xs
xsm
sm
md
lg

“ต้นหางนกยูงฝรั่ง” มาจากเกาะมาดากัสการ์ แอฟริกา สรรพคุณดี ประโยชน์เด่น ประดับสวยงาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

1
 
คอลัมน์  :  ดูรูปสวยแถมด้วยเกร็ดความรู้  /  โดย...สกนธ์  รัตนโกศล
 
 
2
 
“ต้นหางนกยูงฝรั่ง” มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2367 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรเลียชื่อ เวนเซล โบเจอร์ (Wenzel Bojer)
 
หางนกยูงฝรั่งมีชื่อท้องถิ่นว่า นกยูงฝรั่ง อินทรี (ภาคกลาง), หงอนยูง (ภาคใต้), นกยูง นกยูงฝรั่ง ชมพอหลวง ส้มพอหลวง (ภาคเหนือ), ยูงทอง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มีชื่อสามัญ Flam-boyant, The Flame tree, Royal poinciana ชื่อวิทยาศาสตร์ Delonix regia (Hook.) Raf. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ ความสูง 10-15 เมตร ทรงพุ่มรูปร่ม
- ลำต้นเกลี้ยง เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม โคนต้นเป็นพูพอน มักมีรากโผล่พ้นดินออกโดยรอบเมื่อโตเต็มที่ ระบบรากแข็งแรง
- ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก
- ดอกเป็นช่อเชิงหลั่นขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่งหรือกิ่งข้าง กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน มีหลายสีคือ สีแดงอมส้ม ส้ม เหลือง ออกดอกเดือนเมษายน-มิถุนายน
- ผลเป็นฝักแห้ง แตกเป็น 2 ซีก กว้าง 5-6 เซนติเมตร ยาว 40-60 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ฝักแก่สีน้ำตาลเข้มเกือบดำและแตกออก
 
สรรพคุณหางนกยูงฝรั่ง 
- รากช่วยแก้อาการบวมต่างๆ และใช้เป็นยาขับโลหิตสตรี 
- ลำต้นนำมาฝนใช้ทาแก้พิษ ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ 

ประโยชน์หางนกยูงฝรั่ง

 
เนื่องจากหางนกยูงฝรั่งเป็นต้นไม้ที่ปลูกได้ง่าย และทนทานต่อสภาพอากาศแห้งแล้ง สีของดอกดูสวยสดใส ทรงพุ่มก็สวยงาม จึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่ราชการ รวมไปถึงสวนสาธารณะและตามขอบถนนหนทาง
 
อีกทั้งเมล็ดสามารถนำมาใช้ทำเป็นขนมหวาน ด้วยวิธีต้มกับน้ำตาล ราดด้วยกะทิ และเมล็ดอ่อนก็ยังนำมารับประทานสดได้
 
ข้อควรระวังในกรณีที่เป็นเมล็ดแก่ ต้องนำมาทำให้สุกก่อนจึงจะสามารถรับประทานได้ เพราะเมล็ดแก่มีสารประกอบบางชนิดที่เป็นพิษ และจะถูกทำลายได้โดยความร้อนนะขอรับ 
 
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
 
บรรณานุกรม 
 
- https://medthai.com/หางนกยูงฝรั่ง/
- book.baanlaesuan.com/standard/flamboyant/
 


กำลังโหลดความคิดเห็น