พังงา - ฮือฮา หลังพบปลาพระอาทิตย์ ซึ่งเป็นปลาในตำนานของนักดำน้ำ โผล่บริเวณกองหินบาลากูด้า หมู่เกาะสิมิลัน อ.คุระบุรี จ.พังงา

วันนี้ (16 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงาน เฟซบุ๊กแฟนเพจชื่อ “Khao Lak Explorer Dive Center” ได้โพสต์คลิป ปลา Mola mola พร้อมระบุข้อความว่า “Mola mola ที่ similan วันนี้ (รอบเกาะ 4! เห็นหายากมาก https://www.khaolakexplorer.com/ #MolaMola #SimilanIslands #KhaoLakExplorer” ซึ่งพบบริเวณกองหินบาลากูด้า หมู่เกาะสิมิลัน อ.คุระบุรี จ.พังงา ทำให้มีผู้เข้าไปชมคลิปดังกล่าวกว่า 6,000 คน และมีการแชร์กว่า 270 ครั้ง
โดยพบว่า ผู้ที่แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เป็นนักดำนำ และใฝ่ฝันที่จะได้เจอปลาดังกล่าวสักครั้ง บางก็พูดว่า ไม่ต้องไปถึงบาหลีก็สามารถได้เจอปลา Mola mola แล้ว และมีผู้ใช้เฟซบุ๊กอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า “นี่มันบ้าไปแล้วฉัน ฉันดำน้ำมาแล้วกว่า 2000 ไดฟ์ รอบสิมิลัน แต่ไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้เลย” ผู้ที่โพสต์คลิปดังกล่าวจึงตอบกลับไปว่า “เราคิดว่ามันเป็นเรื่องตลกเมื่อเราได้รับข้อความจากพนักงานดำน้ำ แต่กลายเป็นความจริง! อิจฉาจัง”
ซึ่งปลา Mola mola เป็นหนึ่งในตำนานของนักดำน้ำหลายๆคน หรือที่รู้จักว่า ปลาพระอาทิตย์ (Ocean Sunfish) หรือเรียกกันทางวิทยาศาสตร์ว่า โมลา โมล่า ( Mola mola ) จัดอยู่ในกลุ่มปลากระดูกแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ปลาฉลามวาฬ จัดว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่มันเป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มปลากระดูกอ่อน) มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 3.2 เมตร และหนักกว่า 2,300 กิโลกรัม

สามารถพบได้ในทะเลเขตร้อน และอบอุ่นทั่วโลก สถานที่ๆ พบมากที่สุด คือ เกาะบาหลี ในอินโดนีเซีย มีรายงานว่า พบได้ในความลึกถึง 400 เมตร และบางครั้งอาจรวมฝูงกันหลายสิบตัว ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว โดยกินแต่เพียงแมงกะพรุนเป็นอาหาร แต่บางครั้งจะว่ายขึ้นมาบริเวณผิวน้ำเพื่อให้ปลาขนาดเล็กชนิดต่างๆ เกาะกัดปรสิตที่ติดตามตัว ในดงสาหร่ายเคลป์ รวมถึงเพื่ออาบแดดด้วย อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ โดยปลาแสงอาทิตย์ถือเป็นปลาที่มีปรสิตเกาะตามตัวมากที่สุด โดยอาจมีมากถึง 40 ชนิด การที่ปลาแสงอาทิตย์จะให้สัตว์อื่นมากำจัดปรสิตตามลำตัวไม่จำกัดแต่เฉพาะปลาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนกนางนวลด้วย
นอกจากนี้แล้ว ยังจัดเป็นปลาที่วางไข่ได้มากที่สุดในโลก คือ ประมาณ 300 ล้านฟอง โดยไข่จะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ โดยที่พ่อแม่ปลาจะไม่ดูแล ซึ่งจะเหลือรอด และโตมาจนเป็นปลาที่มีขนาดสมบูรณ์ มีเพียงไม่กี่ตัว
ด้าน นายรวมศิลป์ มานะจงประเสริฐ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้รับรายงานว่า มีปลา Mola mola ว่ายเข้ามาบริเวณกองหินบารากูด้า ซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง เกาะ 5 และเกาะ 6 ของหมู่เกาะสิมิลัน จึงได้ลงพื้นที่สำรวจ แต่ก็ยังไม่พบ แต่คาดว่ายังว่ายวนเวียนอยู่รอบๆ หมู่เกาะสิมิลัน เนื่องจากหากเดินทางต่อไปยังมหาสมุทรอินเดียเพียง 6 ไมล์ทะเล ก็จะพบกับไหล่ทวีปซึ่งเป็นหุบเหว เป็นแหล่งรวมของปลาขนาดใหญ่ ประกอบกับในปัจจุบัน มีการคุมเข้มเรื่องการทำประมงในเขตอุทยานฯ จึงทำให้ปลานานาชนิดกลับเข้ามาว่ายวนเวียนในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันอีกครั้ง
