สุราษฎร์ธานี - ผอ.โรงเรียนออกมาแจงแล้ว ยันไม่ได้อมเงินนักเรียนยากจน แค่แปรเปลี่ยนทำกิจกรรมอย่างอื่นให้แก่เด็กนักเรียนได้รับประโยชน์เท่าเทียมกันทั้งโรงเรียน ทั้งเป็นค่าจัดทำอาหารเช้า ค่าแม่ครัว และกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ พร้อมร้องขอความเป็นธรรม ข่าวที่ออกมาทำสังคมตัดสินตนเป็นคนไม่ดี
จากรณีครูประจำชั้นโรงเรียนแห่งหนึ่งในพื้นที่การศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี สุดทน อ้าง ผอ.โรงเรียนอมเงินทุนการศึกษานักเรียนยากจน ติดต่อกัน 3 ปี คณะกรรมการศึกษายื่นหนังสือร้องไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่เรื่องไม่คืบ จนตัดสินใจนำเด็กนักเรียนเข้าร้องขอความเป็นธรรมต่อตัวแทนสภาทนายความภาค 8 และสมาคมนักข่าวจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ล่าสุด ว่าที่ ร.ท.สมชาย เรืองจันทร์ นายอำเภอกาญจนดิษฐ์ พร้อมด้วย นายอนันต์ ไทยพัฒน์ กำนันตำบลห้วยโศก และนายสมบูรณ ไชยเชนทร์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ได้เข้าไปสอบถามรายละเอียดเรื่องที่เกิดขึ้นต่อ นายโกวิทย์ หีดนาคราม ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยโศก และหาข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ โดย นายโกวิทย์ หีดนาคราม ได้อธิบายแก่นายอำเภอ ว่า เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนนั้นตนไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด หรือจัดซื้ออุปกรณ์ให้แก่นักเรียนที่มีชื่อผ่านเกณฑ์ แต่เห็นว่าเด็กนักเรียนในโรงเรียนทั้งหมดมีฐานะยากจนเหมือนกันหมด หากจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปให้เฉพาะเด็กนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ก็จะถูกผู้ปกครองที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้องเรียนเอาว่าตนลำเอียงให้เฉพาะกลุ่ม จึงนำเงินไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน
ทั้งนำไปทำโครงการอาหาร 1 บาทอิ่มท้องสมองใส โดยทำข้าวต้มให้เด็กนักเรียนทั้งโรงเรียนกินในตอนเช้า โดยคิดค่าใช้จ่ายเด็กหัวละ 1 บาท และดำเนินการจ้างแม่ครัวมาทำอาหารและปิดครัวในเวลา 07.40 น. และกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือซึ่งทางโรงเรียนเป็นเจ้าภาพในปีนี้ พร้อมทั้งเป็นค่าเดินทาง ค่ายานพาหนะเข้าค่ายลูกเสือที่ค่ายวิภาวดีรังสิต ซึ่งการนำเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนมาทำให้นักเรียนในโรงเรียนได้รับผลประโยชน์เท่าเทียมกันทุกคน โดยตัวเองไม่ได้แตะต้องเงินแม้แต่น้อย ทุกอย่างมีบิลมาหักล้างกลบหนี้ พร้อมระบุการที่มีการออกข่าวว่า ผอ.อมเงินนักเรียนทำให้สังคมตัดสินว่าตนเป็นคนชั่ว และคนไม่ดี จึงขอให้สื่อให้ความเป็นธรรมด้วย
ด้าน นายประสารณ์ จันทร์คง ประธานกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยโศก ได้นำหลักฐานสำเนาเอกสารที่ทางคณะกรรมการสถานศึกษา ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนไปยัง นายชุมพล ศรีสังข์ ผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่เขตการศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 (สพฐ.) ตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค.2559 เพื่อให้ทาง นายชุมพล ศรีสังข์ ผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่เขตการศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 (สพฐ.) ตั้งคณะกรรมตรวจสอบตามข้อร้องเรียน จำนวน 9 ข้อ ที่ประกอบด้วย
