พังงา - พนักงาน ลูกจ้าง บริษัทนำเที่ยวเกาะสิมิลัน ประมาณ 1,000 คน ชูป้ายเรียกร้องให้รัฐบาลและกรมอุทยานแห่งชาติผ่อนผันการประกาศกรมอุทยานฯ จำกัดปริมาณนักท่องเที่ยว พบชาวมอแกน เตรียมว่างงานครึ่งหมู่บ้าน

วันนี้ (15 ต.ค.) นายณัฐกิตติ์ ล้อวิชช์วรวัชร ประธานชมรมเรือนำเที่ยวสิมิลัน-สุรินทร์ นำกลุ่มผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยว รถตู้รับจ้าง และลูกจ้างบริษัทเรือท่องเที่ยวเกาะสิมิลัน ทั้ง จ.ภูเก็ต และ จ.พังงา ประมาณ 1,000 คน เดินทางมาชุมนุมที่โรงเรียนพระราชทานทับละมุ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ชูป้ายเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหากรณีประกาศของกรมอุทยานฯ จำกัดปริมาณน้ำท่องเที่ยว ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครอง

ที่ประกาศให้นักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่หมู่เกาะสิมิลัน ได้ไม่เกิน 3,850 คน ต่อวัน โดยแบ่งเป็นเส้นทางจากเกาะสี่ไปเกาะแปดไม่เกิน 1,625 คนต่อวัน เส้นทางจากเกาะแปดไปเกาะสี่ ไม่เกิน 1,700 คนต่อวัน และนักท่องเที่ยวที่จะมาทำกิจกรรมดำน้ำลึกตามจุดต่างๆ 21 จุด กำหนดไม่เกิน 525 คนต่อวัน ห้ามพักแรมค้างคืนภายในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน นอกจากนี้ กรมอุทยานฯ ยังออกประกาศกำหนดอัตราค่าบริการเรือที่ใช้แล่นบริการนักท่องเที่ยวในเขต อช.หมู่เกาะสิมิลัน เรือขนาดบรรทุกไม่เกิน 25 คน ราคา 500 บาทต่อลำต่อวัน เรือขนาดบรรทุกโดยสาร ตั้งแต่ 26-50 คน ราคา 1,000 บาทต่อลำต่อวัน เรือขนาดบรรทุกโดยสาร ตั้งแต่ 51-100 คน ราคา 2,000 บาทต่อลำต่อวัน ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเป็นลูกโซ่ ทั้งพนักงาน ลูกจ้าง รวมถึงผู้ขับรถตู้โดยสารอีกด้วย

ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมพูดคุยถึงผลกระทบทั้งระบบอยู่นั้น นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วย นายโอภาส นวลมังสอ ผอ.ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 นครศรีธรรมราช เดินทางเข้ารับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมมีข้อเรียกร้องให้ทางกรมอุทยานฯ ผ่อนผันการประกาศกรมอุทยานฯ กรณี จำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวในหมู่เกาะสิมิลันออกไปก่อนจนกว่าจะได้ข้อยุติ

ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้เสนอให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมตั้งตัวแทนผู้ประกอบการ ฝ่ายเจ้าหน้าที่อุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน และฝ่ายปกครอง เข้าหารือเพื่อหาข้อยุติภายในสัปดาห์นี้ จากนั้นนำข้อสรุปเสนอกรมอุทยานแห่งชาติฯพร้อมข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อให้ทางกรมอุทยานฯ มีประกาศ หรือข้อผ่อนผันตามการพิจารณา

จากการชุมนุมพบชาวมอแกนจำนวนกว่า 50-60 คน เข้าร่วมชูป้ายข้อความว่าชาวบ้านมอแกนตกงานเกือบทั้งหมู่บ้าน โดย นายน๊อต กล้าทะเล อายุ 19 ปี ชาวมอแกน พร้อมด้วย นายภานุพงศ์ แสงสุวรรณ อายุ 24 ปี พนักงาน บ.เลิฟอันดามัน กล่าวว่า ชาวมอแกนอาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์มานานกว่า 200 ปี ปัจจุบัน ในหมู่บ้านมีแต่คนชรา ผู้หญิง และเด็ก ส่วนชายวัยทำงาน ได้เป็นพนักงานของบริษัททัวร์ โดยประกาศกรมอุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน ส่งผลกระทบต่ิธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่

