สุราษฎร์ธานี - ตัวแทนเครือข่ายชาวสวนยาง 9 องค์กรภาคใต้ เตรียมเคลื่อนไหวเรียกร้อง กยท. หยุดขายยางในสต๊อกออกมาถล่มราคายางในท้องตลาด ทำให้ราคายางแผ่นดิ่งลงเหวจากกิโลกรัม 101 บาท เหลือ 68 บาท ภายใน 1 เดือน ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้ชาวสวนยางพาราคิดเป็นมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท
วันนี้ (9 เม.ย.) ที่สหกรณ์ CO-OP สุราษฎร์ธานี นายสถาพร พรัดวิเศษ เลขานุการเครือข่ายสถาบัน เกษตรกรชาวสวนยางสุราษฎร์ธานี พร้อมตัวแทนเครือข่าย 9 องค์กร ภาคใต้ ประกอบด้วย สมาคมคนกรีดยาง และชาวสวนยางรายย่อย ภาคเครือข่ายยางและปาล์มน้ำมันฯ สภาเครือข่ายยาง สยยท. กลุ่มวิสาหกิจผู้แปรรูปยางพารา กลุ่มแปรรูปยางพาราลุ่มน้ำตาปี กลุ่มผู้ค้าน้ำยางสดรายย่อย กลุ่มผู้ค้าเศษยางรายย่อย กลุ่มผู้ค้ายางดิบและยางรมควันรายย่อย และกลุ่มสาวชวนยางและลูกจ้างกรีดยางรายย่อย ได้ร่วมกันแถลงข่าวเตรียมเคลื่อนไหวเรียกร้อง กยท. หยุดขายยางในสต๊อกออกมาถล่มราคายางในท้องตลาด ทำให้ราคายางแผ่นดิ่งลงเหวจากกิโลกรัม 101 บาท เหลือ 68 บาท ภายใน 1 เดือน โดยชาวสวนยางจะรวมตัวกันที่ตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี (CO-OP) ในเวลา 10.00 น. วันที่ 10 เมษายน 2560 ที่ตรงกับวันยางพาราแห่งชาติ
นายสถาพร พรัดวิเศษ ระบุว่า ในวันพรุ่งนี้จะมีเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 100 คน จะมารวมตัวเพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องจากก่อนหน้านี้ราคายางพาราแผ่นดิบพุ่งทะยานสูงถึงกิโลกรัมละ 101 บาท นับตั้งแต่การยางแห่งประเทศไทย ได้นำยางพาราในสต๊อก จำนวน 3.1 แสนตัน ออกมาขายในตลาด ทำให้ราคายางพาราลดต่ำลงต่อเนื่องตกลงมากิโลกรัมละ 30 บาท ซึ่งในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเสียหายจากราคาที่ตกลงมาคิดเป็นมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท
จึงยื่นข้อเรียกร้องจำนวน 4 ข้อ ไปยังนายกรัฐมนตรี ให้มีคำสั่ง ให้ กยท. หยุดขายยางในสต๊อกไม่ว่าวิธีการใด 2.ให้ผู้บริหาร กยท. ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น 3.เช็กสต๊อกยางพาราที่เหลือตามโกดังต่างๆ โดยให้มีตัวแทนเกษตรกรเข้าร่วมตรวจสอบ และ 4.เปิดเผยข้อมูลข่าวสารการประมูลยางพาราครั้งที่ผ่านมามีบริษัทใดประมูลในราคาเท่าไร คุณภาพไหนเพื่อความโปร่งใส พร้อมกับเสนอแนะให้นำยางพาราที่เหลืออยู่ในสต็อกไปใช้ในประเทศตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
