คอลัมน์ : ดูรูปสวยแถมด้วยเกร็ดความรู้ / โดย... สกนธ์ รัตนโกศล
“มะรุม” พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ ในหลายๆ ส่วนของมะรุมสามารถนำประกอบอาหารได้ มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีสรรพคุณทางยา
.
“มะรุม” เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางอยู่ในวงศ์ Moringceae มีชื่อเรียกต่างกันตามแต่ภูมิภาค เช่น ชาวอีสานเรียกกันอยู่ 2 อย่างคือ “ผักอีฮุม” และ “บักฮุ้ม” ชาวเหนือเรียกกันว่า “บะค้อนก้อม”
มีชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า Moringa และมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Moringa oleifera Lam มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบางประเทศ เช่น ศรีลังกาและอินเดีย นอกจากนี้ยังมีในทวีปแอฟริกา สำหรับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ประกอบด้วย
.
“ลำต้น” เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ทรงโปร่ง ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน ทนสภาวะอากาศแห้งแล้ง เปลือกลำต้นแตกร่อน สีน้ำตาลอมเท่า กิ่งเปราะหักง่าย
.
“ใบ” เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ชั้น ใบย่อยสีเขียว รูปไข่ ผิวใบเรียบ ท้องใบสีอ่อนกว่าเล็กน้อย ใบอ่อนมีขน รสหวานมัน โคนใบเรียว ปลายใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ใบที่อยู่ปลายสุดจะใหญ่กว่าใบอื่น
“ดอก” ออกเป็นช่อ มีดอกย่อยหลายดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือขาวอมเหลือง กลีบดอกแยกกัน กลีบเลี้ยงสีเขียวติดกันเป็นรูปถ้วย ดอกรสชาติหวานมัน แต่จะออกขมกว่าใบเล็กน้อย
.
“ผล” เป็นฝักยาว เรียวแหลม มีรอยคอดและรอยป่องตรงบริเวณที่มีเมล็ด มีสันเปลือกเป็นแนวยาวตลอดทั้งฝัก ฝักอ่อนสีเขียวอ่อน ฝักแก่สีเขียวจัดมีนวลขาวๆ หากแก่จัดจะเป็นสีน้ำตาล
.
“เมล็ดอ่อน” สีขาว “เมล็ดแก่” สีน้ำตาล มีเยื่อบางๆ หุ้ม เพาะง่าย เจริญเติบโตได้ดี
“มะรุม” มีสรรพคุณทางยาอยู่ในทุกส่วนของต้น
.
ไม่ว่าจะเป็นใบ ฝัก เปลือกและราก โดย “ใบ” มีสรรพคุณถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้การอักเสบ หรือฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคอื่นๆ ส่วนของ “ฝัก” ใช้ลดไข้ แก้ไอ และแก้โรคความดันโลหิตสูง สำหรับ “เปลือก” ของต้นมะรุมมีรสร้อน จึงมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันโรคมะเร็ง และ “ราก” ใช้บรรเทาอาการบวม บำรุงหัวใจ และรักษาโรคไขข้อได้ เป็นต้น
“มะรุม” มีประโยชน์และสรรพคุณ
.
- ในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 10 ขวบ มะรุมรักษาโรคขาดสารอาหารอย่างได้ผลดี เพราะทำให้ร่างกายกลับมามีเนื้อมีหนัง มีความสมบูรณ์และแข็งแรงขึ้น
.
- รักษาอาการหวัด เป็นไข้ แก้ไอ หรือมีอาการไอเรื้อรัง และยังรักษาโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด หรือโรคโพรงจมูกอักเสบ ทำให้ปอดแข็งแรงด้วย
.
- ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ความเข้มของเลือดต่ำลงด้วย จึงใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี และยังช่วยรักษาโรคความดันโลหิตได้ดีเช่นกัน
.
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคไขข้อ ไขข้ออักเสบ ปวดตามข้อหรือกล้ามเนื้อ และกระดูกอักเสบ
.
- มีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อแบคทีเรียตามผิวหนังได้ หรืออาจนำไปใช้เพื่อเป็นยาปฏิชีวนะก็ได้ด้วย
- มีสรรพคุณใช้แก้อาการคันศีรษะ หรือมีอาการคันมาจากเชื้อรา และช่วยแก้ปัญหาเส้นผมหลุดร่วงให้น้อยลง
.
- ช่วยรักษาอาการต่างๆ เกี่ยวกับโรคของดวงตาได้หมด อาทิ ชะลอการเสื่อมของจอประสาทตา โรคตามืดมัว หรือโรคต้อในตา
.
- มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยแก้โรคลำไส้อักเสบและโรคพยาธิในลำไส้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการท้องเสียและท้องผูกให้ดีขึ้น
.
- สามารถนำมาดูแลสุขภาพช่องปาก โดยใช้รักษาอาการปวดฟัน เลือดออกตามไรฟัน และโรคปากนกกระจอก
.
- มีสรรพคุณช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดี บำรุงเลือด รักษาและป้องกันโรคโลหิตจางได้ และในตำราแพทย์พื้นบ้านสามารถนำใบมะรุมมาใช้พอกบาดแผลเพื่อช่วยห้ามเลือดได้
.
- มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ปรับสมดุลของฮอร์โมนให้เป็นปกติ ทำให้อารมณ์คงที่ ไม่แปรปรวนขึ้นลงง่าย
.
- ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้ยิ่งแข็งแรง พิสูจน์ได้จากการวิจัยพบว่าช่วยรักษาคนที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะที่สามารถควบคุมได้
.
- มีสรรพคุณต้านการเกิดโรคมะเร็งได้ แต่ถ้าเป็นแล้วก็จะช่วยให้การรักษาผ่านไปด้วยดี หากได้รับการฉายรังสีให้ดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น
.
- มีฤทธิ์ในการช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูอ่อนเยาว์ ไม่หยาบกร้าน มีผิวที่นุ่มนวลขึ้น เพราะในมะรุมอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
แต่ “มะรุม” ก็ข้อควรระวังในการรับประทานด้วย
.
- หากรับประทานมะรุมมากเกินไปในผู้หญิงมีครรภ์ อาจทำให้แท้งบุตรได้
.
- ไม่ควรรับประทานมะรุมในผู้ป่วยโรคเลือด เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
.
- ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรระมัดระวังในการรับประทานมะรุม เพราะมีโปรตีนค่อนข้างมาก
.
- การรับประทานมะรุมมากเกินไปอาจจะทำให้ท้องเสีย
.
- ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่กำลังรับประทานเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ควรระมัดระวังในการทานมะรุม เพราะจะไปช่วยเสริมฤทธิ์ยาจนทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายลดต่ำเกิน จนมีการอาการหน้ามืด วิงเวียนหรือเป็นลมได้
โดยทั่วไปการรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไปและในเวลานานๆ ย่อมเกิดผลเสียต่อร่างกาย จึงควรรนำ “มะรุม” มาประกอบอาหารรับประทานกันนานๆ ครั้ง
.
ที่สำคัญมากคือ การรับประทาน “มะรุม” เป็นประจำก็อาจก่อให้เกิดปัญหาแก่ “ตับ” ได้นะขอรับ
บรรณานุกรม
.
- https://sukkaphap-d.com › อายุรวัฒน์เวชศาสตร์
- siamherbs.blogspot.com/2014/09/moringa.html