1.เรื่อง ผอ.โรงเรียนแต่งตั้งภรรยาตนเองทำหน้าที่การเงิน 2.การใช้เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนในปี 2558 ไปในทางผิดประเภท โดยนำไปจ้างแม่ครัวมาทำอาหาร ดังนั้น จำนวนเงินจึงตกเป็นค่าจ้างแม่ครัวส่วนใหญ่ และกิจกรรมนี้จัดได้ไม่กี่วันก็ต้องยุติ 3.การใช้เงินการศึกษาแหล่งเรียนรู้ตามนโยบายรัฐบาลที่ให้มาในปี 2557 ไปผิดประเภท โดยนำเงินจำนวนดังกล่าวเอาไปปลดหนี้ที่โรงเรียนเป็นอยู่
4.การนำเงินดอกผลอาหารกลางวันที่เก็บจากค่าอาหารครู และเก็บจากนักเรียนอนุบาลที่เป็นค่าขนมหวานไปจ้างครูอนุบาลเพิ่ม ทั้งที่ห้องเรียนมี 3 ห้อง และมีครู 3 คน ครบห้องเรียน 5.การจัดซื้อจัดจ้างในงานพัสดุไม่เป็นไปตามระเบียบ 6.เหตุทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวระหว่าง ผอ.โรงเรียนกับครูในโรงเรียนค่อนข้างจะรุนแรง และบานปลาย โดยเหตุเกิดต่อหน้านักเรียนขณะเข้าแถวหน้าเสาธง 7.การประชุมผู้ปกครอง ผอ.มีคำสั่งไม่ให้คณะกรรมการสถานศึกษาเข้าร่วมประชุม และไม่ให้ผู้ปกครองพบปะครูประจำชัน 8.การปิดหูปิดตาครูไม่ให้รหัสผ่านเข้าไปดูข่าว หนังสือราชการที่ทางเขตส่งมาทาง E-OFFICE โดยระบุว่าเป็นนโยบาย ผอ.เขต 9.การติดตั้งกล้องวงจรปิด จำนวน 8 ตัว ในราคา 42,000 บาท
นายประสารณ์ กล่าวต่อไปว่า หลังจากตนได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายชุมพล ศรีสังข์ ผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่เขตการศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 (สพฐ.) ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2559 เป็นต้นมา พบว่าเรื่องได้เงียบหายไป จนกระทั่งมีการร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และร้องไปยังตัวแทนสภาทนายความเรื่องจึงเป็นข่าวขึ้น จึงมีการตรวจสอบเรื่องการใช้เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน แต่เรื่องที่คณะกรรมการสถานศึกษาร้องเรียนไปยังไม่ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบแต่อย่างใด
จากรณีครูประจำชั้นโรงเรียนแห่งหนึ่งในพื้นที่การศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี สุดทน อ้าง ผอ.โรงเรียนอมเงินทุนการศึกษานักเรียนยากจน ติดต่อกัน 3 ปี คณะกรรมการศึกษายื่นหนังสือร้องไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่เรื่องไม่คืบ จนตัดสินใจนำเด็กนักเรียนเข้าร้องขอความเป็นธรรมต่อตัวแทนสภาทนายความภาค 8 และสมาคมนักข่าวจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ล่าสุด ว่าที่ ร.ท.สมชาย เรืองจันทร์ นายอำเภอกาญจนดิษฐ์ พร้อมด้วย นายอนันต์ ไทยพัฒน์ กำนันตำบลห้วยโศก และนายสมบูรณ ไชยเชนทร์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ได้เข้าไปสอบถามรายละเอียดเรื่องที่เกิดขึ้นต่อ นายโกวิทย์ หีดนาคราม ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยโศก และหาข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ โดย นายโกวิทย์ หีดนาคราม ได้อธิบายแก่นายอำเภอ ว่า เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนนั้นตนไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด หรือจัดซื้ออุปกรณ์ให้แก่นักเรียนที่มีชื่อผ่านเกณฑ์ แต่เห็นว่าเด็กนักเรียนในโรงเรียนทั้งหมดมีฐานะยากจนเหมือนกันหมด หากจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปให้เฉพาะเด็กนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ก็จะถูกผู้ปกครองที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้องเรียนเอาว่าตนลำเอียงให้เฉพาะกลุ่ม จึงนำเงินไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน
