กระบี่ - กรมประมง ประกาศปิดอ่าว 4 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน ในฤดูปลามีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูก 1 เม.ย.-30 มิ.ย.นี้ ฝ่าฝืนจับปรับสูงสุด 10 ล้าน ระบุพบปลาเศรษฐกิจมีปริมาณเพิ่มขึ้น 5.47%

เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (31 มี.ค.) ที่ท่าเทียบเรือศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเล เขต 3 กระบี่ ม.7 ต.ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่ นายสัตวแพทย์ธนิตย์ อเนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูที่ปลามีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูกฝั่งทะเลอันดามัน 4 จังหวัด กระบี่ พังงา ตรัง และภูเก็ต ประจำปี 2560 โดยมี นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง นายสมโภช โชติชูช่วง ปลัดจังหวัดกระบี่ เจ้าหน้าที่กรมประมง และชาวประมง จ.กระบี่ เข้าร่วมจำนวนมาก

นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ตามที่กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศเรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลามีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูก ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ภูเก็ต พังงา และตรัง รวม 4 จังหวัด เป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายนของทุกปี รวมระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งประกาศดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นต้นไป

สำหรับบริเวณที่มีการประกาศปิดอ่าว เริ่มตั้งแต่ปลายแหลมพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ถึงตะวันออกปลายแหลมหัวล้านเกาะยาวใหญ่ อ.เมือง จ.พังงา ถึงปลายแหลมเกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ถึงปลายแหลมเกาะลิบง จังหวัดตรัง ถึงเกาะสุกร ถึงปลายแหลมหยงสตาร์ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง รวมเนื้อที่ 4,696 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,935,000 ไร่ เพื่อป้องกันสัตว์น้ำที่กำลังมีไข่ถูกจับก่อนที่จะได้วางไข่

รองอธิบดีกรมประมง กล่าวอีกว่า สำหรับเครื่องมือประมงที่ห้ามทำการประมงในช่วงดังกล่าว มีอยู่ 3 ชนิด คือ อวนลากทุกประเภท ทุกขนาดที่ใช้ประกอบเรือกล อวนล้อมจับทุกชนิด และอวนติดตา ขนาดช่องตาเล็กกว่า 4.7 เซนติเมตร หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุด 10 ล้านบาท สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรประมงเป็นภารกิจหลักที่กรมประมงได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อดูแลรักษา และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำมีใช้อย่างยั่งยืน

โดยการประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวที่ทางกรมประมงคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นวิธีการที่ช่วยเพิ่มพูนทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องทะเล ให้คงความอุดมสมบูรณ์ไว้ได้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นหลังมีความตระหนักในการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำไว้ใช้อย่างยั่งยืน โดยจากการปิดอ่าวหลายปีติดต่อกันมา ได้ส่งผลให้จำนวนปลาทู ซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจเพิ่มจำนวนมากขึ้นถึง 5.47 เท่า
เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (31 มี.ค.) ที่ท่าเทียบเรือศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเล เขต 3 กระบี่ ม.7 ต.ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่ นายสัตวแพทย์ธนิตย์ อเนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูที่ปลามีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูกฝั่งทะเลอันดามัน 4 จังหวัด กระบี่ พังงา ตรัง และภูเก็ต ประจำปี 2560 โดยมี นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง นายสมโภช โชติชูช่วง ปลัดจังหวัดกระบี่ เจ้าหน้าที่กรมประมง และชาวประมง จ.กระบี่ เข้าร่วมจำนวนมาก
นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ตามที่กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศเรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลามีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูก ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ภูเก็ต พังงา และตรัง รวม 4 จังหวัด เป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายนของทุกปี รวมระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งประกาศดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นต้นไป
สำหรับบริเวณที่มีการประกาศปิดอ่าว เริ่มตั้งแต่ปลายแหลมพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ถึงตะวันออกปลายแหลมหัวล้านเกาะยาวใหญ่ อ.เมือง จ.พังงา ถึงปลายแหลมเกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ถึงปลายแหลมเกาะลิบง จังหวัดตรัง ถึงเกาะสุกร ถึงปลายแหลมหยงสตาร์ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง รวมเนื้อที่ 4,696 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,935,000 ไร่ เพื่อป้องกันสัตว์น้ำที่กำลังมีไข่ถูกจับก่อนที่จะได้วางไข่
รองอธิบดีกรมประมง กล่าวอีกว่า สำหรับเครื่องมือประมงที่ห้ามทำการประมงในช่วงดังกล่าว มีอยู่ 3 ชนิด คือ อวนลากทุกประเภท ทุกขนาดที่ใช้ประกอบเรือกล อวนล้อมจับทุกชนิด และอวนติดตา ขนาดช่องตาเล็กกว่า 4.7 เซนติเมตร หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุด 10 ล้านบาท สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรประมงเป็นภารกิจหลักที่กรมประมงได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อดูแลรักษา และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำมีใช้อย่างยั่งยืน
โดยการประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวที่ทางกรมประมงคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นวิธีการที่ช่วยเพิ่มพูนทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องทะเล ให้คงความอุดมสมบูรณ์ไว้ได้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นหลังมีความตระหนักในการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำไว้ใช้อย่างยั่งยืน โดยจากการปิดอ่าวหลายปีติดต่อกันมา ได้ส่งผลให้จำนวนปลาทู ซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจเพิ่มจำนวนมากขึ้นถึง 5.47 เท่า