xs
xsm
sm
md
lg

ครอบครัวโต๊ะมีนาจัดงานบุญครบรอบ 65 ปีการสูญหายของ “ต่วนฆูรูหะยีสุหลง”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


 
ปัตตานี - ครอบครัวโต๊ะมีนาจัดงานบุญร่วมรำลึก 65 ปี การหายสาบสูญของ “ต่วนฆูรูหะยีสุหลง” จากข้อเรียกร้อง 7 ข้อต่อรัฐบาลไทย

วันนี้ (13 ส.ค.) บรรยากาศที่บ้านไม้ทรงปันหยีที่เคยเป็นบ้านของ ต่วนฆูรูหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ หรือโต๊ะมีนา นำโดย คุณเด่น โต๊ะมีนา อดีตรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย และ น.ส.แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย พร้อมครอบครัวลูกหลานของ ต่วนฆูรูหะยีสุหลง ได้ร่วมรำลึก 65 ปีการหายสาบสูญของ หะยีสุหลง โต๊ะมีนา โดยคณะร่วมอ่านยาซีน เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ

นอกจากนั้น ทางคณะได้ร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยในหัวข้อ “ทบทวนข้อเสนอ 7 ประการ จากอดีตถึงปัจจุบัน” ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องของ ต่วนฆูรูหะยีสุหลง ต่อรัฐบาลไทยขณะนั้นเพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยึดเป็นแนวทาง อาจกลายเป็นชนวนที่ทำให้การทำให้ หะยีสุหลง ต้องกลายเป็นผู้ที่ต้องสูญหายจนถึงทุกวันนี้ ถึงแม้ศาลอาญาในขณะนั้นได้มีคำพิพากษาแล้วว่าข้อเรียกร้องทั้ง 7 ข้อ ของต่วนฆูรูหะยีสุหลงนั้นไม่ใช่เป็นการก่อกบฏต่อรัฐไทย แต่เป็นเพียงรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง
 

 
เมื่อหะยีสุหลง ต้องถูกทำให้สาบสูญมาจาก 7 ข้อ จึงทำให้ขอเสนอ 7 ข้อกลับกลายเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับคนจังหวัดชายแดนใต้ จึงทำให้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ขาดการศึกษาและเรียนรู้ถึงข้อเรียกร้องทั้ง 7 ข้ออย่างจริงจัง ซึ่งการจัดเวทีแลกเปลี่ยนคราวนี้ โดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถาณการณ์ภาคใต้ และนายรอมฎอน ปันจอร์ คิวเรเตอร์ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ในการเสนอมุมมองเชิงวิชาการให้แก่ผู้ร่วมรับฟังในครั้งนี้เป็นไปอย่างกว้างขวางถึงประเด็นเนื้อหา 7 ข้อที่หะยีสุหลงสุหลงเคยเสนอให้รัฐบาล เพื่อยุติความขัดแย้งที่มีมาเป็นเวลายาวนานที่ผ่านงานวิจัยจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้ร่วมทำวิจัยเกี่ยวกับข้อเรียก 7 ข้อของต่วนฆูรูหะยีสุหลง

ด้าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการ ศอ.บต. ได้กล่าวในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เมื่อ 65 ปีที่ผ่านมา ได้มีเหตุการณ์ผู้นำศาสนา นักปราชญ์ และปัญญาชนจังหวัดปัตตานีและของพี่น้องชาวไทยนับถือศาสนาอิสลามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชื่อ หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ หรือ “หะยีสุหลง โต๊ะมีนา” หรือ “หะยีสุหลง” ได้ถูกมีผู้ทำให้หายสาบสูญพร้อมผู้ติดตาม รวม 4 ชีวิต สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้น
 

 
เหตุการณ์ที่การถูกทำให้สูญหายของท่านหะยีสุหลง ผู้เป็นภรรยา ลูกๆ หลานๆ ครอบครัว ญาติมิตร และลูกศิษย์ของท่านหะยีสุหลงจะเกิดความเสียใจเศร้าโศกกับความโหดร้ายที่เกิดขึ้น มีการทำบุญและกิจกรรมรำลึกถึงเมื่อครบรอบวันที่ 13 สิงหาคมของทุกปี ทั้งที่ “อยากลืม กลับจำ” ในทางกลับกันผู้เป็นผู้บริหารประเทศและผู้นำทางการเมืองควรนำใช้เป็นบทเรียน ซึ่ง “ควรจำ กับลืม”

ความผิดพลาดที่เป็นบาดแผลในอดีตไม่ควรจะให้เกิดขึ้นซ้ำอีกในปัจจุบันและอนาคต “คนฉลาดเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต แต่จะฉลาดกว่าถ้าเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่น” 

การศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับข้อเรียกร้องทั้ง 7 ข้อ ของท่านหะยีสุหลง ได้เคยมีผู้ทรงคุณวุฒิได้ทำการศึกษาวิจัย มีทั้งผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศและต่างประเทศอยู่บ้าง แต่หากรัฐใจกว้างที่ให้มีการศึกษาและเสวนาอย่างมีอิสระทางความคิด วิชาการ และกระทำด้วยความรับผิดชอบ ซึ่งน่าจะเป็นมรรควิธีที่เอื้อต่อการสร้างความเข้าใจในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ดีขึ้นได้
 



กำลังโหลดความคิดเห็น