xs
xsm
sm
md
lg

เรื่องราวของ “เทพธิดาผ้าปาเต๊ะ” และเรื่องเล่าของ “ชาวเลบาบ๋า-ย่าหยา” บนฟากฝั่งอันดามัน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

 
คอลัมน์ : จากนาบอนถึงริมฝั่งเจ้าพระยา  /  โดย... ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที ผู้ดำเนินรายการสภากาแฟช่อง NEWS1
 
พี่สนิท แซ่ซั่ว และ ยายอาปัง ทะเลรุ่งโรจ นามสกุลที่บ่งบอกความผูกพันธ์กับทะเลมายาวนาน (ภาพจาก : สำนักข่าวชายขอบ)
 
ในภาคใต้หญิงสาวเขานุ่งผ้าถุง ในรูปหญิงสาวผู้สูงวัย 2 ท่าน ท่านหนึ่งเป็นแม่ผม อีกท่านหนึ่งเป็นเพื่อนของแม่ บรรพชนของแม่สืบสาแหรกไปนั้นเป็นคนดั่งเดิมพวก “ทมิฬ-สิงหล” จากอินเดียใต้
 .
ส่วนเพื่อนแม่เป็น “ลูกสาวจีนบาบ๋า-ย่าหยา” จากจังหวัดตรัง ทั้งแม่และเพื่อนแม่มีพ่อเป็นที่เป็นชาวจีน
 .
ลูกสาวจีนในแหลมมาลายูที่มีแม่เป็นคนพื้นถิ่น มีพ่อเป็นชาวจีน เราเรียกกันว่า “ชาวบาบ๋า-ย่าหยา” หรือ “คนบาบ๋า-ย่าหยา”
.
แม่ผมนุ่งผ้าถุง เพื่อนแม่ก็นุ่งผ้าถุง “หญิงสาวชาวเล” ที่หาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ที่นั่งประท้วงเพื่อขอสิทธิชุมชนการดำรงอยู่ในถิ่นฐานก็นุ่งผ้าถุง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการนุ่งผ้าถุงปาเต๊ะ อันเป็นวิถีชีวิตของหญิงสาวคนภาคใต้
.
2 เทพธิดาผ้าปาเต๊ะสายเลือดบ่าบ๋า-ย่าหยา ซึ่ง 1 นั้นมีสายเลือดทมิฬ-สิงหลผสมปนอยู่ด้วย
 
สำหรับ “พี่สนิท แซ่ซั่ว” ผู้นำพี่น้องชาวเลหาดราไวย์ มีคนตั้งคำถามว่าผู้นำชาวเลทำไมถึงแซ่ซั่ว
.
แม่ของพี่สนิทเป็นชาวเล “อูลักลาโว้ย” ซึ่งในประเทศมาเลเซีย หรือเรียกว่า “ภูมิบุตรา” หรือ “โอลังลาโอ๊ส”เป็นชาวพื้นเมืองชาติพันธุ์ดั่งเดิมอยู่ตามเกาะแก่งฝั่งทะเลอันดามัน
.
ประวัติศาสตร์ด้านมานุษยวิทยาบอกเล่าว่า กระดูกที่ฝังอยู่บนแผ่นดินของกลุ่มชาวเลหาดราไวย์ ตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่า มีอายุไม่ต่ำกว่า 300-400 ปี
.
นั่นบ่งบอกว่า ก่อนที่จะมีกรุงรัตนโกสินทร์เสียอีก แผ่นดินที่นั่นที่มีอาณาเขตบนแผ่นดินตามเกาะแก่งมี “อูลักลาโว้ย” หรือ “โอลังลาโอ๊ส” อยู่อาศัยล่องเรือตั้งถิ่นฐาน จับปลา ดำน้ำ มีวิถีชีวิตผูกพันตั้งฐานอยู่ที่นั่นมานมนานแล้ว!
.
ครั้งถึงช่วงสมัยเกิดศึกถลาง เดือน 9 แรม 11 ค่ำ ปีมะเส็ง ในแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัยผ่านพิภพได้ 2 เดือน มีเรื่องเล่ากันว่า มีการเกณฑ์ไพร่พลจากหัวเมืองไชยา นครศรีธรรมราช เพื่อไปช่วยรักษาเมืองถลางเอาไว้
.
ไพร่พลที่โรมรัน หน่วยหาข่าว หน่วยตระเวนส่วนหน้า ก็ได้อาศัยพี่น้องชาวเลพื้นเมืองในภูเก็ต ตรวจตรา ระวังภัย สืบหาข่าวป้องกันเมืองถลาง
.
อ.คมสัน โพธิ์คง จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
 