ซึ่งทางบริษัทมีแนวโน้มเลิกจ้าง ทำให้ตนเองและชาวมอแกนจำนวนกว่า 50 คน ในหมู่บ้านต้องตกงานไม่มีรายได้ ซึ่งคิดจะหันทำประมงก็เกรงจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติในเขตอุทยานแห่งชาติ ทำให้ชาวมอแกนปัจจุบันนี้ต้องเกิดความลำบากในการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน
วันนี้ (15 ต.ค.) นายณัฐกิตติ์ ล้อวิชช์วรวัชร ประธานชมรมเรือนำเที่ยวสิมิลัน-สุรินทร์ นำกลุ่มผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยว รถตู้รับจ้าง และลูกจ้างบริษัทเรือท่องเที่ยวเกาะสิมิลัน ทั้ง จ.ภูเก็ต และ จ.พังงา ประมาณ 1,000 คน เดินทางมาชุมนุมที่โรงเรียนพระราชทานทับละมุ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ชูป้ายเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหากรณีประกาศของกรมอุทยานฯ จำกัดปริมาณน้ำท่องเที่ยว ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครอง
ที่ประกาศให้นักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่หมู่เกาะสิมิลัน ได้ไม่เกิน 3,850 คน ต่อวัน โดยแบ่งเป็นเส้นทางจากเกาะสี่ไปเกาะแปดไม่เกิน 1,625 คนต่อวัน เส้นทางจากเกาะแปดไปเกาะสี่ ไม่เกิน 1,700 คนต่อวัน และนักท่องเที่ยวที่จะมาทำกิจกรรมดำน้ำลึกตามจุดต่างๆ 21 จุด กำหนดไม่เกิน 525 คนต่อวัน ห้ามพักแรมค้างคืนภายในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน นอกจากนี้ กรมอุทยานฯ ยังออกประกาศกำหนดอัตราค่าบริการเรือที่ใช้แล่นบริการนักท่องเที่ยวในเขต อช.หมู่เกาะสิมิลัน เรือขนาดบรรทุกไม่เกิน 25 คน ราคา 500 บาทต่อลำต่อวัน เรือขนาดบรรทุกโดยสาร ตั้งแต่ 26-50 คน ราคา 1,000 บาทต่อลำต่อวัน เรือขนาดบรรทุกโดยสาร ตั้งแต่ 51-100 คน ราคา 2,000 บาทต่อลำต่อวัน ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเป็นลูกโซ่ ทั้งพนักงาน ลูกจ้าง รวมถึงผู้ขับรถตู้โดยสารอีกด้วย
ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมพูดคุยถึงผลกระทบทั้งระบบอยู่นั้น นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วย นายโอภาส นวลมังสอ ผอ.ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 นครศรีธรรมราช เดินทางเข้ารับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมมีข้อเรียกร้องให้ทางกรมอุทยานฯ ผ่อนผันการประกาศกรมอุทยานฯ กรณี จำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวในหมู่เกาะสิมิลันออกไปก่อนจนกว่าจะได้ข้อยุติ
ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้เสนอให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมตั้งตัวแทนผู้ประกอบการ ฝ่ายเจ้าหน้าที่อุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน และฝ่ายปกครอง เข้าหารือเพื่อหาข้อยุติภายในสัปดาห์นี้ จากนั้นนำข้อสรุปเสนอกรมอุทยานแห่งชาติฯพร้อมข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อให้ทางกรมอุทยานฯ มีประกาศ หรือข้อผ่อนผันตามการพิจารณา
จากการชุมนุมพบชาวมอแกนจำนวนกว่า 50-60 คน เข้าร่วมชูป้ายข้อความว่าชาวบ้านมอแกนตกงานเกือบทั้งหมู่บ้าน โดย นายน๊อต กล้าทะเล อายุ 19 ปี ชาวมอแกน พร้อมด้วย นายภานุพงศ์ แสงสุวรรณ อายุ 24 ปี พนักงาน บ.เลิฟอันดามัน กล่าวว่า ชาวมอแกนอาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์มานานกว่า 200 ปี ปัจจุบัน ในหมู่บ้านมีแต่คนชรา ผู้หญิง และเด็ก ส่วนชายวัยทำงาน ได้เป็นพนักงานของบริษัททัวร์ โดยประกาศกรมอุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน ส่งผลกระทบต่ิธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่
ซึ่งทางบริษัทมีแนวโน้มเลิกจ้าง ทำให้ตนเองและชาวมอแกนจำนวนกว่า 50 คน ในหมู่บ้านต้องตกงานไม่มีรายได้ ซึ่งคิดจะหันทำประมงก็เกรงจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติในเขตอุทยานแห่งชาติ ทำให้ชาวมอแกนปัจจุบันนี้ต้องเกิดความลำบากในการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน