ศูนย์ข่าวภูเก็ต - มั่นใจระบบเตือนภัยสึนามิของไทยไร้ปัญหา ส่งทุ่นชุดใหม่ติดตั้งในทะเล ห่างฝั่ง 290 กิโลเมตร แทนตัวเก่าที่สูญหายแล้ว ขณะที่อธิบดีกรมป้องกันฯ วอนช่วยดูแล หลังพบทุ่นเตือนภัยสึนามิกลางทะเลกลายเป็นจุดพักเรือ
สำหรับสถานการณ์การเกิดภัยสึนามิเป็นสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า แต่สามารถลดความสูญเสียในเรื่องของชีวิตและทรัพย์สินได้หากมีการเตรียมความพร้อมที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะในเรื่องของการเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันเมื่อปี 2547 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการกำหนดมาตรการในการเตือนภัยล่วงหน้าไว้ ทั้งเรื่องของการติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ ระบบ ETD ที่เกาะเมียง การสร้างหอเตือนภัยสึนามิ การซ้อมหนีภัยสึนามิ และอื่นๆ
และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ทางกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้จัดให้มีการปล่อยเรือวางระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ ระบบ ETD ( Easy to Deploy) เพื่อวางระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูลปัจจัยที่บ่งบอกการเกิดคลื่นสึนามิ เพื่อให้การส่งต่อข้อมูลไปยังระบบแจ้งเตือนภัยของประเทศต่างๆ มีความสมบูรณ์ พร้อมใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานระดับโลก มีความรวดเร็ว ทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากนั้น ยังได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบเตือนภัยสินามิในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามันด้วย
สำหรับการปล่อยเรือวางระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ ในครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.0 น.วันนี้ (16 ม.ค.) นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธาน เรือจากศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Saefdec) ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ จำนวน 1 ชุด เดินทางไปติดตั้งและวางระบบในทะเลอันดามันระยะทาง 290 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต เพื่อทดแทนทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิชุดเก่าที่ได้รับความเสียหายไม่สามารถส่งสัญญาณมาตั้งแต่เดือน ต.ค.2560 หลังมีการติดตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ 19 ม.ค.60 โดยการติดตั้งในครั้งนี้จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการทั้งการเดินทาง ติดตั้ง และตรวจเช็กระบบจนกว่าจะใช้งานได้เป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันนี้ 16 ม.ค.-18 ม.ค.นี้ โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ รวมทั้งค่าขนส่ง และตัวเครื่อง ประมาณกว่า 40 ล้านบาท
นอกจากนั้น วันนี้ (16 ม.ค.) ทางกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยังได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบเตือนภัยสินามิในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน ขึ้นที่โรงแรม โนโวเทลโภคีธารา ภูเก็ต โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และตัวแทนจากสถานกงกุลต่างๆ เข้าร่วม
นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่าแผ่นดินไหว และสึนามิเป็นภัยพิบัติสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการวางระบบและพัฒนากลไกการแจ้งเตือนภัยสึนามิที่รวดเร็ว และทั่วถึง กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้เชื่อมโยงข้อมูลเตือนภัยสึนามิอย่างเป็นระบบ ฝ่ายศูนย์วิเคราะห์สินามินานาชาติ พร้อมติดตามปัจจัยบ่งชี้แนวโน้มการเกิดสึนามิจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลเชิงลึกของแผ่นดินไหว จะมีข้อมูลแรงดันน้ำในระดับความลึกจากต้นตรวจวัดสึนามิฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และ ข้อมูลระดับน้ำทะเลจากสถานีวัดระดับน้ำทรวมถึงได้วางระบบตรวจวัดและเตือนสินามิทั่วถึงทุกพื้นที่เพื่อให้สามารถคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ภัยและแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าอย่างแม่นยำ และทันต่อสถานการณ์
