xs
xsm
sm
md
lg

ปัตตานีแถลงผลสำเร็จของโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
ปัตตานี - ปัตตานี แถลงผลสำเร็จของโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อเผยแพร่ขยายผลศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในด้านการพัฒนาการเกษตร

วันนี้ (12 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายอำนวย ฤทธิชัย เกษตร จ.ปัตตานี และนายเอก ยังอภัยย์ นายอำเภอหนองจิก ร่วมกันแถลงข่าวผลสำเร็จของโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อเผยแพร่ขยายผลศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในด้านการพัฒนาการเกษตร และเผยแพร่ผลสำเร็จของชุมชน ภายใต้โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ
 

 
จังหวัดปัตตานี ได้รับเป้าหมายในการดำเนินการโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยได้รับการอนุมัติ จำนวน 144 ชุมชน รวม 387 โครงการ ซึ่งได้จัดทำโครงการตามกรอบ 7 กิจกรรม ด้านการผลิตพืชและพันธุ์พืช จำนวน 74 โครงการ ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 82 โครงการ ด้านการจัดการศัตรูพืช จำนวน 5 โครงการ ด้านฟาร์มชุมชน จำนวน 28 โครงการ ด้านการผลิตอาหาร การแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จำนวน 25 โครงการ ด้านปศุสัตว์ จำนวน 127 โครงการ และด้านประมง 46 โครงการ มีสมาชิกภายใต้กลุ่มเกษตรกรที่เสนอโครงการ จำนวน 10,449 ราย โดยมีเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการฯ จำนวน 84,607 ราย
 

 
ซึ่งจากการจัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสำนักงานเกษตรจังหวัด และตัวแทนชุมชนทั้ง 144 ชุมชน เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2560 พบว่า การดำเนินงานโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาเกษตรอย่างยั่งยืน มีผลสำเร็จที่เกิดขึ้น คือ ส่งเสริม/สนับสนุนให้เกษตรกรในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกิจกรรมของชุมชน ในรูปแบบคณะกรรมการกลุ่มของชุมชนเอง เกิดองค์ความรู้ และถ่ายทอดความรู้ในชุมชนได้ สามารถเป็นจุดเรียนรู้แก่เกษตรกรในชุมชน และขยายผลแก่ผู้สนใจได้ สามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในชุมชน

โดยเฉลี่ยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 84,607 ราย ได้เงินค่าแรงในการปฏิบัติงานเฉลี่ยรายละ 2,230 บาท เกิดการจ้างงาน และกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างทั่วถึง เกษตรกรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดทักษะทางการการเกษตร สามารถนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการผลิต และการตลาดร่วมกันในแต่ละชุมชน สร้างความรักสามัคคีในชุมชน และยังสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
 

กำลังโหลดความคิดเห็น