะหน้าที่ของเด็กคือจะต้องเรียนหนังสือ แต่ถ้าเด็กต้องมาขายของดึกๆ เด็กก็ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เต็มที่ จึงต้องนำ พ.ร.บ.เด็กมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเด็กและครอบครัว
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ต่อไปนี้การนำเด็กมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการนำเด็กมาเร่ขายของ หรืออื่นๆ จะต้องไม่มีให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พา หรือญาติพามาก็ตาม ถ้ามีการตรวจพบก็จะต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนกรณีบังคับเด็กมาเร่ขายของลักษณะเข้าข่ายการค้ามนุษย์จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ใครพบเห็นสามารถแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกพื้นที่ทันที
ส่วนกรณีเด็กเร่ขายน้ำมะพร้าว นั้น ขณะนี้ได้มีการจับกุมผู้ต้องหา จำนวน 4 ราย โดยจับได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพฤติกรรมพาเด็กมาเร่ขายน้ำมะพร้าว จำนวน 5 คน ในแต่ละวันเด็กต้องทำงานมากกว่า 10 ชั่วโมง และจากการพูดคุยกับเด็กพบว่า บางคนถูกทำร้ายและถูกบังคับให้ทำ ซึ่งเป็นการพาเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ จึงต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด และต่อไปนี้ในทุกพื้นที่จะต้องไม่มีเด็กถูกบังคับให้มาเร่ขายของอย่างเด็กขาด ซึ่งกรณีนี้พบว่าผู้ต้องหามีรายได้จากการขายน้ำมะพร้าวสูงถึงเดือนละกว่า 1 แสนบาท ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่สูงมาก แต่จ่ายให้เด็กวันละ 400 บาทต่อคน ในขณะที่เด็กต้องทำงานวันละกว่า 16 ชั่วโมง ถึงเวลานอนเด็กกลับไม่ได้นอน ซึ่งเป็นการเอาเด็กมาแสวงหาประโยชน์อย่างชัดเจน
ส่วนกรณีอ้างว่าครอบครัวยากจนต้องส่งให้ลูกมาทำงาน พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่น่าจะนำมาอ้าง หน้าที่การทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่จะต้องทำ แต่กลับโยนภาระนี้ให้แก่เด็ก ทั้งๆ ที่หน้าที่ของเด็กคือการเรียนหนังสือ ถ้าหากมีปัญหาครอบครัวจริงๆ ก็สามารถที่จะเข้าไปหาหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือได้ การมาอ้างเรื่องความยากจนไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะงานมีเยอะแต่คนไทยไม่ทำ กลับเอาเด็กมาทำงานแทน
อย่างไรก็ตาม นอกจากแก๊งน้ำมะพร้าวแล้ว ยังมีแก๊งอื่นๆ อีกหลายแก๊งที่เอาเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งหลังจากนี้จะมีการดำเนินการปราบปรามอย่างต่อเนื่อง