ศูนย์ข่าวภูเก็ต - คลื่นลมแรงซัดโลมาลายแถบเกยตื้นที่ชายหาดกมลา จ.ภูเก็ต เจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือ พบมีอาการอ่อนเพลีย และเครียด ไม่สามารถทรงตัวได้ ต้องนำส่งกลุ่มสัตว์ทะเลหายากดูแลต่อ
เมื่อเวลา 00.30 น. วันนี้ (7 พ.ค.) เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพ อบต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต พร้อมด้วยชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวเข้าช่วยเหลือโลมาขนาดใหญ่ซึ่งถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่บริเวณชายหาดกมลา ตรงข้ามสวนสาธารณะ ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ก่อนที่จะแจ้งให้เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันเข้าช่วยเหลือ
หลังจากรับแจ้ง ทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากได้ประสานให้เจ้าหน้าที่มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต ประจำจุดป่าตอง ไปรับตัวมาส่งที่ศูนย์ฯ เนื่องจากโลมามีอาการอ่อนเพลีย เมื่อเจ้าหน้าที่ไปถึงพบเจ้าหน้าที่จาก อบต.กมลา นักท่องเที่ยว และประชาชนกำลังช่วยเหลือประคองโลมาอยู่ภายในน้ำ แต่ระหว่างนั้นได้มีคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้ามา ทำให้โลมาหลุดออกไปในทะเลกว่า 10 เมตร ทางเจ้าหน้าที่จึงได้นำเรือขนาดเล็กออกไป และนำโลมาซึ่งมีสภาพอ่อนเพลียไม่สามารถว่ายน้ำได้ขึ้นไว้บนเรือ และรอเคลื่อนย้าย เนื่องจากโลมามีอาการเครียด ต้องใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงจึงสามารถเคลื่อนย้ายโลมาขึ้นบนท้ายรถกระบะ ก่อนนำมาส่งที่ศูนย์ฯได้อย่างปลอดภัย
จากการตรวจสอบในเบื้องต้น พบว่า โลมาตัวดังกล่าวเป็นโลมาลายแถบ อายุ 15-20 ปี เพศผู้ ซึ่งโตเต็มวัย น้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม ยาวประมาณ 2 เมตร มีแผลถลอกตามลำตัว ทางเจ้าหน้าที่ใช้ฉีดคลายเครียดไปให้ 1 เข็ม และเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
จากการสอบถาม นายเกรียงศักดิ์ บุญหลัง เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพ อบต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ตนได้รับแจ้งจากประชาชนที่มาเดินเล่นบริเวณชายหาด เห็นโลมาถูกคลื่นชัดมาเกยตื้น และถูกคลื่นซัดขึ้นๆ ลงๆ ที่บริเวณชายหาดหลายรอบ หลังจากได้รับแจ้งจึงรีบเดินทางมาตรวจสอบ เมื่อมาถึงพบ โลมา เกยตื้น และถูกคลื่นซัดกลิ้งไปมา ตนจึงให้เจ้าหน้าที่ และชาวบ้าน นักท่องเที่ยวลงไปช่วยประคองอยู่ในน้ำ
จากนั้นได้ประสานเจ้าหน้าที่มูลนิธิกุศลธรรม จงภูเก็ต ประจำจุดหาดป่าตอง เข้าช่วยเหลือ แต่เนื่องจากในทะเลมีคลื่นลมแรงทำให้โลมาตัวดังกล่าวถูกคลื่นชัดลงทะเลห่างจากฝั่งประมาณ 10 เมตร ซึ่งโลมาไม่สามารถว่าน้ำทรงตัวได้ จึงได้นำเรือขนาดเล็กลงไปแล้วจับโลมาใส่ในเรือก่อนนำขึ้นฝั่ง และนำไปส่งที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เพื่อดูแลรักษาต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามไปยังกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก พบว่า ขณะนี้อาการของโลมาเคราะห์ร้ายยังทรงตัว แต่อาการเครียดเริ่มลดน้อยลง ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องนำไปไว้ในบ่ออนุบาล เพราะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ในช่วงเช้าวันนี้จะเก็บตัวอย่างเลือดนำไปตรวจสอบต่อไป
