ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เปิดตัว “ซา โน ติก” ผ้าลายสายแร่ อัตลักษ์ผ้าบาติก สินค้าโอทอปเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัด หวังทำให้เป็นสินค้าเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ที่ดึงแนวความคิดของเมืองแห่งแร่ดีบุกมาไว้บนผืนผ้าอย่างสวยงาม
วันนี้ (3 ก.ค.) นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดตัวผ้าลายสายแร่ Sano Tik หรือซา โน ติก ในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมพัฒนากลไกการตลาดผลิตภัณฑ์ Batik OTOP Andaman เพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต จัดขึ้นที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมี นายกิติพล เวชกุล พัฒนาการจังหวัดภูเก็ต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ผลิตสินค้าอโทอป จ.ภูเก็ต รวมทั้งผู้คิดค้นลายผ้าสายแร่เข้าร่วม
นายกิติพล เวชกุล พัฒนาการจังหวัดภูเก็ต ผ้าลายสายแร่ Sano Tik หรือซา โน ติก เกิดขึ้นเพราะต้องการที่จะพัฒนาผ้าบาติก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์โอทอปของจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดอันดามันที่เคยโดดเด่น มีกลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน สร้างรายได้จำนวนมาก ประกอกับจังหวัดจังหวัดภูเก็ต และกลุ่มจังหวัดอันดามันเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว แต่รูปแบบผ้าที่มีอยู่เป็นรูปแบบเดิมๆ จึงมีแนวความคิดที่จะพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งเพื่อสร้างอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ เทคนิคเฉพาะตัวของผู้ประกอบการ และงานที่ออกมาให้มีความโดดเด่น โดยการสร้างฐานแนวความคิดหลักของจังหวัดภูเก็ตเพื่อให้ผู้ประกอบการผ้าบาติกนำแนวคิดไปพัฒนา จนเป็นที่มาของผ้าลายสายแร่ Sano Tik หรือซา โน ติก
ผ้าลายสายแร่ Sano Tik หรือซา โน ติก เกิดจากการนำเอาเอกลักษณ์ แร่ดีบุก ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกสีดำ เทา นำมาออกแบบลวดลายบนผืนผ้าด้วยเทคนิคการมัดย้อม ที่เกิดจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ รวมถึงการซ้อนทับสีหลายชั้น จนเกิดเป็นลวดลายเส้นแร่ดีบุกที่พลิ้วไหว มีการซ้อนสีขาว เทา ดำ ที่ถือเป็นเอกลักษณ์สีแร่ดีบุก รวมถึงการนำเอาสีเหลืองทองมาแทรกบนผืนผ้าเพื่อให้เกิดมิติใหม่ ที่เปรียบเสมือนดั่งสมบัติอันล่ำค่าของจังหวัดภูเก็ต
สำหรับการทำผ้าชุดนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาเป็นผู้คิดค้น ประกอบด้วย น.ส.จิราพร เกียรตินฤมล อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อาจารย์พอหทัย ซุ่นสั้น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และนายพึงช์พันธ์ หวังปัญญา อาจารย์พิเศษ ม.เกษตรศาสตร์บางเขน และเริ่มจากแนวความคิดเพื่อค้นหาความเป็นอัตลักษณ์ ที่แท้จริงของจังหวัดภูเก็ต นำออกสู่การสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าโดยการทดลองจนตกผลึกและนำผืนผ้าที่ได้ออกสู่ผู้บริโภค ซึ่งการทำงานในครั้งนี้ถือเป็นการสร้างต้นแบบ Sano Tik Collection ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ เทคนิค วิธีการทำให้แก่ผู้ประกอบการในจังหวัดภูเก็ตอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อก่อให้เกิดภาพลักษณ์ใหม่แก่จังหวัดภูเก็ต
ขณะที่ น.ส.จิราพร เกียรตินฤมล อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวถึงการทำผ้าลายสายแร่ ว่า ได้รับโจทย์จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งกว่าจะได้ลายผ้าดังกล่าวมาต้องใช้เวลา และทดลองทำกันนาน โดยเฉพาะการตกผลึกทางความคิดที่จะแสดงออกมาให้เห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์ของความเป็นจังหวัดภูเก็ต ก่อนจะมาเป็นแร่ดีบุกก็คิดกันมาหลายอย่าง ทั้งเรื่องทะเล เรื่องของดอกเฟื่องฟ้า เรื่องของปลา แต่สิ่งเหล่านี้มีการไปทำเป็นลายผ้าบาติกมามากแล้ว
จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้ผ้าออกมาโดดเด่น เลยคิดว่าในสมัยก่อนภูเก็ตจะมีชื่อเสียง และเป็นแหล่งแร่ดีบุก จึงคิดว่าจะทำผ้าที่เป็นลายสายแร่ออกมา แต่จะต้องทันสมัย และเป็นแนวโมเดิร์น ที่สามารถใช้กับคนทุกรุ่น ทุกชาติ โดยเฉพาะจะต้องตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว จึงได้ลองผิดลองถูกด้วยการทำผ้ามัดย้อม จนได้วิธีการทำให้ได้ผ้าลายสายแร่ที่เป็นต้นแบบออกมา หลังจากนี้ ก็จะนำเทคนิควิธีการไปถ่ายทอดให้แก่กลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติกต่อไป
