ปัตตานี - กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า เดินหน้าเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ ผ่านสภาสันติสุขตำบลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนรวบรวมข้อมูลส่ง UN และคณะคู่เจรจาพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้
วันนี้ (24 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการเดินหน้าเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อกรณีการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ สะท้อนผ่านเวทีสภาสันติสุขตำบลในแต่ละตำบล คลอบคลุมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับ 4 อำเภอของสงขลา โดยมีการกรอกคำตอบลงในแบบสอบภามที่ออกโดยศูนย์สันติวิธี กอ.รมน.ภาค4ส่วนหน้า ที่มี พล.ต.ธิรา แดหวา ดำรงตำแหน่ง ผอ.ศูนย์สันติวิธีในขณะนี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นไปตามโรดแมปที่ทางคู่เจรจาที่ทางมาเลเซียเป็นคนกลาง ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเจรจาพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้กำหนดไว้แล้วที่จะให้รวบรวมความเห็นของประชาชนในพื้นที่ 2 ล้านเสียงให้แล้วเสร็จภายในปลายมิถุนายนนี้
พล.ต.ธิรา แดหวา ผอ.ศูนย์สันติสุข กอ.รมน.4 ได้กล่าวชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า แบบสอบถามการทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 2 ล้านคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มันมาจากเรื่องของการพูดคุยสันติสุขได้ 3 ระดับระดับที่ 1 ระดับนายก 2 ระดับตัวแทนของรัฐบาลของคณะพูดคุย และระดับ 3 ระดับในพื้นที่ ซึ่งประดับในพื้นที่เขาชื่อว่าคณะประสานการปฏิบัติ
คณะประสานการปฏิบัติมีความต้องการสร้างความรับรู้ให้กับพื้นที่ สาระสำคัญอยู่ที่ว่าไม่เอาความรุนแรงแต่หันมาพูดคุยกัน จะพูดคุยเรื่องอะไรก็ได้ ตั้งแต่การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา และความปลอดภัย
โดยขั้นตอนของมันจะมีอยู่ 3 ขั้นที่เราวางกันไว้ ขั้นตอนที่ 1.ภายในเดือนมิถุนายน จะต้องสร้างการรับรู้ว่านโยบายของท่านแม่ทัพ ที่กำหนดไป 5 ข้อนั้น ทุกภาคส่วนรวมถึงพี่น้องประชาชนเขาเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร ถ้าเขาเห็นด้วยเราก็จะคุยกันนี่เป็นการคุยสันติสุขในพื้นที่จริงๆ แล้วจะทำยังไงเพื่อจะให้เกิดความสันติขึ้นในพื้นที่จริงๆ เราก็บอกไปว่าช่วยกันคิดภายในเดือนกันยายน คิดได้ก็ทำไปเลย แล้วท้ายสุดบุคคลที่เห็นต่างก็จะเข้ามาร่วมด้วย แล้วจะเข้าสู่ขั้นที่ 3 ที่มีเวทีสภาสันติสุขตำบล คุยเรื่องทุกเรื่องเน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยกัน
อย่างแบบสอบถามเราก็ออกแบบสอบถามกันง่ายๆ ข้อที่ 1 เรื่องยาเสพติดเราก็บอกว่ายาเสพติดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ คนก็ต้องบอกว่ามีอยู่แล้ว และเป็นภัยต่อชีวิตเป็นพิษต่อสังคม
ยาเสพติด กระบวนการของมันทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เราก็ออกมาเป็นแบบสอบถาม เป็นผลสะท้อนให้ทุกคนเห็นว่ายอมรับ เห็นด้วยว่ามันมีจริง มันมีคนค้ามันมีคนเสพ การจัดการแก้ปัญหามีนโยบายในการปราบปรามยาเสพติดเลยชวนคนเสพมาบำบัด บอกชื่อคนค้าเพื่อให้เราดำเนินการต่อไป คือเราทุกคนมาช่วยปฏิเสธยาเสพติดและมาร่วมกับรัฐในการแก้ปัญหายาเสพติด
ข้อ 2 เรื่องของพื้นที่ปลอดเหตุประชาชนปลอดภัย อันดับแรกต้องบอกด้วยว่าพื้นที่มันไม่ปลอดภัยที่ผ่านมา ผลของความไม่ปลอดภัยมีตายมาแล้ว 7,000 คน เจ็บมาแล้ว 13,000 คน ชาวบ้าน 2 ล้านคนก็ได้รับผลกระทบ เมื่อพื้นที่ไม่ปลอดภัยอย่างอื่นก็พัฒนาไม่ได้