ทั้งนี้ ได้จัดประชุมสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นเกี่ยวกับระบบการแจ้งเตือนภัยสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันขึ้นวันนี้ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด 6 จังหวัดอันดามัน เจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนผู้ประกอบการด้านบริการ ผู้ประกอบการด้านประมง ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำเครือข่ายเตือนภัยภาคประชาชนเข้าร่วมการประชุมกว่า 150 คน นอกจากนี้ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้กำหนดวางระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน ซึ่งถือเป็นข้อมูลสำคัญในการเก็บข้อมูลของแรงสั่นสะเทือน และปัจจัยบ่งชี้การเกิดขึ้นสึนามิ โดยทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลไปยังระบบแจ้งเตือนภัยของประเทศต่างๆ ตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก การติดตามปัจจัยบ่งชี้แนวโน้มการเกิดสึนามิจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลเชิงลึกของแผ่นดินไหวในทะเล ข้อมูลแรงดันน้ำในระดับความลึกจากการตรวจวัดคลื่นสึนามิฝั่งมหาสมุทรอินเดียมีความสมบูรณ์มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้เชื่อมโยงข้อมูลที่บ่งชี้ว่าจะเกิดสึนามิอย่างรอบด้าน บนฐานข้อมูลเชิงวิชาการ พร้อมนำเทคโนโลยีมาใช้ในการคาดการณ์และแจ้งเตือนภัยสึนามิที่แม่นยำ รวดเร็ว อีกทั้งวางระบบเตือนสึนามิ ให้พร้อมใช้งานในทุกพื้นที่เสี่ยงภัย ควบคู่กับการกระจายข้อมูลเตือนภัยสึนามิในหลากหลายช่องทางระดับพื้นที่ รวมถึงสร้างเครือข่ายเตือนภัยทำหน้าที่ประสานแจ้งเตือนให้ประชาชนอพยพทันท่วงที
นายชยพล กล่าวต่อว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ผลักดันให้มีกรอบนโยบายและการทำงานในทิศทางเดียวกัน มีการบูรณาการปฏิบัติงานให้การจัดการสาธารณภัยเป็นไปอย่างมีระบบ มีหน่วยเผชิญเหตุอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะหน่วยปฏิบัติระดับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ที่มีความพร้อม และสามารถบูรณาการบริหารจัดการภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การติดตั้งระบบตรวจคลื่นสึนามิในทะเลอันดามันนี้ เป็นกลไกในการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยสึนามิเพื่อให้สามารถเตือนภัยได้ล่วงหน้าอย่างแม่นยำ และรวดเร็ว ทำให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนกกับข่าวลือต่างๆ จึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว
นอกจากนั้น นายชยพล ยังได้กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่ทางราชการได้วางตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามันแล้วอยากให้ทุกคนช่วยกันดูแลและคิดว่าเป็นสมบัติของชาติที่มีไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเตือนภัยสึนามิ ที่มีประโยชน์กับคนทั้งอันดามัน แต่ที่ผ่านมา มีคนบางคนที่ใช้ทุ่นส่งสัญญาณเตือนภัยเป็นที่พักเรือกลางทะเล ทำให้ทุ่นได้รับความเสียหาย ไม่สามารถส่งสัญญาณมาที่ศูนย์เตือนภัยได้
สำหรับสถานการณ์การเกิดภัยสึนามิเป็นสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า แต่สามารถลดความสูญเสียในเรื่องของชีวิตและทรัพย์สินได้หากมีการเตรียมความพร้อมที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะในเรื่องของการเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันเมื่อปี 2547 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการกำหนดมาตรการในการเตือนภัยล่วงหน้าไว้ ทั้งเรื่องของการติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ ระบบ ETD ที่เกาะเมียง การสร้างหอเตือนภัยสึนามิ การซ้อมหนีภัยสึนามิ และอื่นๆ
และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ทางกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้จัดให้มีการปล่อยเรือวางระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ ระบบ ETD ( Easy to Deploy) เพื่อวางระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูลปัจจัยที่บ่งบอกการเกิดคลื่นสึนามิ เพื่อให้การส่งต่อข้อมูลไปยังระบบแจ้งเตือนภัยของประเทศต่างๆ มีความสมบูรณ์ พร้อมใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานระดับโลก มีความรวดเร็ว ทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากนั้น ยังได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบเตือนภัยสินามิในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามันด้วย
สำหรับการปล่อยเรือวางระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ ในครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.0 น.วันนี้ (16 ม.ค.) นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธาน เรือจากศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Saefdec) ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ จำนวน 1 ชุด เดินทางไปติดตั้งและวางระบบในทะเลอันดามันระยะทาง 290 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต เพื่อทดแทนทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิชุดเก่าที่ได้รับความเสียหายไม่สามารถส่งสัญญาณมาตั้งแต่เดือน ต.ค.2560 หลังมีการติดตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ 19 ม.ค.60 โดยการติดตั้งในครั้งนี้จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการทั้งการเดินทาง ติดตั้ง และตรวจเช็กระบบจนกว่าจะใช้งานได้เป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันนี้ 16 ม.ค.-18 ม.ค.นี้ โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ รวมทั้งค่าขนส่ง และตัวเครื่อง ประมาณกว่า 40 ล้านบาท