โดยพรุ่งนี้จะยื่นข้อเรียกร้องดังกว่าผ่าน นายอวยชัย อินทร์นาค รองผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งตัวแทนเครือข่ายชาวสวนยางพารา 9 องค์กรภาคใต้ ระบุว่า หาก กยท. ยังไม่ยุติการนำยางในสต๊อกที่ยังเหลืออยู่ประมาณ 100,000 ตัน ออกมาขายแข่งกับเกษตรกร ชาวสวนยางพาราทุกจังหวัดจะออกมาเคลื่อนไหวกดดันอย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (9 เม.ย.) ที่สหกรณ์ CO-OP สุราษฎร์ธานี นายสถาพร พรัดวิเศษ เลขานุการเครือข่ายสถาบัน เกษตรกรชาวสวนยางสุราษฎร์ธานี พร้อมตัวแทนเครือข่าย 9 องค์กร ภาคใต้ ประกอบด้วย สมาคมคนกรีดยาง และชาวสวนยางรายย่อย ภาคเครือข่ายยางและปาล์มน้ำมันฯ สภาเครือข่ายยาง สยยท. กลุ่มวิสาหกิจผู้แปรรูปยางพารา กลุ่มแปรรูปยางพาราลุ่มน้ำตาปี กลุ่มผู้ค้าน้ำยางสดรายย่อย กลุ่มผู้ค้าเศษยางรายย่อย กลุ่มผู้ค้ายางดิบและยางรมควันรายย่อย และกลุ่มสาวชวนยางและลูกจ้างกรีดยางรายย่อย ได้ร่วมกันแถลงข่าวเตรียมเคลื่อนไหวเรียกร้อง กยท. หยุดขายยางในสต๊อกออกมาถล่มราคายางในท้องตลาด ทำให้ราคายางแผ่นดิ่งลงเหวจากกิโลกรัม 101 บาท เหลือ 68 บาท ภายใน 1 เดือน โดยชาวสวนยางจะรวมตัวกันที่ตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี (CO-OP) ในเวลา 10.00 น. วันที่ 10 เมษายน 2560 ที่ตรงกับวันยางพาราแห่งชาติ
นายสถาพร พรัดวิเศษ ระบุว่า ในวันพรุ่งนี้จะมีเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 100 คน จะมารวมตัวเพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องจากก่อนหน้านี้ราคายางพาราแผ่นดิบพุ่งทะยานสูงถึงกิโลกรัมละ 101 บาท นับตั้งแต่การยางแห่งประเทศไทย ได้นำยางพาราในสต๊อก จำนวน 3.1 แสนตัน ออกมาขายในตลาด ทำให้ราคายางพาราลดต่ำลงต่อเนื่องตกลงมากิโลกรัมละ 30 บาท ซึ่งในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเสียหายจากราคาที่ตกลงมาคิดเป็นมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท
จึงยื่นข้อเรียกร้องจำนวน 4 ข้อ ไปยังนายกรัฐมนตรี ให้มีคำสั่ง ให้ กยท. หยุดขายยางในสต๊อกไม่ว่าวิธีการใด 2.ให้ผู้บริหาร กยท. ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น 3.เช็กสต๊อกยางพาราที่เหลือตามโกดังต่างๆ โดยให้มีตัวแทนเกษตรกรเข้าร่วมตรวจสอบ และ 4.เปิดเผยข้อมูลข่าวสารการประมูลยางพาราครั้งที่ผ่านมามีบริษัทใดประมูลในราคาเท่าไร คุณภาพไหนเพื่อความโปร่งใส พร้อมกับเสนอแนะให้นำยางพาราที่เหลืออยู่ในสต็อกไปใช้ในประเทศตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
โดยพรุ่งนี้จะยื่นข้อเรียกร้องดังกว่าผ่าน นายอวยชัย อินทร์นาค รองผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งตัวแทนเครือข่ายชาวสวนยางพารา 9 องค์กรภาคใต้ ระบุว่า หาก กยท. ยังไม่ยุติการนำยางในสต๊อกที่ยังเหลืออยู่ประมาณ 100,000 ตัน ออกมาขายแข่งกับเกษตรกร ชาวสวนยางพาราทุกจังหวัดจะออกมาเคลื่อนไหวกดดันอย่างต่อเนื่อง