ชุมพร - กู๊ดไอเดีย! หนุ่มชุมพรสร้างเครื่องมือเกี่ยวทะลายหมากสูงกว่า 30 เมตร สำเร็จ หวังช่วยพ่อทำงาน ชาวบ้านเห็นชอบใจใช้ได้จริง สั่งทำนับร้อย พร้อมยื่นขอจดสิทธิบัตร
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000005476601.JPEG)
วันนี้ (24 พ.ค.) นายวิชิต กัลยาณวัตร พัฒนาการอำเภอละแม จ.ชุมพร พร้อมผู้นำชุมชน และ ชาวบ้าน นำผู้สื่อข่าวลงพื้นที่พบกับ นายศักดิ์รินทร์ อินทร์พรหม อายุ 37 ปี ซึ่งเรียนหนังสือจบแค่ ป.6 อยู่บ้านเลขที่ 64 หมู่ที่ 15 ตำบล ละแม อ.ละแม แต่สามารถคิดค้นประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้สำหรับเกี่ยวหมากจนสำเร็จเป็นที่ชื่นชอบของชาวสวนในพื้นที่ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวทำมาจากเหล็กเส้นเหล็กทรงสี่เหลี่ยมหลายขนาดกว่า 1 เมตร ประกอบกับลูกรอกมือหมุน สปริง เชือกไนลอนยาวหลายสิบเมตร อุปกรณ์ดัดแปลงเกาะยึดลำต้นหมาก และเคียวสำหรับเกี่ยวทะลายหมากที่ทำขึ้นเฉพาะ
สำหรับส่วนประกอบทั้งหมดเป็นกลไกที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กันเมื่อผู้ใช้ได้ใช้มือหมุนรอก วิธีการใช้แบบง่ายๆ โดยนำอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาดังกล่าวไปเกาะยึดกับลำต้นหมาก จากนั้นใช้มือหมุนรอกที่มีสายเชือกยาวหลายสิบเมตรเป็นตัวกำหนดหมุนขึ้นลงตามความสูงของต้นหมาก เมื่อเครื่องเกี่ยวเคลื่อนขึ้นไปบนยอดที่มีทะลายหมาก ผู้ใช้ก็จะใช้ดึงเชือกผ่านกลไกที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้ตัดทะลายหมากตกลงมาค้างไว้กับเส้นที่ทำรองรับไว้โดยทะลายหมากจะไม่ตกลงกระแทกพื้นให้แตกกระจาย หรือเสียหายแต่อย่างใด สามารถบังคับทิศทางในการตัดทะลายปาล์มได้ด้วย หลังใช้เสร็จก็หมุนรอกดึงกลับลงมาที่โคนต้นเหมือนเดิม
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000005476602.JPEG)
นายศักดิ์รินทร์ เปิดเผยว่า สาเหตุที่ตนคิดสร้างอุปกรณ์เกี่ยวหมากขึ้นมานั้น เนื่องจากสงสารพ่อเวลาไปเก็บเกี่ยวหมากขาย แต่ละครั้งต้องแบกหามด้ามตะขอเคียวซึ่งหนัก และยาวกว่า 30 เมตร เนื่องจากต้นหมากมีความสูงมาก การเก็บเกี่ยวลักษณะดังกล่าวต้องก้มๆ เงยๆ แล้วใช้ตะขอเคียวกระชากซึ่งต้องใช้แรงมากทำให้เหนื่อย
ตนจึงคิดค้นอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นมาเพื่อแบ่งเบาภาระของพ่อ และได้ทดลองออกแบบ ประกอบ ทดสอบ แล้วนำมาใช้ลองผิดลองถูกอยู่นานเกือบ 3 เดือน จึงประสบความสำเร็จในที่สุด โดยเครื่องดังกล่าวมีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ใช้ง่าย ไม่เกะกะ ใช้เวลาทำงานต้นละ 2-5 นาทีเท่านั้น
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000005476603.JPEG)