เสร็จศึกถลางผ่านวันเวลามาถึงวันนี้ ผมถามพี่สนิท แซ่ซั่ว ว่ามาเป็นแกนนำชาวเลลุกขึ้นต่อสู้เรื่องสิทธิชุมชนถิ่นฐานได้อย่างไร ทำไมชาวเลอูลักลาโว้ยถึง “แซ่ซั่ว” 
.
พี่สนิทเล่าว่า คนจีนฮกเกี้ยน ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาเป็น “นายหัว” ทำเหมืองอยู่ในภูเก็ต ชาวจีนมาทำเหมืองแร่
.
“แรงงานดำแร่ในเหมืองก็หนีไม่พ้นต้องเป็นพี่น้องชาวเล ซึ่งมีทักษะความสามารถในการดำน้ำลึกในทะเล นายหัวเถ้าแก่เหมืองแร่ก็ต้องการแรงงานชาวพื้นเมือง บรรพชนลูกสาวของชาวเลก็ได้แต่งงานกับชาวจีนฮกเกี้ยน แม่ผมเป็นชาวเล พ่อผมเป็นฮกเกี้ยนครับ”
.
แกนนำผู้ประสานช่วยชาวบ้านด้วยเมตตาธรรมเพื่อปกป้องถิ่นฐาน ชาวเลหาดราไวย์จึงมีชื่อว่า “สนิท แซ่ซั่ว” นั่นจึงไม่ใช่เรื่องแปลอะไร
.

 
การดิ้นรนต่อสู้ของชาวเลหาดราไวย์ จึงมีเรื่องเล่าการผสมผสานเรื่องราวของชาติพันธุ์ต่างๆ ด้านมนุษยวิทยาบนเกาะภูเก็ตไปด้วย เพื่อให้เห็นชีวิตคนเล็กคนน้อยที่ดิ้นรน
.
พวกเขาดิ้นรนหาความยุติธรรมในแผ่นดินนิติรัฐ ในแผ่นดินที่รักยิ่งของเรา?!
.
“อ.คมสัน โพธิ์คง” จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เล่าให้ฟังว่า
.
“พี่น้องชาวเลหาดราไวย์อยู่อาศัยเป็นชุมชนมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ หลักฐานทางมนุษยวิทยาประจักษ์ชัด กระดูกก็ฝังร่างกันอยู่ที่นี่ มีหลักฐานในปี 2502 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเยี่ยมราษฎรพี่น้องชาวเลที่นี่ เป็นชุมชนดั่งเดิมเก่าแก่ ต้นมะพร้าวสูงใหญ่ ต้องมองเหงนคอตั้งบ่า ตระหง่านเต็มชุมชน บ่งบอกถึงชุมชนเก่าแก่ ชาวเลอยู่กันมานมนาน”
.


 
ด้วยหลักคติความเชื่อในแผ่นดินของพี่น้องพื้นเมืองชาวเล เขาอยู่กันเป็นชุมชน ไม่คิดที่จะครอบครองที่ดินเพื่อยึดเอามาเป็นของปัจเจกบุคคล
.
แผ่นดิน ผืนน้ำ ปลาไม่จับจอง ท้องฟ้า นก ทะเล ไม่ได้ขีดเส้นกั้นเขตแดน?!
.
มีคำถามเกิดขึ้นมาว่า ก่อนการออกโฉนดที่ดินใดๆ ทาบทับบนหลังคาบ้านของชุมชนชาวเลที่หาดราไวย์ ซึ่งมีชาวบ้านหรือชาวเลอยู่กันหลายร้อยครอบครัว เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
.
หากที่ดินตกเป็นของรัฐ เป็นความชอบธรรมไม่ใช่หรือ? ที่พี่น้องชาวเลพึงจะได้เช่าหรือได้รับสิทธิในการมีถิ่นที่อยู่อาศัยก่อนใครเพื่อน?!
.

 
หลักวัฒนธรรมแห่งวิถีชีวิตอันงดงามของชาวเลหาดราไวย์ เมื่อมีคำกล่าวว่า “แผ่นดิน ผืนน้ำ ปลาไม่จับจอง ท้องฟ้า นก ทะเล ไม่ได้ขีดเส้นกั้นเขตแดน” จึงต้องชวนคนไทยคิดช่วยกันคิดว่า...
.
อะไรกันหนอที่เป็นเหตุปัจจัยทำให้ต้อง “ไล่รื้อบ้านเรือนถิ่นฐาน” และ “ไล่ทำลายวิถีชีวิต” ของชาวเลหาดราไวย์บนเกาะภูเก็ต 
.
หาก “ความยุติธรรม” ไม่สิ้นสุดที่ “ธรรม” แล้วพวกชาวเลหาดราไวย์บนเกาะภูเก็ตจะต้องเผชิญกับอะไรต่อไปอีกบ้าง?!?!

 .




กำลังโหลดความคิดเห็น