รายงานโดย...ศูนย์ข่าวหาดใหญ่
แม้ว่าฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะบอกว่าเหตุระเบิดใน จ.พัทลุง 11 จุด และ จ.สตูล 6 จุด รวม 17 จุดในระยะเวลาไล่เลี่ยกันของคืนวันที่ 9 มี.ค.ต่อเนื่องมาถึงวันที่ 10 มี.ค.นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และให้น้ำหนักว่าเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
แต่หลายคนก็ยังไม่ปักใจเชื่อ นักวิชาการบางส่วนยังมองว่าน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเฉพาะในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งที่จะมีในวันที่ 24 มี.ค. ที่มีการแข่งขันกันสูงในพื้นที่ จ.พัทลุงและสตูล และอีกประเด็นที่น่าสนใจเมื่อมีการมองย้อนไปที่ปรากฏการณ์การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ ส.ค. 2559 ที่เกิดระเบิดก่อนการลงประชามติเช่นกัน
เว็บไซต์ bbc.com รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์โดยนักวิชาการภาคใต้ ซึ่งเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ได้น่าสนใจ
ผศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์ระเบิดใน จ.พัทลุงและสตูล อาจเกี่ยวโยงกับประเด็นการเมือง ในเรื่องการเลือกตั้ง เนื่องจาก จ.พัทลุงและสตูลเป็นพื้นที่สำคัญที่มีการแข่งขันสูง
ผศ.ดร.บูฆอรี ระบุว่า มีการคาดหมายว่า ใน จ.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ เจ้าของพื้นที่ อาจเสียที่นั่งให้พรรคภูมิใจไทยอย่างน้อย 1 เขต หรือทั้งหมดในสตูล เช่นเดียวกับ จ.พัทลุงที่ถือว่าเป็นเมืองหลวงของแม่ทัพภูมิใจไทย นางนาที รัชกิจประการ เหรัญญิกพรรคภูมิใจไทย ที่ขับเคี่ยวกันอย่างหนักกับผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์
“เหตุการณ์ในพัทลุง และสตูลอาจส่งผลให้ฝ่ายความมั่นคง เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น เป็นไปได้เหมือนกันว่าเป็นการเตือน สร้างความหวาดกลัว สับสนอลหม่าน ให้เกิดขึ้นว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มันจะรุนแรง และอาจนำไปสู่การเข้มงวดอะไรบางอย่างจากฝ่ายรัฐเอง ทหารเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น จะส่งผลให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบของพรรคการเมืองใดหรือไม่ โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐที่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรตอนนี้" ผศ.ดร.บูฆอรี กล่าว
สอดคล้องกับ ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี จากสถานวิจัยความขัดแย้งและหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่มองว่า เป็นการก่อเหตุเพื่อเป้าหมายในทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ความรุนแรงช่วงก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 ซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในช่วงการเลือกตั้ง อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะทิศทางการลงคะแนนของประชาชนว่าจะลงให้พรรคการเมืองไหน
ผศ.ดร.ศรีสมภพ ชี้ว่า เหตุรุนแรงกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลกับพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลปัจจุบัน ดังจะเห็นตัวอย่างในการลงประชามติรัฐธรรมนูญเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก่อนลงคะแนน มีเหตุการณ์ลักษณะนี้ต่อเนื่อง พอลงคะแนนก็มีผลทันทีว่า จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญยกจังหวัด เหมือนเป็นการส่งสัญญาณบอกว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองพรรคไหนลงมาก่อเหตุเอง นี่อาจมองได้ว่าตอนนี้พรรคของรัฐบาลทหารอาจจะกำลังได้เปรียบ
"พรรคการเมืองที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล หรือเป็นพรรคที่ตรงข้ามฝ่ายทหาร น่าจะทำให้ประชาชนหันมาทางนี้ด้วย ถ้ามีการก่อเหตุหรือปฏิบัติการก่อนการเลือกตั้ง จะมีผลในทางบวกต่อฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายรัฐบาล"