วันนี้ (3 ก.ค.) นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดตัวผ้าลายสายแร่ Sano Tik หรือซา โน ติก ในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมพัฒนากลไกการตลาดผลิตภัณฑ์ Batik OTOP Andaman เพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต จัดขึ้นที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมี นายกิติพล เวชกุล พัฒนาการจังหวัดภูเก็ต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ผลิตสินค้าอโทอป จ.ภูเก็ต รวมทั้งผู้คิดค้นลายผ้าสายแร่เข้าร่วม
นายกิติพล เวชกุล พัฒนาการจังหวัดภูเก็ต ผ้าลายสายแร่ Sano Tik หรือซา โน ติก เกิดขึ้นเพราะต้องการที่จะพัฒนาผ้าบาติก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์โอทอปของจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดอันดามันที่เคยโดดเด่น มีกลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน สร้างรายได้จำนวนมาก ประกอกับจังหวัดจังหวัดภูเก็ต และกลุ่มจังหวัดอันดามันเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว แต่รูปแบบผ้าที่มีอยู่เป็นรูปแบบเดิมๆ จึงมีแนวความคิดที่จะพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งเพื่อสร้างอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ เทคนิคเฉพาะตัวของผู้ประกอบการ และงานที่ออกมาให้มีความโดดเด่น โดยการสร้างฐานแนวความคิดหลักของจังหวัดภูเก็ตเพื่อให้ผู้ประกอบการผ้าบาติกนำแนวคิดไปพัฒนา จนเป็นที่มาของผ้าลายสายแร่ Sano Tik หรือซา โน ติก
ผ้าลายสายแร่ Sano Tik หรือซา โน ติก เกิดจากการนำเอาเอกลักษณ์ แร่ดีบุก ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกสีดำ เทา นำมาออกแบบลวดลายบนผืนผ้าด้วยเทคนิคการมัดย้อม ที่เกิดจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ รวมถึงการซ้อนทับสีหลายชั้น จนเกิดเป็นลวดลายเส้นแร่ดีบุกที่พลิ้วไหว มีการซ้อนสีขาว เทา ดำ ที่ถือเป็นเอกลักษณ์สีแร่ดีบุก รวมถึงการนำเอาสีเหลืองทองมาแทรกบนผืนผ้าเพื่อให้เกิดมิติใหม่ ที่เปรียบเสมือนดั่งสมบัติอันล่ำค่าของจังหวัดภูเก็ต
สำหรับการทำผ้าชุดนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาเป็นผู้คิดค้น ประกอบด้วย น.ส.จิราพร เกียรตินฤมล อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อาจารย์พอหทัย ซุ่นสั้น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และนายพึงช์พันธ์ หวังปัญญา อาจารย์พิเศษ ม.เกษตรศาสตร์บางเขน และเริ่มจากแนวความคิดเพื่อค้นหาความเป็นอัตลักษณ์ ที่แท้จริงของจังหวัดภูเก็ต นำออกสู่การสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าโดยการทดลองจนตกผลึกและนำผืนผ้าที่ได้ออกสู่ผู้บริโภค ซึ่งการทำงานในครั้งนี้ถือเป็นการสร้างต้นแบบ Sano Tik Collection ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ เทคนิค วิธีการทำให้แก่ผู้ประกอบการในจังหวัดภูเก็ตอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อก่อให้เกิดภาพลักษณ์ใหม่แก่จังหวัดภูเก็ต
ขณะที่ น.ส.จิราพร เกียรตินฤมล อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวถึงการทำผ้าลายสายแร่ ว่า ได้รับโจทย์จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งกว่าจะได้ลายผ้าดังกล่าวมาต้องใช้เวลา และทดลองทำกันนาน โดยเฉพาะการตกผลึกทางความคิดที่จะแสดงออกมาให้เห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์ของความเป็นจังหวัดภูเก็ต ก่อนจะมาเป็นแร่ดีบุกก็คิดกันมาหลายอย่าง ทั้งเรื่องทะเล เรื่องของดอกเฟื่องฟ้า เรื่องของปลา แต่สิ่งเหล่านี้มีการไปทำเป็นลายผ้าบาติกมามากแล้ว
จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้ผ้าออกมาโดดเด่น เลยคิดว่าในสมัยก่อนภูเก็ตจะมีชื่อเสียง และเป็นแหล่งแร่ดีบุก จึงคิดว่าจะทำผ้าที่เป็นลายสายแร่ออกมา แต่จะต้องทันสมัย และเป็นแนวโมเดิร์น ที่สามารถใช้กับคนทุกรุ่น ทุกชาติ โดยเฉพาะจะต้องตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว จึงได้ลองผิดลองถูกด้วยการทำผ้ามัดย้อม จนได้วิธีการทำให้ได้ผ้าลายสายแร่ที่เป็นต้นแบบออกมา หลังจากนี้ ก็จะนำเทคนิควิธีการไปถ่ายทอดให้แก่กลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติกต่อไป