เมื่อเวลา 00.30 น. วันนี้ (7 พ.ค.) เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพ อบต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต พร้อมด้วยชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวเข้าช่วยเหลือโลมาขนาดใหญ่ซึ่งถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่บริเวณชายหาดกมลา ตรงข้ามสวนสาธารณะ ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ก่อนที่จะแจ้งให้เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันเข้าช่วยเหลือ
หลังจากรับแจ้ง ทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากได้ประสานให้เจ้าหน้าที่มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต ประจำจุดป่าตอง ไปรับตัวมาส่งที่ศูนย์ฯ เนื่องจากโลมามีอาการอ่อนเพลีย เมื่อเจ้าหน้าที่ไปถึงพบเจ้าหน้าที่จาก อบต.กมลา นักท่องเที่ยว และประชาชนกำลังช่วยเหลือประคองโลมาอยู่ภายในน้ำ แต่ระหว่างนั้นได้มีคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้ามา ทำให้โลมาหลุดออกไปในทะเลกว่า 10 เมตร ทางเจ้าหน้าที่จึงได้นำเรือขนาดเล็กออกไป และนำโลมาซึ่งมีสภาพอ่อนเพลียไม่สามารถว่ายน้ำได้ขึ้นไว้บนเรือ และรอเคลื่อนย้าย เนื่องจากโลมามีอาการเครียด ต้องใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงจึงสามารถเคลื่อนย้ายโลมาขึ้นบนท้ายรถกระบะ ก่อนนำมาส่งที่ศูนย์ฯได้อย่างปลอดภัย
จากการตรวจสอบในเบื้องต้น พบว่า โลมาตัวดังกล่าวเป็นโลมาลายแถบ อายุ 15-20 ปี เพศผู้ ซึ่งโตเต็มวัย น้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม ยาวประมาณ 2 เมตร มีแผลถลอกตามลำตัว ทางเจ้าหน้าที่ใช้ฉีดคลายเครียดไปให้ 1 เข็ม และเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
จากการสอบถาม นายเกรียงศักดิ์ บุญหลัง เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพ อบต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ตนได้รับแจ้งจากประชาชนที่มาเดินเล่นบริเวณชายหาด เห็นโลมาถูกคลื่นชัดมาเกยตื้น และถูกคลื่นซัดขึ้นๆ ลงๆ ที่บริเวณชายหาดหลายรอบ หลังจากได้รับแจ้งจึงรีบเดินทางมาตรวจสอบ เมื่อมาถึงพบ โลมา เกยตื้น และถูกคลื่นซัดกลิ้งไปมา ตนจึงให้เจ้าหน้าที่ และชาวบ้าน นักท่องเที่ยวลงไปช่วยประคองอยู่ในน้ำ
จากนั้นได้ประสานเจ้าหน้าที่มูลนิธิกุศลธรรม จงภูเก็ต ประจำจุดหาดป่าตอง เข้าช่วยเหลือ แต่เนื่องจากในทะเลมีคลื่นลมแรงทำให้โลมาตัวดังกล่าวถูกคลื่นชัดลงทะเลห่างจากฝั่งประมาณ 10 เมตร ซึ่งโลมาไม่สามารถว่าน้ำทรงตัวได้ จึงได้นำเรือขนาดเล็กลงไปแล้วจับโลมาใส่ในเรือก่อนนำขึ้นฝั่ง และนำไปส่งที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เพื่อดูแลรักษาต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามไปยังกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก พบว่า ขณะนี้อาการของโลมาเคราะห์ร้ายยังทรงตัว แต่อาการเครียดเริ่มลดน้อยลง ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องนำไปไว้ในบ่ออนุบาล เพราะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ในช่วงเช้าวันนี้จะเก็บตัวอย่างเลือดนำไปตรวจสอบต่อไป