xs
xsm
sm
md
lg

ชาวบ้านลำสินต์รวมตัวอนุรักษ์ป่าริมสองฝั่งคลอง แก้ปัญหาการกัดเซาะตลิ่ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
พัทลุง - ชาวบ้านหมู่ที่ 7 ต.ลำสินต์ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง รวมตัวทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ปลูกหญ้าแฝก และต้นไคร้ย้อยในการอนุรักษ์ป่าริมสองฝั่งคลอง เพื่อแก้ปัญหาการกัดเซาะตลิ่งของสายน้ำ

วันนี้ (22 พ.ค.) ผู้สื่อจ่าวรายงานปัญหาน้ำป่ากัดเซาะตลิ่งยังคงเป็นหาต่อเนื่องของชาวบ้านในพื้นที่ริมป่าเทือกเขาบรรทัด จังหวัดพัทลุง ของอำเภอกงหรา อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอตะโหมด และอำเภอศรีบรรพต ที่มีพื้นที่รอยต่อระหว่างป่ากับหมู่บ้าน ที่มีลำคลองที่รองรับน้ำจากเทือกเขาบรรทัด ก่อนไหลลงสู่ทะเลาสาบสงขลา แต่บางปีช่วงน้ำหลากกระแสน้ำป่าที่ไหลแรงได้กัดเซาะพื้นที่การเกษตร พื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้านหายไปเป็นจำนวนมาก
 

 
อย่างเช่นในพื้นที่บ้านขามหมู่ที่ 7 ต.ลำสินต์ อ.ศรีนครินทร์ ที่เป็นหนึ่งหมู่บ้านที่มีสายน้ำจากเทือกเขาบรรทัดไหลผ่าน และทุกปีเช่นกัน ตลิ่ง 2 ฝั่งคลองถูกน้ำกัดเซาะจนทำให้พื้นที่สวนยางพารา สวนผลไม้ชาวบ้านหายไป

ในขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มตื่นตัวหวงแหนพื้นดิน สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าริมสองฝั่งคลอง เพื่อป้องกันการกัดเซาะจากสายน้ำ โดยการร่วมกันปลูกหญ้าแฝก ปลูกต้นไคร้ย้อย และร่วมกันนำสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อให้น้ำได้ไหลผ่านสะดวกในช่วงนี้ และรอรับน้ำในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า

โดยเด็ก และผู้ใหญ่ได้ร่วมกันทำกิจกรรมด้วยกัน นำข้าวใส่ปิ่นโตนิมนต์พระมาฉันเพื่อเป็นสิริมงคล ร่วมกันทำขนมโค ขนมจีนทาด้วยกัน เพื่อสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน ก่อนที่จะร่วมกันปลูกหญ้าแฝก และต้นใครย้อย โดยเด็กๆ ต่างตื่นตัว ถือต้นหญ้าแฝกไปตามสายน้ำก่อนที่จะร่วมกันปลูกด้วยความตั้งใจ
 

 
ด้าน ด.ช.ธีรภัทร์ เพชรโชติ อายุ 14 ปี กล่าวว่า สายน้ำได้มีความผูกพันกับตัวเอง และคนในท้องถิ่น จึงอยากหวงแหนสายน้ำให้สะอาด และไม่อยากให้ใครมาทำลายสายน้ำ รวมทั้งพื้นที่ต้นน้ำผืนป่าเทือกเขาบรรทัด วันนี้รู้สึกดีใจที่ได้ร่วมกันปลูกหญ้า และต้นไม้ริมฝั่งคลองเพื่อสร้างฝืนป่าสร้างความชุมชื้น สร้างพื้นที่โรงครัวผลิตออกชิเจนขึ้นในหมู่บ้าน

ขณะที่ นายพีรเศรษฐ์ ปั่นแก้ว พนักงานพิทักษ์ป่าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำคลองอู่ตะเภา จ.สงขลา กล่าวว่า จังหวัดพัทลุง โดยเฉพาะพื้นที่ริมป่าเทือกเขาบรรทัด จะประสบปัญหาน้ำกัดเซาะทุกปี เนื่องจากกระแสน้ำป่าไหลแรง และมีฝนตกหนักอยู่เนืองๆ จนพื้นดินหายไป ด้วยความตื่นตัวของชาวบ้านในพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์จึงได้จัดส่งเสริมนำหญ้าแฝกมาให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้นำไปปลูกในจุดเสี่ยง เพื่อแก้ปัญหาการกัดเซาะตลิ่งของสายน้ำ พร้อมทั้งปลูกต้นไคร้ย้อย ป้องกันการกัดเซาะอีกทางหนึ่งด้วย และใคร้ย้อยนอกจากจะป้องกันการกัดเซาะแล้วยังมีดอกสวยงาม รากยึดเหนียวตลิ่งได้ดี ลำต้นโค้งงอสวยอีกแบบหนึ่ง
 


กำลังโหลดความคิดเห็น