ข้อ 3 ใครคือคนทำหรือคนก่อเหตุ เราจะเรียกอะไรเรียกผู้ก่อเหตุรุนแรง เรียกขบวนการค้าอาวุธ กลุ่มขบวนการ ขบวนการอะไร เป็นพรรคเป็นแนวร่วมมีกองกำลังของตัวเอง มี BRN มี PULO ให้รู้ว่ามีกลุ่มหนึ่งที่กำลังก่อเหตุอยู่ ขณะที่รัฐก็พยายามที่จะยับยั้งการก่อเหตุ ส่งกำลังเข้ามาอยู่ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ ส่งกำลังสร้างความเข้าใจ ส่งกำลังมาพัฒนาแก้ปัญหาอะไรต่างๆ เรามาคุยเราควรมาช่วยกันดับไฟควรจะช่วยรัฐดำเนินการต่อบุคคลเหล่านี้
ข้อ 4. การพูดคุยสันติสุขเรามีการออกแบบว่าข้อที่ 1 มันมีเหตุรุนแรงอยู่ในพื้นที่ มีการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาถูกไหม ข้อที่ 2 เมื่อเกิดความรุนแรงเกิดขึ้นเราไม่ใช้ได้ไหม มีวิธีอื่นไหมเช่นยิงกันเปลี่ยนจากยิงมาเป็นคุยได้ไหม เปิดทางมาร่วมเจรจาด้วยการหยุดยิงแล้วมาคุยสันติสุขกัน
การคุยสันติสุขตัวสุดท้ายที่เราต้องการคือกลับบ้าน เราก็ยื่นข้อเสนอไปว่าการกลับบ้านต้องมีตัวชี้วัดคือปลอดภัย อยู่บ้านได้อยู่ในหมู่บ้านได้ มีอาชีพที่สุจริตทำประโยชน์ให้กับสังคม สิ่งเหล่านี้คือเป้าหมายของการคุยสันติสุข
เลือกเอาระหว่างการก่อเหตุรุนแรงกับการมาคุยกัน เพราะฉะนั้นถ้าเขาเลือกการก่อเหตุรุนแรงเราก็จะทำให้เขาไร้ก่อนอำนาจรัฐต้องเข้มแข็งเป็นธรรมปฏิบัติการในพื้นที่เป็นยุทธวิธี แต่เราต้องการที่สุดคือการให้เขาคืนรังเป็นคนกลับบ้านที่สมบูรณ์แบบ บางทีเขาอยู่บ้านอยู่แล้วแต่ใจเขาไม่ได้อยู่บ้าน เพราะฉะนั้นเราจึงชวนเข้ามากลับบ้านตามโครงการพาคนกลับบ้าน “โดยหลักที่ว่าให้อภัยให้โอกาสให้อนาคต ให้อาชีพ”
ข้อที่ 5 เรื่องพหุวัฒนธรรมปัญหาก็คือความแตกต่างถูกสร้างให้เป็นความแตกแยก ไม่เหมือนต้องทำลาย เพราะฉะนั้นเราจะทำยังไงสภาพที่ออกมามีการค่าไทยพุทธยิงมุสลิมอะไรต่างๆ นี่เป็นปัญหาด้านความมั่นคง ไม่ได้เกลียดที่คนแต่เกลียดที่แตกต่าง
เราต้องถามเห็นด้วยไหมถ้าแบบนี้ที่เราจะแตกต่างแต่จะไม่แตกแยก ดอกไม้หลากสีอยู่ในแจกันเดียวกันมันจะสวยงามมีค่ามีราคา เราก็ออกมาเป็นแบบสอบถาม ท้ายสุดของแบบสอบถามก็จะถามว่าเห็นด้วยกับการอยู่แบบพหุวัฒนธรรมแล้วจะช่วยกันสร้างพหุวัฒนธรรม ดำรงไว้ซึ่งพหุวัฒนธรรม
ข้อที่ 6 ข้อสุดท้ายที่ผ่านมาคุณภาพชีวิตเป็นยังไง เขาด่าเขาว่าไม่ได้รับการดูแล ไม่ได้รับการพัฒนาอะไรต่างๆ จริงไหม เราตั้งคำถามขึ้นมาถ้าเขาตอบก็ตอบไป ต่อไปก็จะถามว่าเราจนไม่มีจะกิน ไม่มีงานทำ เราก็ต้องมาพัฒนาคุณภาพชีวิตกัน ก็ถามไปว่าเอาไหมถ้าเอาก็ว่ามา ถ้าไม่เอาก็ยิงกันต่อไป
ส่วนบรรยากาศในพื้นที่ทางหน่วยงาน กอ.รมน.ในนามศูนย์สันติวิธีพร้อมทุกภาคส่วน ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ได้ร่วมในเวทีรับฟังความคิดเห็น พร้อมแบบสอบถามเป็นไปอย่างเรียบร้อย
ล่าสุด ภายใต้การอำนวยการของ นายโอฬาร บิลสัน นายอำเภอยะหริ่ง/ผอ.ศปก.อ.ยะหริ่ง มอบหมายให้ นายอับดุลมาน๊ะ แมวาโซะ ป.ก.งานความมั่นคง และนายคชพงษ์ จันทรนนท์ จนท.ปค.จัดเวทีพูดคุยรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ จชต. ระดับตำบล (สภาสันติสุขตำบลตาแกะ) ตามข้อสั่งการของศูนย์สันติวิธี กอ.รมน.ภาค 4 สน.
โดยมีผู้เข้าร่วมเวทีพูดคุย ประกอบด้วย ร.ท.วิทยา แจ่มน้อย รักษาการแทน ผบ.ร้อย ทพ.4208,ร.ต.เกรียงศักดิ์ ขาวเหลือง รอง ผบ.ร้อย ทพ.4208, ผู้แทน สภ.ยะหริ่ง, ผู้แทนส่วนราชการระดับตำบล, กำนัน,ผญบ.ทั้ง 4 หมู่, ผช.ผญบ., ผรส., โต๊ะอีหม่ามและคอเต็บประจำมัสยิดทั้ง 4 หมู่ พร้อมด้วยประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมการจัดเวทีพูดคุยรับฟังความคิดเห็น