ศูนย์ข่าวภาคใต้ - พาย้อนรอยกว่าจะมาถึงบทสรุปส่งท้าย จาก 23 วันเทพามาเมืองกรุงฯ ถึง 13 วัน รวมเครือข่ายเทพา-กระบี่ และ 8 วันที่อดอาหาร 69 คน จนล้มไป 10 คน ที่ต่างคนต่างอดทนยืนหยัดต่อสู้อย่างอารยะ จนต้องจดจำวันประวัติศาสตร์ หลังกระทรวงพลังงาน ยอมถอยโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา-กระบี่ แล้วในที่สุด
“MGR Online ภาคใต้” พาย้อนรอยในเรื่องประเด็นร้อนที่ได้ติดตามมาโดยตลอด ทั้งการนำเสนอข่าว ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก และการอ่านแถลงการณ์ต่างๆ บนความเคลื่อนไหวของเครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเล กระบี่-เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่เดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองหลวง กรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องไปยังผู้มีอำนาจ ให้รับฟังเสียงความเดือดร้อนจากชาวบ้านตาดำๆ ที่ต้องการทำเพียงเพื่อปกป้องถิ่นฐานบ้านเกิด
โดยเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้มีชาวเทพาจำนวนหนึ่งเดินทางออกจาก อ.เทพา จ.สงขลา เพื่อมุ่งหน้าไปยังกรุงเทพฯ และได้เริ่มชุมนุมกันอยู่บริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล ตรงทางเท้าฝั่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยยืนยันถึงการแจ้งขออนุญาตตามกฎหมายทุกประการ ส่งไปยังสถานีตำรวจผู้รับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าว
แต่การชุมนุมกลับไม่ง่ายดายเช่นนั้น เพราะทางตำรวจเจ้าของพื้นที่ได้แจ้งให้ทางเครือข่ายคนเทพาออกจากพื้นที่การชุมนุม โดยอ้างถึงเหตุผลด้านการรักษาความปลอดภัย
จนสุดท้าย ทางพี่น้องชาวเครือข่ายฯ จึงได้มาปักหลักอยู่ริมถนนบริเวณหน้าสำนักงานสหประชาชาติ UN และได้ยื่นข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาลถึงความแน่วแน่ในความต้องการยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา และ จ.กระบี่ พร้อมกับทำการอารยะขัดขืนอย่างสงบ อหิงสา โดยการอดอาหารประท้วงไปพร้อมกัน
จนถึงบทสรุปส่งท้ายแล้ว พลังของประชาชนหยุดถ่านหินกระบี่-เทพา จากทั้งหมด 23 วัน คนเทพามาเมืองกรุงฯ ถึง 13 วันรวมเครือข่ายเทพา-กระบี่ และ 8 วัน 8 คืนที่ร่วมอดอาหารจาก 69 คน จนต้องล้มลงไป 10 คน และได้รับชัยชนะ
จากบันทึกข้อตกลงระหว่างกระทรวงพลังงาน กับเครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเลกระบี่-เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่หน้าสหประชาชาติ 20 ก.พ.61
มีสาระสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่
1.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถอนรายงาน EHIA โรงไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการ ออกจากการพิจารณาของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายใน 3 วัน และให้ กฟผ. ส่งหนังสือแจ้งรับทราบการขอถอนรายงานไปยังเครือข่าย
2.ให้กระทรวงพลังงาน จัดทำรายงานผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) เพื่อศึกษาว่าพื้นที่จังหวัดกระบี่ และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ โดยจะต้องจัดทำด้วยนักวิชาการทีมีความเป็นกลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับร่วมกัน และหากการศึกษาชี้การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินว่าไม่เหมาะสม กฟผ. ต้องยุติการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองพื้นที่ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 9 เดือน
3.หากผล SEA ชี้ว่า พื้นที่มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในขั้นตอนการจัดทำ EHIA จะต้องจัดทำโดยคนกลางที่ยอมรับร่วมกัน
และ 4.ให้คดีความระหว่าง กฟผ. และเครือข่ายเลิกแล้วต่อกัน
ทั้งนี้ เครือข่ายจึงได้ยุติการชุมนุม และเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยไม่เคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาลตามกำหนดการเดิมในที่สุด
ดูคลิปย้อนหลังได้ที่
วันที่ 1 (12 ก.พ.2561) อารยะขัดขืนเรียกร้องรัฐบาลยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา
https://mgronline.com/south/detail/9610000015811
วันที่ 2 (13 ก.พ.2561) อารยะขัดขืนเรียกร้องรัฐบาลยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา
https://mgronline.com/south/detail/9610000015840
วันที่ 3 (14 ก.พ.2561) อารยะขัดขืนเรียกร้องรัฐบาลยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา
https://mgronline.com/south/detail/9610000015857
วันที่ 4 (15 ก.พ.2561) อารยะขัดขืนเรียกร้องรัฐบาลยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา
https://mgronline.com/south/detail/9610000016948
วันที่ 5 (16 ก.พ.2561) อารยะขัดขืนเรียกร้องรัฐบาลยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา
https://mgronline.com/south/detail/9610000016953
วันที่ 6 (17 ก.พ.2561) อารยะขัดขืนเรียกร้องรัฐบาลยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา
https://mgronline.com/south/detail/9610000016964
วันที่ 7 (18 ก.พ.2561) อารยะขัดขืนเรียกร้องรัฐบาลยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา
https://mgronline.com/south/detail/9610000016973
วันที่ 8 (19 ก.พ.2561) อารยะขัดขืนเรียกร้องรัฐบาลยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา
https://mgronline.com/south/detail/9610000017399