แม้ว่าฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะบอกว่าเหตุระเบิดใน จ.พัทลุง 11 จุด และ จ.สตูล 6 จุด รวม 17 จุดในระยะเวลาไล่เลี่ยกันของคืนวันที่ 9 มี.ค.ต่อเนื่องมาถึงวันที่ 10 มี.ค.นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และให้น้ำหนักว่าเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
แต่หลายคนก็ยังไม่ปักใจเชื่อ นักวิชาการบางส่วนยังมองว่าน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเฉพาะในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งที่จะมีในวันที่ 24 มี.ค. ที่มีการแข่งขันกันสูงในพื้นที่ จ.พัทลุงและสตูล และอีกประเด็นที่น่าสนใจเมื่อมีการมองย้อนไปที่ปรากฏการณ์การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ ส.ค. 2559 ที่เกิดระเบิดก่อนการลงประชามติเช่นกัน
เว็บไซต์ bbc.com รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์โดยนักวิชาการภาคใต้ ซึ่งเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ได้น่าสนใจ
ผศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์ระเบิดใน จ.พัทลุงและสตูล อาจเกี่ยวโยงกับประเด็นการเมือง ในเรื่องการเลือกตั้ง เนื่องจาก จ.พัทลุงและสตูลเป็นพื้นที่สำคัญที่มีการแข่งขันสูง
ผศ.ดร.บูฆอรี ระบุว่า มีการคาดหมายว่า ใน จ.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ เจ้าของพื้นที่ อาจเสียที่นั่งให้พรรคภูมิใจไทยอย่างน้อย 1 เขต หรือทั้งหมดในสตูล เช่นเดียวกับ จ.พัทลุงที่ถือว่าเป็นเมืองหลวงของแม่ทัพภูมิใจไทย นางนาที รัชกิจประการ เหรัญญิกพรรคภูมิใจไทย ที่ขับเคี่ยวกันอย่างหนักกับผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์
“เหตุการณ์ในพัทลุง และสตูลอาจส่งผลให้ฝ่ายความมั่นคง เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น เป็นไปได้เหมือนกันว่าเป็นการเตือน สร้างความหวาดกลัว สับสนอลหม่าน ให้เกิดขึ้นว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มันจะรุนแรง และอาจนำไปสู่การเข้มงวดอะไรบางอย่างจากฝ่ายรัฐเอง ทหารเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น จะส่งผลให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบของพรรคการเมืองใดหรือไม่ โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐที่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรตอนนี้" ผศ.ดร.บูฆอรี กล่าว
สอดคล้องกับ ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี จากสถานวิจัยความขัดแย้งและหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่มองว่า เป็นการก่อเหตุเพื่อเป้าหมายในทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ความรุนแรงช่วงก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 ซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในช่วงการเลือกตั้ง อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะทิศทางการลงคะแนนของประชาชนว่าจะลงให้พรรคการเมืองไหน
ผศ.ดร.ศรีสมภพ ชี้ว่า เหตุรุนแรงกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลกับพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลปัจจุบัน ดังจะเห็นตัวอย่างในการลงประชามติรัฐธรรมนูญเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก่อนลงคะแนน มีเหตุการณ์ลักษณะนี้ต่อเนื่อง พอลงคะแนนก็มีผลทันทีว่า จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญยกจังหวัด เหมือนเป็นการส่งสัญญาณบอกว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองพรรคไหนลงมาก่อเหตุเอง นี่อาจมองได้ว่าตอนนี้พรรคของรัฐบาลทหารอาจจะกำลังได้เปรียบ
"พรรคการเมืองที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล หรือเป็นพรรคที่ตรงข้ามฝ่ายทหาร น่าจะทำให้ประชาชนหันมาทางนี้ด้วย ถ้ามีการก่อเหตุหรือปฏิบัติการก่อนการเลือกตั้ง จะมีผลในทางบวกต่อฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายรัฐบาล"