xs
xsm
sm
md
lg

ควาญนำช้างบ้านหลบช้างป่า หลังพบช้างป่าคชลักษณ์งามตามตำราเชื่อเป็นช้างคู่แผ่นดิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


 
นครศรีธรรมราช - ผู้เลี้ยงช้างนำช้างเลี้ยงออกห่างจากชายป่าบ้านลำนาน หวั่นอันตรายหลังพบช้างป่าเพศผู้ คชลักษณ์งามตามตำราโบราณ และโขลงช้างป่าตามมาอีกหลายตัว ระบุลักษณะเข้าข่ายช้างสำคัญชั้นสูง

วันนี้ (6 พ.ย.) ผู้เลี้ยงช้างในบริเวณหมู่บ้านหมู่ที่ 1 ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช นำช้างเลี้ยงชื่อว่า “สีดอทองดี” หลบเข้ามาอยู่บริเวณบ้านและหลีกเลี่ยงการนำช้างเลี้ยงไปไว้บริเวณชายป่าบ้านลำนาน หมู่ที่ 1 ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคีรี ระหว่างรอยต่อตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ เนื่องจาก 2 วันก่อน ได้มีโขลงช้างป่าพยายามเข้ามาใกล้จุดที่การผูกล่ามช้างเลี้ยงไว้ เนื่องจากเกรงอันตรายจากโขลงช้างป่าที่อาจทำร้ายช้างเลี้ยงตามสัญชาตญาณได้ แต่ในขณะเดียวกัน ได้ปรากฏช้างที่มีคชลักษณ์งดงามตามปรากฏในภาพถ่ายอยู่ในโขลงเดียวกันด้วย โดย นายสมชัย หยู่ทองคำ ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวที่เลี้ยงช้างอยู่ถึง 3 เชือกด้วยกัน เฝ้าสังเกตช้างป่าโขลงนี้ ซึ่งพบว่ามีมากกว่า 10 ตัวมาอย่างต่อเนื่องมากว่า 1 สัปดาห์แล้ว
 

 
นายสมชัย หยู่ทองคำ เปิดเผยว่า ได้เฝ้าสังเกตโขลงช้างป่า และช้างตัวที่มีลักษณะงดงามมาอย่างต่อเนื่อง มีข้อสังเกตที่สำคัญคือ ช้างเพศผู้ตัวนี้มีสีผิวดำนิลเสมอกัน ท่าเดินองอาจสวยงามกว่าช้างทั่วไป ลักษณะหัว โคนงาที่งดงาม หลังงดงามโค้งก้านกล้วย ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดตามตำราช้างสำคัญคือ ช้างป่าตัวอื่นที่มีโคลนดินเปื้อนตัวตามธรรมชาติของช้าง แต่ตัวนี้ผิวสะอาดงดงามดำสนิทไม่มีตำหนิ ไม่มีรอยเปื้อน ไม่เล่นดิน เล่นโคลน ต่างตัวจากตัวอื่นๆ เข้าลักษณะช้างที่เป็นของสูง หรือช้างสำคัญของแผ่นดิน ซึ่งส่วนตัวนั้นชื่อว่าเป็นช้างเผือกรูปพรรณสัณฐานมีความโดดเด่น โครงร่างใหญ่ สีผิวไม่เหมือนช้างใดๆ มีความสะอาดต่างๆ อย่างเห็นได้ชัด เหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญ

สำหรับความเคลื่อนไหวของช้างป่าโขลงนี้ ชาวบ้านยังคงเฝ้าติดตามข่าวคราวการเดินหากินอย่างตื่นเต้นดีใจ โดยต่างเมื่อเข้าไปทำสวนบริเวณชายป่าจะหาร่องรอย หรือคอยเฝ้าดูการหากินของช้างอย่างภาคภูมิใจ และหากกลายเป็นช้างสำคัญของแผ่นดินต่างพร้อมร่วมกันทูลเกล้า และขอให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบให้ชัดเจนว่าจะเข้าข่ายเป็นช้างเผือกหรือไม่ รวมทั้งเชื่อว่าจะก่อให้เกิดเป็นมงคลแก่แผ่นดินในการปรากฏของช้างสำคัญตามความเชื่อโบราณ
 

กำลังโหลดความคิดเห็น