ทั้งนำไปทำโครงการอาหาร 1 บาทอิ่มท้องสมองใส โดยทำข้าวต้มให้เด็กนักเรียนทั้งโรงเรียนกินในตอนเช้า โดยคิดค่าใช้จ่ายเด็กหัวละ 1 บาท และดำเนินการจ้างแม่ครัวมาทำอาหารและปิดครัวในเวลา 07.40 น. และกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือซึ่งทางโรงเรียนเป็นเจ้าภาพในปีนี้ พร้อมทั้งเป็นค่าเดินทาง ค่ายานพาหนะเข้าค่ายลูกเสือที่ค่ายวิภาวดีรังสิต ซึ่งการนำเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนมาทำให้นักเรียนในโรงเรียนได้รับผลประโยชน์เท่าเทียมกันทุกคน โดยตัวเองไม่ได้แตะต้องเงินแม้แต่น้อย ทุกอย่างมีบิลมาหักล้างกลบหนี้ พร้อมระบุการที่มีการออกข่าวว่า ผอ.อมเงินนักเรียนทำให้สังคมตัดสินว่าตนเป็นคนชั่ว และคนไม่ดี จึงขอให้สื่อให้ความเป็นธรรมด้วย
ด้าน นายประสารณ์ จันทร์คง ประธานกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยโศก ได้นำหลักฐานสำเนาเอกสารที่ทางคณะกรรมการสถานศึกษา ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนไปยัง นายชุมพล ศรีสังข์ ผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่เขตการศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 (สพฐ.) ตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค.2559 เพื่อให้ทาง นายชุมพล ศรีสังข์ ผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่เขตการศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 (สพฐ.) ตั้งคณะกรรมตรวจสอบตามข้อร้องเรียน จำนวน 9 ข้อ ที่ประกอบด้วย
1.เรื่อง ผอ.โรงเรียนแต่งตั้งภรรยาตนเองทำหน้าที่การเงิน 2.การใช้เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนในปี 2558 ไปในทางผิดประเภท โดยนำไปจ้างแม่ครัวมาทำอาหาร ดังนั้น จำนวนเงินจึงตกเป็นค่าจ้างแม่ครัวส่วนใหญ่ และกิจกรรมนี้จัดได้ไม่กี่วันก็ต้องยุติ 3.การใช้เงินการศึกษาแหล่งเรียนรู้ตามนโยบายรัฐบาลที่ให้มาในปี 2557 ไปผิดประเภท โดยนำเงินจำนวนดังกล่าวเอาไปปลดหนี้ที่โรงเรียนเป็นอยู่
4.การนำเงินดอกผลอาหารกลางวันที่เก็บจากค่าอาหารครู และเก็บจากนักเรียนอนุบาลที่เป็นค่าขนมหวานไปจ้างครูอนุบาลเพิ่ม ทั้งที่ห้องเรียนมี 3 ห้อง และมีครู 3 คน ครบห้องเรียน 5.การจัดซื้อจัดจ้างในงานพัสดุไม่เป็นไปตามระเบียบ 6.เหตุทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวระหว่าง ผอ.โรงเรียนกับครูในโรงเรียนค่อนข้างจะรุนแรง และบานปลาย โดยเหตุเกิดต่อหน้านักเรียนขณะเข้าแถวหน้าเสาธง 7.การประชุมผู้ปกครอง ผอ.มีคำสั่งไม่ให้คณะกรรมการสถานศึกษาเข้าร่วมประชุม และไม่ให้ผู้ปกครองพบปะครูประจำชัน 8.การปิดหูปิดตาครูไม่ให้รหัสผ่านเข้าไปดูข่าว หนังสือราชการที่ทางเขตส่งมาทาง E-OFFICE โดยระบุว่าเป็นนโยบาย ผอ.เขต 9.การติดตั้งกล้องวงจรปิด จำนวน 8 ตัว ในราคา 42,000 บาท
นายประสารณ์ กล่าวต่อไปว่า หลังจากตนได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายชุมพล ศรีสังข์ ผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่เขตการศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 (สพฐ.) ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2559 เป็นต้นมา พบว่าเรื่องได้เงียบหายไป จนกระทั่งมีการร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และร้องไปยังตัวแทนสภาทนายความเรื่องจึงเป็นข่าวขึ้น จึงมีการตรวจสอบเรื่องการใช้เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน แต่เรื่องที่คณะกรรมการสถานศึกษาร้องเรียนไปยังไม่ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบแต่อย่างใด