วันนี้ (16 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงาน เฟซบุ๊กแฟนเพจชื่อ “Khao Lak Explorer Dive Center” ได้โพสต์คลิป ปลา Mola mola พร้อมระบุข้อความว่า “Mola mola ที่ similan วันนี้ (รอบเกาะ 4! เห็นหายากมาก https://www.khaolakexplorer.com/ #MolaMola #SimilanIslands #KhaoLakExplorer” ซึ่งพบบริเวณกองหินบาลากูด้า หมู่เกาะสิมิลัน อ.คุระบุรี จ.พังงา ทำให้มีผู้เข้าไปชมคลิปดังกล่าวกว่า 6,000 คน และมีการแชร์กว่า 270 ครั้ง
โดยพบว่า ผู้ที่แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เป็นนักดำนำ และใฝ่ฝันที่จะได้เจอปลาดังกล่าวสักครั้ง บางก็พูดว่า ไม่ต้องไปถึงบาหลีก็สามารถได้เจอปลา Mola mola แล้ว และมีผู้ใช้เฟซบุ๊กอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า “นี่มันบ้าไปแล้วฉัน ฉันดำน้ำมาแล้วกว่า 2000 ไดฟ์ รอบสิมิลัน แต่ไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้เลย” ผู้ที่โพสต์คลิปดังกล่าวจึงตอบกลับไปว่า “เราคิดว่ามันเป็นเรื่องตลกเมื่อเราได้รับข้อความจากพนักงานดำน้ำ แต่กลายเป็นความจริง! อิจฉาจัง”
ซึ่งปลา Mola mola เป็นหนึ่งในตำนานของนักดำน้ำหลายๆคน หรือที่รู้จักว่า ปลาพระอาทิตย์ (Ocean Sunfish) หรือเรียกกันทางวิทยาศาสตร์ว่า โมลา โมล่า ( Mola mola ) จัดอยู่ในกลุ่มปลากระดูกแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ปลาฉลามวาฬ จัดว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่มันเป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มปลากระดูกอ่อน) มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 3.2 เมตร และหนักกว่า 2,300 กิโลกรัม
สามารถพบได้ในทะเลเขตร้อน และอบอุ่นทั่วโลก สถานที่ๆ พบมากที่สุด คือ เกาะบาหลี ในอินโดนีเซีย มีรายงานว่า พบได้ในความลึกถึง 400 เมตร และบางครั้งอาจรวมฝูงกันหลายสิบตัว ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว โดยกินแต่เพียงแมงกะพรุนเป็นอาหาร แต่บางครั้งจะว่ายขึ้นมาบริเวณผิวน้ำเพื่อให้ปลาขนาดเล็กชนิดต่างๆ เกาะกัดปรสิตที่ติดตามตัว ในดงสาหร่ายเคลป์ รวมถึงเพื่ออาบแดดด้วย อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ โดยปลาแสงอาทิตย์ถือเป็นปลาที่มีปรสิตเกาะตามตัวมากที่สุด โดยอาจมีมากถึง 40 ชนิด การที่ปลาแสงอาทิตย์จะให้สัตว์อื่นมากำจัดปรสิตตามลำตัวไม่จำกัดแต่เฉพาะปลาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนกนางนวลด้วย
นอกจากนี้แล้ว ยังจัดเป็นปลาที่วางไข่ได้มากที่สุดในโลก คือ ประมาณ 300 ล้านฟอง โดยไข่จะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ โดยที่พ่อแม่ปลาจะไม่ดูแล ซึ่งจะเหลือรอด และโตมาจนเป็นปลาที่มีขนาดสมบูรณ์ มีเพียงไม่กี่ตัว
ด้าน นายรวมศิลป์ มานะจงประเสริฐ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้รับรายงานว่า มีปลา Mola mola ว่ายเข้ามาบริเวณกองหินบารากูด้า ซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง เกาะ 5 และเกาะ 6 ของหมู่เกาะสิมิลัน จึงได้ลงพื้นที่สำรวจ แต่ก็ยังไม่พบ แต่คาดว่ายังว่ายวนเวียนอยู่รอบๆ หมู่เกาะสิมิลัน เนื่องจากหากเดินทางต่อไปยังมหาสมุทรอินเดียเพียง 6 ไมล์ทะเล ก็จะพบกับไหล่ทวีปซึ่งเป็นหุบเหว เป็นแหล่งรวมของปลาขนาดใหญ่ ประกอบกับในปัจจุบัน มีการคุมเข้มเรื่องการทำประมงในเขตอุทยานฯ จึงทำให้ปลานานาชนิดกลับเข้ามาว่ายวนเวียนในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันอีกครั้ง