นอกจากนั้น วันนี้ (16 ม.ค.) ทางกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยังได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบเตือนภัยสินามิในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน ขึ้นที่โรงแรม โนโวเทลโภคีธารา ภูเก็ต โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และตัวแทนจากสถานกงกุลต่างๆ เข้าร่วม
นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่าแผ่นดินไหว และสึนามิเป็นภัยพิบัติสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการวางระบบและพัฒนากลไกการแจ้งเตือนภัยสึนามิที่รวดเร็ว และทั่วถึง กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้เชื่อมโยงข้อมูลเตือนภัยสึนามิอย่างเป็นระบบ ฝ่ายศูนย์วิเคราะห์สินามินานาชาติ พร้อมติดตามปัจจัยบ่งชี้แนวโน้มการเกิดสึนามิจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลเชิงลึกของแผ่นดินไหว จะมีข้อมูลแรงดันน้ำในระดับความลึกจากต้นตรวจวัดสึนามิฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และ ข้อมูลระดับน้ำทะเลจากสถานีวัดระดับน้ำทรวมถึงได้วางระบบตรวจวัดและเตือนสินามิทั่วถึงทุกพื้นที่เพื่อให้สามารถคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ภัยและแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าอย่างแม่นยำ และทันต่อสถานการณ์
ทั้งนี้ ได้จัดประชุมสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นเกี่ยวกับระบบการแจ้งเตือนภัยสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันขึ้นวันนี้ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด 6 จังหวัดอันดามัน เจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนผู้ประกอบการด้านบริการ ผู้ประกอบการด้านประมง ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำเครือข่ายเตือนภัยภาคประชาชนเข้าร่วมการประชุมกว่า 150 คน นอกจากนี้ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้กำหนดวางระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน ซึ่งถือเป็นข้อมูลสำคัญในการเก็บข้อมูลของแรงสั่นสะเทือน และปัจจัยบ่งชี้การเกิดขึ้นสึนามิ โดยทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลไปยังระบบแจ้งเตือนภัยของประเทศต่างๆ ตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก การติดตามปัจจัยบ่งชี้แนวโน้มการเกิดสึนามิจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลเชิงลึกของแผ่นดินไหวในทะเล ข้อมูลแรงดันน้ำในระดับความลึกจากการตรวจวัดคลื่นสึนามิฝั่งมหาสมุทรอินเดียมีความสมบูรณ์มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้เชื่อมโยงข้อมูลที่บ่งชี้ว่าจะเกิดสึนามิอย่างรอบด้าน บนฐานข้อมูลเชิงวิชาการ พร้อมนำเทคโนโลยีมาใช้ในการคาดการณ์และแจ้งเตือนภัยสึนามิที่แม่นยำ รวดเร็ว อีกทั้งวางระบบเตือนสึนามิ ให้พร้อมใช้งานในทุกพื้นที่เสี่ยงภัย ควบคู่กับการกระจายข้อมูลเตือนภัยสึนามิในหลากหลายช่องทางระดับพื้นที่ รวมถึงสร้างเครือข่ายเตือนภัยทำหน้าที่ประสานแจ้งเตือนให้ประชาชนอพยพทันท่วงที
นายชยพล กล่าวต่อว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ผลักดันให้มีกรอบนโยบายและการทำงานในทิศทางเดียวกัน มีการบูรณาการปฏิบัติงานให้การจัดการสาธารณภัยเป็นไปอย่างมีระบบ มีหน่วยเผชิญเหตุอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะหน่วยปฏิบัติระดับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ที่มีความพร้อม และสามารถบูรณาการบริหารจัดการภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การติดตั้งระบบตรวจคลื่นสึนามิในทะเลอันดามันนี้ เป็นกลไกในการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยสึนามิเพื่อให้สามารถเตือนภัยได้ล่วงหน้าอย่างแม่นยำ และรวดเร็ว ทำให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนกกับข่าวลือต่างๆ จึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว
นอกจากนั้น นายชยพล ยังได้กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่ทางราชการได้วางตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามันแล้วอยากให้ทุกคนช่วยกันดูแลและคิดว่าเป็นสมบัติของชาติที่มีไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเตือนภัยสึนามิ ที่มีประโยชน์กับคนทั้งอันดามัน แต่ที่ผ่านมา มีคนบางคนที่ใช้ทุ่นส่งสัญญาณเตือนภัยเป็นที่พักเรือกลางทะเล ทำให้ทุ่นได้รับความเสียหาย ไม่สามารถส่งสัญญาณมาที่ศูนย์เตือนภัยได้