“หลังจากที่สร้างอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นมาให้พ่อตนใช้ ปรากฏว่า ได้มีชาวสวนหลายคนที่ทราบข่าวมาสั่งให้ตนทำอุปกรณ์เกี่ยวหมากให้จำนวนมาก ซึ่งตนก็คิดในราคาไม่ถึงหมื่นบาท ทำให้ตนมีรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ตนได้ไปทำเรื่องจดสิทธิบัตรต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว” นายศักดิ์รินทร์ กล่าว
วันนี้ (24 พ.ค.) นายวิชิต กัลยาณวัตร พัฒนาการอำเภอละแม จ.ชุมพร พร้อมผู้นำชุมชน และ ชาวบ้าน นำผู้สื่อข่าวลงพื้นที่พบกับ นายศักดิ์รินทร์ อินทร์พรหม อายุ 37 ปี ซึ่งเรียนหนังสือจบแค่ ป.6 อยู่บ้านเลขที่ 64 หมู่ที่ 15 ตำบล ละแม อ.ละแม แต่สามารถคิดค้นประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้สำหรับเกี่ยวหมากจนสำเร็จเป็นที่ชื่นชอบของชาวสวนในพื้นที่ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวทำมาจากเหล็กเส้นเหล็กทรงสี่เหลี่ยมหลายขนาดกว่า 1 เมตร ประกอบกับลูกรอกมือหมุน สปริง เชือกไนลอนยาวหลายสิบเมตร อุปกรณ์ดัดแปลงเกาะยึดลำต้นหมาก และเคียวสำหรับเกี่ยวทะลายหมากที่ทำขึ้นเฉพาะ
สำหรับส่วนประกอบทั้งหมดเป็นกลไกที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กันเมื่อผู้ใช้ได้ใช้มือหมุนรอก วิธีการใช้แบบง่ายๆ โดยนำอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาดังกล่าวไปเกาะยึดกับลำต้นหมาก จากนั้นใช้มือหมุนรอกที่มีสายเชือกยาวหลายสิบเมตรเป็นตัวกำหนดหมุนขึ้นลงตามความสูงของต้นหมาก เมื่อเครื่องเกี่ยวเคลื่อนขึ้นไปบนยอดที่มีทะลายหมาก ผู้ใช้ก็จะใช้ดึงเชือกผ่านกลไกที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้ตัดทะลายหมากตกลงมาค้างไว้กับเส้นที่ทำรองรับไว้โดยทะลายหมากจะไม่ตกลงกระแทกพื้นให้แตกกระจาย หรือเสียหายแต่อย่างใด สามารถบังคับทิศทางในการตัดทะลายปาล์มได้ด้วย หลังใช้เสร็จก็หมุนรอกดึงกลับลงมาที่โคนต้นเหมือนเดิม
นายศักดิ์รินทร์ เปิดเผยว่า สาเหตุที่ตนคิดสร้างอุปกรณ์เกี่ยวหมากขึ้นมานั้น เนื่องจากสงสารพ่อเวลาไปเก็บเกี่ยวหมากขาย แต่ละครั้งต้องแบกหามด้ามตะขอเคียวซึ่งหนัก และยาวกว่า 30 เมตร เนื่องจากต้นหมากมีความสูงมาก การเก็บเกี่ยวลักษณะดังกล่าวต้องก้มๆ เงยๆ แล้วใช้ตะขอเคียวกระชากซึ่งต้องใช้แรงมากทำให้เหนื่อย
ตนจึงคิดค้นอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นมาเพื่อแบ่งเบาภาระของพ่อ และได้ทดลองออกแบบ ประกอบ ทดสอบ แล้วนำมาใช้ลองผิดลองถูกอยู่นานเกือบ 3 เดือน จึงประสบความสำเร็จในที่สุด โดยเครื่องดังกล่าวมีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ใช้ง่าย ไม่เกะกะ ใช้เวลาทำงานต้นละ 2-5 นาทีเท่านั้น
“หลังจากที่สร้างอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นมาให้พ่อตนใช้ ปรากฏว่า ได้มีชาวสวนหลายคนที่ทราบข่าวมาสั่งให้ตนทำอุปกรณ์เกี่ยวหมากให้จำนวนมาก ซึ่งตนก็คิดในราคาไม่ถึงหมื่นบาท ทำให้ตนมีรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ตนได้ไปทำเรื่องจดสิทธิบัตรต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว” นายศักดิ์รินทร์ กล่าว